ฟังเท่าไร...ก็ไม่พอ ทั้งฟัง ทั้งถอดเทปมานานกว่า ๓๐ ปี

 
พุทธรักษา
วันที่  8 พ.ค. 2552
หมายเลข  12292
อ่าน  938

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สนทนาธรรมที่เขาเต่า ๑ - ๔ สิงหาคม ๒๕๓๗

ท่านอาจารย์ ที่เราไม่รู้ คือ "กิเลส" ที่เกิดขึ้นหลังจากการเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส กระทบสัมผัสทางกาย และ คิดนึก

คุณย่าสงวน ความพอใจ ความไม่พอใจ ติดตามมาเลยคือ อภิชฌา และ โทมนัส

ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเราจึงต้องเจริญสติปัฏฐานเพื่อรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง ว่าเสียง ยังไม่ทันดับเลย อกุศล ก็มาแล้ว เพราะฉะนั้นการที่จะละคลาย ความไม่รู้ จนกระทั่งสามารถที่จะรู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้ ก็คือต้องรู้ก่อน ว่าทุกขสัจจ์ การประจักษ์การเกิดขึ้นและดับไปของสภาพธรรมตามปกติ ตามความเป็นจริง นั้นก็ยังไม่สามารถที่จะประจักษ์ "ลักษณะ" ของ "นิพพาน" ได้ แต่ต้อง "รู้ทุกขอริยสัจจ์" คือ รู้ ทุกขสมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์ คือ รู้จักโลภะ อย่างนี้ จึงจะ "ดับโลภะ" ได้ เพราะว่า "โลภะ" เกิดต่อ ติดตาม และแฝงอยู่ เช่น ขณะที่เสียงปรากฏ แล้วยังไม่ทันที่จะดับเลยมี โลภะเกิดเสียแล้ว ปัญญา เท่านั้น ที่สามารถละ "โลภะที่เกิดขึ้น" ได้

คุณย่าสงวน ขณะที่ได้ยิน "เสียง" ซึ่งเป็น ปรมัตถธรรมต่อจากนั้นก็คิด ว่า นี่เป็นกุศล นี่เป็นอกุศลแล้วก็มี ความชอบ ความไม่ชอบ.

ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นแสดงให้เห็นว่า เราจะมีความคิดนึกตามมาเพราะเราชินต่อความคิดนึก

คุณสงวน ถ้าอย่างนั้น เราก็คิดกุศล

ท่านอาจารย์ แล้วแต่ค่ะ แต่ขณะที่คิดว่า เป็น อกุศลวิบากก็เป็น กุศลจิต ที่คิด ที่รู้ เป็นขั้นคิดนึก คิดด้วยกุศลจิตก็ได้ขณะนั้น คือการคิด ที่เป็น กุศล

ท่านผู้ฟัง แล้วขณะที่กุศลจิตเกิด ในขณะที่ประจักษ์ "ลักษณะ" เป็นอย่างไรครับ

ท่านอาจารย์ ขณะนั้น ไม่มีความสงสัยใดๆ ทั้งสิ้น ถ้าสภาพธรรมปรากฏตามปกติ ตามความเป็นจริง ของสภาพธรรมนั้น ทุกอย่างตรงกับที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ สภาพธรรมมีจริง เพราะฉะนั้นเวลาที่ "สติ" เกิด จะระลึกรู้ "ลักษณะ" ของ "ปรมัตถธรรม" ปรมัตถธรรม มี ปรากฏอยู่แล้ว แต่ถ้า "สติ" ไม่ระลึก ก็ผ่านไป ถ้า สติ ระลึก จึงรู้ ปรมัตถธรรม ที่กำลังปรากฏ นั้นๆ ขึ้นอยู่กับเราเอง ว่า ขณะนั้น จะรู้ด้วย "สติ" หรือ เป็นเพียงความคิด เพราะฉะนั้นขณะที่ "ระลึก ตรง ปรมัตถธรรม" แล้ว ค่อยๆ รู้ขึ้น ขณะนั้น คือ สติปัฏฐาน

เพราะฉะนั้นสติปัฏฐานนี้ แสนที่จะปกติจริงๆ แล้วแต่ ว่า จะระลึกหรือไม่ เท่านั้น.โลภะ โทสะ โมหะ นั้น หนีไม่พ้นทั้งๆ ที่ เรากำลังคุยธรรมะกันอยู่นี้แม้ส่วนมาก จะเป็น กุศลจิต แต่โลภะ โทสะ โมหะ ก็เกิดได้โดยเฉพาะ เวลาที่เรา "รู้เรื่อง"แต่ "ลักษณะ" จริงๆ เรารู้แค่ไหน

แต่อย่างน้อยที่สุดท่านผู้ฟังก็รู้ จากการฟัง ว่าสิ่งที่ปรากฏทางตา ขณะนี้ ปรากฏแล้วเราก็ "คิดนึกเป็นเรื่องราว"จากสิ่งที่ปรากฏทางตานั้น.นี่แสดงให้เห็นว่าความคิดนึกของเรานั้น มีการปรุงแต่งไว้ อย่างหนาแน่นในเรื่องราว เรื่องคน เรื่องสัตว์ เรื่องวัตถุสิ่งของ ฯลฯ เพราะว่า ความคิดนึกของเราไปทรงจำ เป็น เรื่องราวไว้.เพราะว่า เราอยู่ใน "โลกของสมมติ"เรื่องราวต่างๆ นี้ ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตายไปเราก็ไม่รู้ ปรมัตถธรรมทั้งๆ ที่ ปรมัตถธรรม มีแต่เราทรงจำไว้ เป็น เรื่องราว เป็นโต๊ะ เป็นเก้าอี้ ฯลฯ คือ เราไม่สามารถที่จะเข้าใจในสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ว่าสภาพธรรมที่กำลังปรากฏนั้น เป็นของจริงส่วน "เรื่องราว" นั้น ไม่ใช่ของจริง แต่เป็นเพราะเรานึกไปเอง ว่า เป็นของจริง

ท่านผู้ฟัง เข้าใจเรื่องราว คือ เข้าใจขั้นการฟัง

ท่านอาจารย์ ก็ใช่สิคะ เพราะฉะนั้น เราก็ต้องอาศัยขั้นการฟังก่อนแล้วสังขารขันธ์ ก็ปรุงแต่งให้ "สติ" มีกำลังแล้วค่อยๆ เข้าใจขึ้นๆ ตามที่ท่านผู้ฟัง เคยเข้าใจ ขั้นการฟัง แต่ถ้า ความเข้าใจขั้นการฟัง มีไม่พอ "สติ" จะระลึก และเข้าใจเป็นความจริงอย่างนั้น ไม่ได้

คุณย่าสงวน ทั้งฟัง ... ทั้งถอดเทปมาตั้ง ๓๐ ปี

ขออนุโมทนา

เห็นประโยชน์ของพระธรรม (ปัญญา) ก็มั่นคงในการฟังพระธรรม และเข้าใจหนทางที่ถูก.การตั้งเป้าหมาย ไม่ได้หมายความว่า เมื่อตั้งแล้ว จะทำให้เข้าใจหนทางที่ถูก ความอยาก ไม่ได้ทำให้เข้าใจถูกแต่การฟังเพื่อเข้าใจในสิ่งที่ฟังขณะนั้น และ เกิดความเข้าใจขึ้น ความเข้าใจ ที่เกิดจากการฟังในขณะนั้น ต่างหากจะทำให้ เข้าใจ หนทางดับกิเลส ได้ถูก และ บรรลุได้ โดยไม่ต้องตั้งเป้าหมาย หรือ อยาก อย่างไรเลย ครับ

จากธรรมทัศนะ



... ขออนุโมทนา ...


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
suwit02
วันที่ 9 พ.ค. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
aiatien
วันที่ 11 พ.ค. 2552
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
chatchai.k
วันที่ 19 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ