รู้ประมาณในการบริโภค
สนทนาพื้นฐานพระอภิธรรม ที่มูลนิธิฯ
วันอาทิตย์ที่ 8 มี.ค. ๒๕๕๒
อุดร เมื่อ...วานนี้พูดถึงการรู้ประมาณในการบริโภค ความหมายของการรู้ประมาณในโภชนะ ที่ท่าน อ.จ. ว่าไม่เกี่ยวกับปริมาณของอาหาร ประเภทของอาหาร หรือว่าชนิดของอาหาร แต่เกี่ยวกับว่าขณะรับประทานมีสติ หรือเปล่า
อ.จ. ก่อนอื่น... คุณอุดร เคยได้ยินคำว่า รู้ประมาณในการบริโภคอาหาร หรือเปล่า จากใครก็ได้ ไม่จำเป็นจะต้องจากข้อความในพระไตรปิฎก อย่า...รับประทานมากนะ ! อย่า...รับประทานให้อิ่มเกินไปนะ ! เคยได้ยินไหมค่ะ? ไม่ใช่คำสอนของ พระพุทธเจ้า หรือ เป็นคำสอนของ พระพุทธเจ้า ?
อุดร ไม่ใช่คำสอน
อ.จ. เพราะอะไรจึงไม่ใช่คำสอน
อุดร เพราะการบริโภคขณะนั้น ก็เพื่อให้สุขภาพร่างกายดี
อ.จ. เพราะไม่เข้าใจว่า จะบริโภคมากหรือน้อย ก็เป็นไปตามเหตุปัจจัย ต้องคิดแล้วใช่ไหมค่ะ จริงหรือเปล่า คนที่สะสมความพอใจในรสอาหารจะไปยับยั้งได้ไหม บริโภคน้อยๆ อย่าบริโภคมากๆ ได้ไหมค่ะ สะสมมาที่จะเป็นผู้กินจุ อร่อยมาก อะไรๆ ก็อร่อยหมดเลย อะไรมาอยู่ต่อหน้ารับประทานหมดเลย ทีละคำ ๒ คำ เดี๋ยวก็หมดแล้ว
อุดร แต่ถ้าเขารักสุขภาพ ดูแลสุขภาพ อาจจะรับประทานให้น้อยลง ถึงอาหารจะอร่อย
อ.จ. เพราะฉะนั้น จึงได้ถามไงค่ะ ว่าคุณอุดร เคยได้ยินคำพูดอย่างนี้ไหม ก่อนฟังธรรม ถ้ารับประทานมาก บริโภคมาก เดี๋ยวจะเป็นโรคนั้นโรคนี้ เคยได้ยินไหมค่ะ ? เคยได้ยินครับ.. เป็นความจริงไหม จริงก็จริง แต่ไม่ใช่ธรรม ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง ความจริงยิ่งกว่านั้น เพราะว่าผู้ที่กล่าวอย่างนั้นไม่ได้รู้ความจริงอะไรในเรื่องอาหาร เรื่องร่างกาย เรื่องการบริโภค ไม่รู้ว่าแม้ขณะนั้น ที่บริโภคอย่างนั้น เพราะอะไร พอใจติดข้อง ในอาหาร หรือว่าอิ่มแล้วก็ยังรับประทานต่ออีก หรือว่าจะอิ่มก็ควรจะหยุดได้แล้ว ไม่ต้องต่อไปอีก หรือว่าทั้งๆ ที่เข้าใจธรรม รับประทานอิ่มแล้ว ก็ยังบริโภคต่อไปอีก คือเขาไม่เข้าใจในความเป็นธรรม เขาเพียงแต่รู้เรื่องของอาหาร เรื่องของร่างกาย แต่ไม่รู้ธรรม เพราะฉะนั้น แม้คำสอนดูเหมือนสอดคล้อง เพราะถ้าบริโภคมากก็จะเดือดร้อนเหมือนพระเจ้าปเสนทิโกศล ท่านก็อึดอัด ไม่คล่องแคล่วก็จริง แต่ว่ายิ่งกว่านั้น ความจริงนั้น คือ อะไร เพราะว่าข้อความนี้ตั้งต้นว่าผู้มีสติทุกเมื่อ รู้ประมาณในโภชนะ หรือในการบริโภคโภชนะ เพราะฉะนั้น ต่างกันแล้วใช่ไหม จะกล่าวว่าใครรู้ประมาณในโภชนะแล้ว
อุดร เป็นผู้มีสติทุกเมื่อ
อ.จ. เพราะมีความเข้าใจจริงๆ นะค่ะ เพราะว่าขณะนั้นก็เป็นธรรม ที่ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา แต่ถ้ามีคนบอกว่า รับประทานน้อยๆ สุขภาพจะดี แต่ก็หิวนี่ หรือว่าก็อร่อยนี่ แล้วจะยับยั้งได้ยังไง แต่ผู้มีสติทุกเมื่อ เริ่มเข้าใจธรรมตามความเป็นจริง เห็นอะไรค่ะ เวลารับประทานอาหาร คุณชาลีค่ะ เวลารับประทานอาหาร เห็นอะไรค่ะ คนอื่นคงเหมือนกัน
ชาลี เห็น... อาหารน่ารับประทาน
อ.จ. คน..อื่นคงเหมือนกันหมดนะค่ะ คุณชาลีก็บอกว่าเห็นอาหารน่ารับประทาน แต่ความจริงนะค่ะ แม้มีธรรมก็ไม่เห็น คือ โลภะความติดข้อง ความอร่อย ความต้องการรสอาหาร ระหว่างที่รับประทานทั้งหมดนี้ไม่รู้เลย ว่าเป็นความติดข้อง บริโภคด้วยความติดข้อง เพราะฉะนั้นผู้มีสติทุกเมื่อ ไม่ได้เว้นว่าเมื่อไร แล้วแต่เหตุปัจจัย ถ้าสติเกิดขณะนั้น มีความเข้าใจธรรมและมีการรู้ความโลภหรือความติดข้อง หรือว่าสภาพธรรมใดๆ เกิดขึ้น ขณะนั้นก็เป็นผู้ที่รู้ตามความเป็นจริง โลภะเกิดแล้ว ทำอะไรได้ ไม่มีใครทำอะไรได้แต่เข้าใจ ปัญญาสามารถจะเห็นว่าเป็นธรรมได้ แต่โลภะไม่สามารถจะรู้เลย ในขณะที่กำลังบริโภคอาหาร แล้วถ้ามีปัญญาเพิ่มขึ้นๆ ซึ่งใครจะเป็นผู้รู้ประมาณในการบริโภคอาหารก็แล้วแต่ปัญญา ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เพราะฉะนั้นจึงกล่าวว่าธรรมทั้งหมดเป็นอนัตตา กิเลสนี่ลึกมาก หนา...เหนียวแน่นมาก ถ้าไม่ใช่ปัญญาจริงๆ ละอะไรไม่ได้เลย เป็นแต่เพียงความคิดชั่วครั้ง ชั่วคราวสำหรับคนที่รักสุขภาพ คิดอย่างหนึ่ง แต่ก็ไม่ได้รู้ว่าเป็นธรรม เพราะฉะนั้น เมื่อเป็นคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ต้องลึกซึ้งกว่า คำสอนของคนที่ให้รับประทาน อาหารมีประโยชน์ ให้รับประทานพอประมาณเพื่อสุขภาพ เพื่ออะไรก็แล้วแต่ แต่ว่าพระธรรมที่ทรงให้เห็นว่า เพื่อละความติดข้องและรู้ว่าอาหารเป็นสิ่งที่จำเป็น แม้รู้ว่ารูปกายเกิดเพราะกรรมก็มี เพราะจิต อุตุก็มี ก็ยังไม่พอที่จะดำรงอยู่ได้ ต้องมีรูปซึ่งเกิดเพราะอาหารด้วย จึงสามารถที่จะเป็นไปได้ นีแสดงให้เห็นว่าถ้าศึกษาธรรม ก็ควรที่จะเข้าใจถึงความละเอียด ไม่ข้ามพยัญชนะ เพราะว่าข้อความมีว่า "เป็นผู้มีสติทุกเมื่อ"
เหมือนพระเจ้าปเสนทิโกศล ท่านก็อึดอัด ไม่คล่องแคล่วก็จริง แต่ว่า ยิ่งกว่านั้น ความจริงนั้น คือ อะไร เพราะว่า ข้อความนี้ ตั้งต้นว่า "ผู้มีสติทุกเมื่อ"
ขออนุโมทนาค่ะ
กิเลสนี่ลึกมาก หนา...เหนียว แน่นมาก ถ้าไม่ใช่ปัญญาจริงๆ ละอะไรไม่ได้เลย เป็นแต่เพียงความคิดชั่วครั้ง ชั่วคราวสำหรับคนที่รักสุขภาพ คิดอย่างหนึ่ง แต่ก็ไม่ได้รู้ว่าเป็นธรรม
ขออนุโมทนาครับ
แต่หากบริโภคอาหาร มิใช่ด้วยความติดข้อง แต่เสียดายหากจะต้องเหลือทิ้งขว้างไป ดังนี้ จะถือว่ามีสติในการบริโภคหรือไม่ครับ
อ้างอิงจาก ความคิดเห็นที่ 5
กิเลสนี่ลึกมาก หนา...เหนียว แน่นมาก ถ้าไม่ใช่ปัญญาจริงๆ ละอะไรไม่ได้เลย เป็นแต่เพียงความคิดชั่วครั้ง ชั่วคราวสำหรับคนที่รักสุขภาพ คิดอย่างหนึ่ง แต่ก็ไม่ได้รู้ว่าเป็นธรรม
แต่หากบริโภคอาหาร มิใช่ด้วยความติดข้อง แต่เสียดายหากจะต้องเหลือทิ้งขว้างไป ดังนี้ จะถือว่ามีสติในการบริโภคหรือไม่ครับ
ถ้าเหลือ...เอาไปให้ สุนัข หรือ เหมียว ที่หิวก็ได้มังคะ หรือถ้าไม่มีพวกเขาอยู่แถวๆ นั้น ตอนนั้น อาจจะวางไว้ในที่สมควร เดี๋ยวก็มี สัตว์ที่หิวมารับทาน และหายหิว ไงล่ะคะ
ปล. ที่สมควร...ด้วยนะคะ.
อนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาคำแนะนำคุณพุทธรักษาครับ
ได้บุญจากการเอื้อเฝื้อเผื่อแผ่อีกต่อนะครับ
กราบนอบน้อมพระรัตนตรัยด้วยเศียรเกล้า
เป็นหัวข้อที่ควรศึกษาอย่างละเอียด พระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ละเอียดลึกซึ้ง อย่างไม่มีสิ่งใดจะเปรียบได้ เพราะเป็นปัญญา จากผู้ที่บริสุทธิ์ ไม่มีกิเลสหลงเหลือแม้แต่เพียงละออง แต่ละคำจึงต้องพิจารณาไตร่ตรอง จากการฟังผู้ที่ได้ศึกษามาก่อน เมื่อเข้าใจถูก เป็นประโยชน์อย่างที่สุด มหาศาล แต่ถ้าเข้าใจผิด ปฎิบัติผิดเพราะคิดเอง แล้วยังหลงคิดว่าถูก ก็เป็นโทษมหาศาล จริงๆ ค่ะ
กราบเท้าบูชาพระคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ด้วยความเคารพอย่างสูง
กราบขอบพระคุณท่านผู้ให้ธรรมเป็นทานด้วยค่ะ