ขอเรียนถามค่ะ

 
พุทธรักษา
วันที่  15 พ.ค. 2552
หมายเลข  12371
อ่าน  1,021

๑. สติปัฏฐาน เกิดได้ทั้งทางปัญจทวาร และ ทางมโนทวาร โดย สามารถเกิดแต่ละทางทั้ง ๖ ทาง แยกขาดจากกัน ใช่ไหมคะ

๒. สติปัฏฐาน เกิด ตรง ชวนวิถีจิต เท่านั้น ใช่ไหมคะ เช่น ทางปัญจทวาร สติปัฏฐานก็เกิด ตรงชวนวิถีจิต ทางปัญจทวาร ถ้าสติปัฏฐานเกิดทางมโนทวาร ก็เกิด ตรงชวนวิถีจิต ทางมโนทวาร

๓. คำว่า นิมิต อนุพยัญชนะ หมายถึง รูปร่าง สัณฐาณ ด้วยหรือเปล่าคะ.? (ที่ชอบใช้กันบ่อยๆ ว่า หลังจากเห็น จิดคิดนึก เป็น รูปร่างสัณฐาน เป็นต้น) เข้าใจว่า หลังจาก ได้ยิน ลิ้มรส ได้กลิ่น กระทบสัมผัส เกิดแล้วดับแล้ว ทางใจ ก็คิดต่อเป็นรูปร่างสัณฐานก็ได้ ถูกต้องไหมคะ

๔. นิมิต อนุพยัญชนะ สามารถเกิด โดยไม่ต้องอาศัย ตา หู จมูก ลิ้น กาย เลย ใช่หรือเปล่าคะ (เช่น ขณะที่ฝัน)

หรือจะกล่าวว่า ขณะที่คิดนึกถึงอะไรๆ ก็ตาม ขณะนั้นนั่นแหละ เป็น นิมิต อนุพยัญชนะแล้ว ใช่ไหมคะ ยังไม่กระจ่าง เริ่มสับสนแล้วค่ะ เกรงว่าจะเข้าใจผิดน่ะค่ะ ขอความกรุณา ช่วยทบทวนความเข้าใจด้วยนะคะ ขออภัยด้วยถ้าถามยาว หรือ วกวน


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 15 พ.ค. 2552

๑. โดยสภาพธรรม แต่ละทวารไม่ปะปนกัน

๒. เกิดได้ทั้ง ๖ ทวาร

๓. ถูกต้องครับ ต้องเป็นชวนจิต กุศลก็ต้องเป็นชวนะ

๔. โลกทางใจหมายถึงวิถีจิตทางมโนทวาร รู้อารมณ์ได้ทั้ง

๖. อารมณ์มโนทวารวิถีวาระแรกๆ รู้อารมณ์ต่อจากทางปัญจทวาร อารมณ์ที่พึ่งดับนั้นชื่อว่ากำลังปราฏ เพราะรวดเร็วมาก

๕, ๖, ๗. คำว่า นิมิต อนุพยัญชนะ ในอรรถกถาอธิบายว่า เป็นเครื่องหมายของกิเลส คือ ยึดถือว่าเป็นหญิง เป็นชาย ว่างาม เป็นต้น ควรจะเป็นทางมโนทวาร มากกว่า แต่อาศัยการเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้นรส การกระทบสัมผัสและคิดนึก

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
พุทธรักษา
วันที่ 15 พ.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนา

ต้องขออภัยด้วยนะคะ ท่านอาจารย์ประเชิญ ท่านตอบเร็วมาก ข้าพเจ้ามัวแต่แก้คำถาม ให้กระชับขึ้นหัวข้อในการตอบ ก็เลยไม่ตรงกันน่ะค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
พุทธรักษา
วันที่ 15 พ.ค. 2552

จากคำตอบข้างต้น

๔. โลกทางใจหมายถึงวิถีจิตทางมโนทวาร รู้อารมณ์ได้ทั้ง ๖ อารมณ์มโนทวารวิถีวาระแรกๆ รู้อารมณ์ต่อจากทางปัญจทวาร อารมณ์ที่พึ่งดับนั้นชื่อว่ากำลังปราฏ เพราะรวดเร็วมาก

ท่านหมายความว่าก่อนจะคิดนึกเป็นนิมิต อนุพยัญชนะ ซึ่งเกิดเฉพาะทางใจ นั้น ต้องมี สี เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่เกิดแล้วทางปัญจทวารเป็นอารมณ์ในวิถีจิตวาระแรกๆ ทางมโนทวารเพราะอย่างนี้ จึงกล่าวว่า "ทางมโนทวารรู้ได้ทั้ง ๖ อารมณ์"ถูกต้องไหมคะ

นิมิต อนุพยัญชนะ ในอรรถกถาอธิบายว่า เป็นเครื่องหมายของกิเลส คือ ยึดถือว่าเป็นหญิง เป็นชาย ว่างาม เป็นต้น ควรจะเป็นทางมโนทวาร มากกว่า แต่อาศัยการเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้นรส การกระทบสัมผัสและคิดนึก จากคำตอบข้างต้นผู้ที่ละนิมิตอนุพยัญชนะ (เครื่องหมายของกิเลส) ต้องเป็นพระอนาคามีขึ้นไป หรือคะ หมายความว่า นิมิตอนุพยัญชนะ ต่างกับ บัญญัติ นะสิคะเพราะจากการศึกษา ทราบว่า พระอรหันต์ ท่านมีบัญญัติเป็นอารมณ์ แต่ไม่มีกิเลสเกิดร่วมด้วยเข้าใจอย่างนี้ ถูกต้องหรือเปล่าคะ (ถ้าคลาดเคลื่อนกรุณาแนะนำด้วยค่ะ)

ขอขอบพระคุณค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
prachern.s
วันที่ 16 พ.ค. 2552

ผู้ที่ไม่ใช่พระอนาคามีบุคคล ขณะที่สติปัฏฐานเกิดขึ้น ขณะนั้นชื่อว่า ไม่ยึดถือ นิมิต อนุพยัญชนะ จริงๆ แล้วนิมิต อนุพยัญชนะ เป็นเรื่องราวของสภาพธรรม แต่มิได้หมายความว่าขณะที่มีปรมัตถธรรมอารมณ์จะไม่เป็นเครื่องหมายของกิเลสและวิถีจิตทางมโนทวารรู้อารมณ์ได้ทุกอย่าง อาจไม่เกี่ยวกับนิมิต อนุพยัญชนะก็ได้

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
พุทธรักษา
วันที่ 16 พ.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
pornpaon
วันที่ 19 พ.ค. 2552

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chatchai.k
วันที่ 19 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ