ความสุขเป็นปัจจัยให้เกิดสมาธิ หรือสมาธิเป็นปัจจัยให้เกิดสุข

 
suthon
วันที่  17 พ.ค. 2552
หมายเลข  12390
อ่าน  1,204

ขอเรียนถามว่า ความสุขเป็นปัจจัยให้เกิดสมาธิ หรือสมาธิเป็นปัจจัยให้เกิดสุข


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 17 พ.ค. 2552

ขอเรียนตามนัยของพระสูตรต่างๆ คือ บางสูตรแสดงลำดับการเกิดขึ้นของกุศลที่อาศัยกัน เช่นในกิมัตถิยสูตร แสดงสุขเป็นปัจจัยแก่สมาธิ คือความสงบบางนัยแสดงความสุขที่ประณีตต่างกัน เช่น สุขในกาม สุขในฌานชั้นต่างๆ สมาธิหรือฌานขั้นสูงเป็นปัจจัยแก่สุขที่ประณีตกว่า เช่นข้อความในอุปาลิสูตรสรุปคือ แล้วแต่นัยที่แสดง ตามข้อความที่ยกมาครับ
ข้อความบางตอนจากกิมัตถิยสูตรที่ ๑

..... พ. ดูก่อนอานนท์ ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล มีสุขเป็นอานิสงส์. อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สุขมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์. พ. ดูก่อนอานนท์ สุขมีสมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์. พ. ดูก่อนอานนท์ สุขมีสมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์. อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สมาธิมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์. พ. ดูก่อนอานนท์ สมาธิมียถาภูตญาณทัสสนะเป็นผล มียถาภูต-ญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์. อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ยถาภูตญาณทัสสนะมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์. พ. ดูก่อนอานนท์ ยถาภูตญาณทัสสนะมีนิพพิทาวิราคะเป็นผลมีนิพพิทาวิราคะเป็นอานิสงส์...

ข้อความบางตอนจาก อุปาลิสูตร

ดูก่อนอุบาลี อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ ดูก่อนอุบาลี เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การอยู่เช่นนั้น เป็นการอยู่ที่ดียิ่งกว่า และประณีตกว่า การอยู่อันมีในก่อนมิใช่หรือ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
พุทธรักษา
วันที่ 17 พ.ค. 2552

.............. มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น............
การอยู่เช่นนั้น เป็นการอยู่ที่ดียิ่งกว่า และประณีตกว่า การอยู่อันมีในก่อน มิใช่หรือ...

ขอเรียนถามว่า

การอยู่ อันมีในก่อน หมายความว่าอะไร...กว้างขวางแค่ไหนคะ.?

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
suwit02
วันที่ 19 พ.ค. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
suwit02
วันที่ 19 พ.ค. 2552

ผมขอนำ ลิ้งค์และ ข้อความบางตอนจากอุปาลิสูตร ที่ อ.ประเชิญ อ้างถึง มาแสดงไว้ ณ ที่นี้ ครับ

[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 323

๙. อุปาลิสูตร ว่าด้วยพระอุบาลีทูลขอไปอยู่เสนาสนะป่า พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงอนุญาต

ดูก่อนอุบาลี เปรียบเหมือนเด็กอ่อนนอนหงาย ย่อมเล่นมูตรและคูถของตน

ดูก่อนอุบาลี เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การเล่นนี้เป็นการเล่น ของเด็กอ่อนอย่างเต็มที่สิ้นเชิงมิใช่หรือ ท่านพระอุบาลีกราบทูลว่า เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนอุบาลีสมัยต่อมา เด็กนั้นแล อาศัยความเจริญ อาศัย ความแก่กล้าแห่งอินทรีย์ ย่อมเล่นเครื่องเล่นทั้งหลายที่เป็น ของเล่นของพวกเด็กๆ คือเล่นไถน้อยๆ เล่นตีไม้หึ่ง เล่นกังหันไม้ เล่นกังหันใบไม้ เล่นตวงทราย เล่นรถน้อยๆ เล่นธนูน้อยๆ ดูก่อนอุบาลี เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การเล่นนี้ เป็นการเล่นดียิ่งกว่า และประณีตกว่าการเล่นที่มีในครั้งก่อนมิใช่หรือ.

อุ. เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนอุบาลี สมัยต่อมา เด็กนั้นแล อาศัยความเจริญ อาศัย ความแก่กล้าแห่งอินทรีย์ เป็นผู้เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ บำเรออยู่ ด้วยรูปทั้งหลาย อันบุคคลพึงรู้ได้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ นักรัก ยั่วยวนชวนให้กำหนัด ด้วยเสียงทั้งหลายอันบุคคลพึงรู้ด้วยหู ... ด้วยกลิ่นทั้งหลายอันบุคคลพึงรู้ด้วยจมูก ... ด้วยรสทั้งหลายอันบุคคลพึงรู้ด้วยลิ้น ... ด้วยโผฏฐัพพะทั้งหลายอันบุคคลพึงรู้ด้วยกาย อันน่าปรารถนาน่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ยั่วยวนชวนให้กำหนัด ดูก่อนอุบาลี เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การเล่นนี้ เป็นการเล่นที่ดียิ่งกว่า และประณีตกว่าการเล่นที่ มีในครั้งก่อนมิใช่หรือ.

อุ. เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า

...

ภิกษุนั้น ครั้นละนิวรณ์อันเป็นเครื่องเศร้าหมองใจ อันทำปัญญาให้ทุรพล ๕ ประการนี้ได้แล้ว สงัดจากกาม สงัดจากลกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ดูก่อนลุบาลี เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การอยู่เช่นนี้ เป็นการอยู่ที่ดียิ่งกว่า และประณีตกว่าการอยู่อันมีในก่อนมิใช่หรือ.

อุ. เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

...

ดูก่อนอุบาลี อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใส แห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะ วิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ ดูก่อนอุบาลี เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การอยู่เช่นนั้น เป็นการอยู่ที่ดียิ่งกว่า และประณีตกว่า การอยู่อันมีในก่อนมิใช่หรือ.

อุ. เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

...

ดูก่อนอุบาลี อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่ พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดูก่อนอุบาลี เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การอยู่เช่นนี้ เป็นการอยู่ที่ดียิ่งกว่า ประณีตกว่าการอยู่อันมีในก่อนมิใช่หรือ.

อุ. เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.


ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
พุทธรักษา
วันที่ 19 พ.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนา ค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ