ทำไม...ต้องแยก
สนทนาพื้นฐานพระอภิธรรม ที่มูลนิธิฯ วันอาทิตย์ที่ ๘ มี.ค. ๒๕๕๒
ผู้ฟัง คือ..มีข้อสงสัยว่า เมื่อเช้าคุยเรื่อง สัญญา สังขารขันธ์ หนูสงสัย ทำไมพระพุทธองค์จึงทรงแยก เวทนาขันธ์กับสัญญาขันธ์ ออกจากสังขารขันธ์ละค่ะ เพราะว่า เวทนากับสัญญา ก็เป็นกลุ่มของเจตสิกเหมือนกัน ทำไมจึงไม่ทรงจัดให้เป็นกลุ่มเดียวกัน
อ.จ. ที่..แยกเป็นขันธ์ ๕ ตามการยึดถือค่ะ ใช้คำว่า "อุปทานขันธ์" หมายความว่าขันธ์อันเป็นที่ตั้งของความยึดถือ ชอบรูปไหม รูปสวยๆ เสียงเพราะๆ เกิดมาจนตายไป ต้องการรูปหรือเปล่า
ผู้ฟัง ชอบค่ะ...
อ.จ. เห็น..ไหมค่ะ ชั่วปรากฎนิดเดียว เสียงปรากฎนิดเดียว ก็หมดแล้ว และความจริงสิ่งที่ปรากฎทางตา ก็สั้นเช่นเดียวกับเสียง อายุเท่ากัน เท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ แค่นี้ยังชอบ พ้นจากรูปไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น รูปเป็นขันธ์หนึ่ง แยกไปเลย จากนามขันธ์ ๔ แต่เป็นที่ตั้งของความยึดมั่น แล้วเวลาที่มีรูป แล้วอยากจะมีความรู้สึกในรูปนั้น ที่สบายหรือเปล่าค่ะ ที่เพลิดเพลิน ยินดี พอใจ ต้องการรูปประเภทนั้นหรือเปล่า
ผู้ฟัง อัน..นี้ อ.จ. หมายถึงในหมวดของ เวทนาขันธ์ ใช่ไหมค่ะ
อ.จ. อัน..นี้ จะใช้ชื่อใช่ไหมค่ะ แต่ความเป็นจริง ทุกครั้งที่เห็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด จะต้องมีความรู้สึก และสิ่งที่เป็นใหญ่จริงๆ เป็นอินทรีย์ด้วย หมายความว่า เวลาที่สภาพความรู้สึก อย่างหนึ่งอย่างใดเกิดขึ้น สภาพธรรมอื่นคล้อย หรือเป็นไปตาม ความเป็นใหญ่ของเวทนา อย่างพอโทมนัสเกิดขึ้น เจตสิกอื่นทั้งหมด จะสุขไม่ได้เลย จะต้องเศร้าหมอง และเป็นไปตามความรู้สึกนั้นๆ เพราะฉะนั้น ตั้งแต่เกิดจนตาย นอกจากเราต้องการรูป ก็ควรที่จะรู้ว่า เราต้องการรูปเพื่ออะไร เพื่อความรู้สึกเป็นสุข ตลอดชีวิตแสวงหา แต่ความรู้สึกเป็นสุข โสมนัส เพลิดเพลิน ยินดี ถ้ามิฉะนั้นแล้ว จะต้องการรูปมาทำไม จะติดข้อง รูปทำไม แต่เพราะว่าเวทนา เป็นสภาพที่เราติดข้องอย่างมาก
ถาม ใครทุกคน ก็ต้องการแต่สุข ลืมเรื่องอื่นไปเลย อย่างอื่นไม่สำคัญเท่ากับเวทนา เพราะว่าเวทนาก็เป็นเจตสิกหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ตั้งของความยึดถือ เป็นอุปาทาน เวทนูปาทานขันธ์ แสดง..ขันธ์ ๕ ทั้งๆ ที่เป็น จิต เจตสิก รูป เป็นปรมัตถ ธรรม แต่จำแนกตามการยึดถือ เป็น ๕ ขันธ์ และแต่ละขันธ์ ก็สำคัญที่สืบเนื่องกันด้วย อย่างรูปขันธ์ ตลอดชีวิตเราต้องการรูปแน่ๆ เพื่ออะไร เพื่อสุขเวทนา แต่สุขเวทนาก็ชั่วคราว แล้วก็มีสภาพของความรู้สึกอื่นๆ สุข ทุกข์ ก็สลับกัน แต่ก็เป็นที่ยึดมั่น ความรู้สึกนั้นๆ ด้วย และ..ถ้าไม่มีสัญญา ความจำ จะต้องการสุขเวทนาไหมค่ะ สุขแล้วหมดแล้ว จำอะไรไม่ได้แล้ว แต่ยังจำความรู้สึกเป็นสุขได้ และยังต้องการความสุขอย่างนั้น ที่เคยเป็นด้วย เพราะสัญญาเจตสิก เพราะ..สัญญาเจตสิกหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ตั้งของความยึดถือ ทำให้มีความต้องการ ซึ่งเมื่อมีเวทนา สัญญา แล้วสังขารขันธ์ทั้งหมด จึงเกิดขึ้นปรุงแต่ง ให้เป็นไปตามการสะสม หรือความพอใจ โดยที่มีวิญญาณขันธ์ คือ จิต เป็นใหญ่ เป็นประธานในการรู้แจ้งสิ่งที่ปรากฎ เพราะว่าถ้าเราคิดว่า เราอยากจะมีปัญญามากๆ อยากมีจริงไหม เป็นธรรมหรือเปล่า
ผู้ฟัง เป็นค่ะ
อ.จ. ปรมัตถธรรมอะไร เป็นจิตและเจตสิก สัมปยุต.. อยากๆ นะค่ะ จิตเป็นปัณฑระ เฉพาะจิตนี้ผ่องใส เศร้าหมองเพราะอกุศลเจตสิก ผ่องใสเพราะโสภณเจตสิก แต่สภาพของจิตเอง จิตทุกประเภท แม้อกุศลจิต เราไม่พูดถึงเจตสิกเลย แต่พูดถึงอกุศลจิต เฉพาะจิต เป็นปัณฑระ ผ่องใสนี่ก็ แสดงถึงความละเอียด ที่จะต้องแยกนามธรรม ซึ่งเกิดร่วมกันว่า จิตไม่ใช่เจตสิก
ผู้ฟัง แล้ว..มีคำถามว่า ทำไมเจตนา ถึงไม่รวมอยู่ด้วย ทำไมไม่แยกออกมา เพราะเจตนาก็เป็นตัวที่ก่อให้เกิดความจงใจ การกระทำต่างๆ ด้วยเหมือนกัน
อ.จ. แล้ว..จริงๆ แล้วต้องการความสุข หรือ ต้องการเจตนา
ผู้ฟัง ต้อง..การความสุขค่ะ
อ.จ. เพราะ..ฉะนั้น ทั้งหมดเป็นที่ตั้งของความยึดถือ ว่าเป็นเรา แต่ทำไมยกเฉพาะ เวทนา สัญญา ขึ้นเป็นขันธ์ เพื่อให้เห็นความสำคัญ แม้สังขารขันธ์ เจตสิกอื่นๆ ที่ตามมาก็เพราะ เวทนาเป็นสุขอย่างไร ก็ปรุงแต่ง เพื่อที่จะให้เป็นอย่างนั้น เพราะสัญญาความจำในความสุขอย่างนั้น เพราะว่าขณะนี้ ถ้าทราบว่าเจตสิกทั้งหมดมี ๕๒ เพราะว่าเจตสิก ๕๐ เป็นสังขารขันธ์ แล้วเราอยู่ตรงไหน
เพราะ..ว่าจากการที่คิดอย่างนี้ ขณะนี้มาจากไหน ถ้าไม่ใช่การสะสมนานมาแล้วของสังขารขันธ์ ซึ่งแม้ขณะจิตเดี๋ยวนี้ ก็ทำหน้าที่ของสังขารขันธ์ เพราะว่าขณะต่อไป จะพูด จะคิด จะทำอะไร ก็คือ สังขารขันธ์ทั้งหมด ใครรู้บ้างค่ะว่า สังขารขันธ์กำลังปรุงแต่งขณะต่อไปแล้ว...
ที่..แยกเป็นขันธ์ ๕ ตามการยึดถือค่ะ ใช้คำว่า "อุปทานขันธ์" หมายความว่า ขันธ์อันเป็นที่ตั้งของความยึดถือ
สาธุ