อันว่าคุณของขันติ

 
opanayigo
วันที่  19 พ.ค. 2552
หมายเลข  12414
อ่าน  1,546

[เล่มที่ 74] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓- หน้าที่ 608

อนึ่งชื่อว่าขันตินี้ เป็นอาวุธไม่เบียดเบียนคนดี ในเพราะสมบูรณ์

ด้วยคุณสมบัติ เพราะกำจัดความโกรธอันเป็นปฏิปักษ์ต่อคุณธรรมไม่มีส่วน

เหลือ เป็นเครื่องประดับของผู้สามารถครอบงำผู้อื่นได้. เป็นพลสัมปทาของ

สมณพราหมณ์. เป็นสายน้ำกำจัดไฟคือความโกรธ. เป็นเครื่องชี้ถึงความ

เกิดแห่งกิตติศัพท์อันดีงาม.เมื่อเป็นมนต์และยาวิเศษระงับพิษคำพูดของคนชั่ว.

เป็นปกติของผู้มีปัญญายอดเยี่ยมของผู้ตั้งอยู่ในสังวร. เป็นสาครเพราะอาศัย

ความลึกซึ้ง. เป็นฝั่งของมหาสาครคือโทสะ. เป็นบานประตูปิดประตูอบาย.

เป็นบันไดขึ้นสู่เทวโลกและพรหมโลก. เป็นภูมิที่อยู่ของคุณทั้งปวง. เป็นความบริสุทธิ์ กาย วาจา และใจ อย่างสูงสุด. พึงมนสิการด้วยประการ ฉะนี้.

อีกอย่างหนึ่ง สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้เดือดร้อนในโลกนี้ เพราะไม่มี

ขันติสมบัติ. และเพราะประกอบธรรมอันทำให้เดือดร้อนในโลกหน้า. หาก

ว่าทุกข์มีความเสียหายของผู้อื่นเป็นนิมิตเกิดขึ้น. อัตภาพอันเป็นเขตของ

ทุกข์นั้น และกรรมอันเป็นพืชของทุกข์นั้นอันเราปรุงแต่งแล้ว. นั่นเป็น

เหตุแห่งความเป็นหนี้ของทุกข์นั้น. เมื่อไม่มีผู้ทำให้เสียหายขันติสัมปทาของ

เราจะเกิดได้อย่างไร. แม้หากว่าบัดนี้ผู้นี้ไม่ทำให้เสียหาย. ผู้นั้นก็ได้ทำอุป-

การะแก่เรามาก่อน. อีกอย่างหนึ่งผู้ไม่ทำให้เสียหายนั่นแหละ เป็นผู้มีอุปการะ

เพราะมีขันติเป็นนิมิต. สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ทั้งหมดเป็นเช่นบุตรของเรา.

ใครจักโกรธในความผิดที่บุตรทำได้. บุตรนี้ทำผิดแก่เราโดยมิใช่เพศของ

ปีศาจที่โกรธอันใด เราควรแนะนำบุตรผู้มิใช่เพศที่เป็นความโกรธนั้น. ทุกข์นี้เกิดแก่เราด้วยความเสียหายใด. แม้เราก็เป็นนิมิตของความเสียหายนั้น. ทำความเสียหายด้วยธรรมใดและทำในที่ใด ธรรมเหล่านั้นแม้ทั้งหมดก็ดับไปในขณะนั้นเอง. บัดนี้ใครพึงทำความโกรธแก่ใคร. และใครผิดแก่ใครเพราะธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา พิจารณาดังนี้ควรเพิ่มพูนขันติสัมปทา ด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง หากว่าความโกรธมีการทำความเสียหายต่อผู้อื่นเป็นนิมิต ด้วย

การสะสมมาตลอดกายของบุคคลนั้นพึงครอบงำจิตตั้งอยู่. บุคคลนั้นควร

สำเหนียกว่าดังนี้ ชื่อว่าขันตินี้ เป็นเหตุช่วยเหลือการปฏิบัติเป็นปฏิปักษ์ต่อผู้

ทำความเสียหายต่อผู้อื่น. เพราะฉะนั้น เราไม่ควรทำใจโกรธในสัตว์นั้น. เมื่อผู้ทำความผิดมีคุณ เราไม่ควรทำความโกรธในผู้มีคุณ. เมื่อไม่มีคุณควรแสดงความสงสารเป็นพิเศษ. ยศอันเป็นคุณของเราย่อมเสื่อมเพราะความโกรธ. สิ่งเป็นข้าศึกทั้งหลายมีผิวพรรณเศร้าหมองและการอยู่เป็นทุกข์เป็นต้น ย่อมมาถึง

เราด้วยความโกรธ. อนึ่ง ชื่อว่าความโกรธนี้กระทำสิ่งไม่เป็นประโยชน์ได้ทุก

อย่าง ยังประโยชน์ทั้งปวงให้พินาศเป็นข้าศึกมีกำลัง. เมื่อมีขันติข้าศึกไรๆ ก็

ไม่มี. ทุกข์มีความผิดเป็นนิมิตอันผู้ทำความผิดพึงได้รับต่อไป อนึ่ง เมื่อมีขันติ

เราก็ไม่มีทุกข์. ข้าศึกติดตามเราผู้คิดและโกรธ. เมื่อเราครอบงำความโกรธ

ด้วยขันติ ข้าศึกเป็นทาสของความโกรธนั้นก็จะถูกครอบงำโดยชอบ. การ

สละขันติคุณอันมีความโกรธเป็นนิมิตไม่สมควรแก่เรา. เมื่อมีความโกรธอัน

เป็นข้าศึกทำลายคุณธรรม ธรรมมีศีลเป็นต้น จะพึงถึงความบริบูรณ์แก่เราได้

อย่างไร. เมื่อไม่มีธรรมมีศีลเป็นต้นเหล่านั้น เราเป็นผู้มากด้วยอุปการะแก่

สัตว์ทั้งหลาย จักถึงสมบัติสูงสุดสมควรแก่ปฏิญญาได้อย่างไร. เมื่อมีความ

อดทนสังขารทั้งหลายทั้งปวง ของผู้มีจิตตั้งมั่นเพราะไม่มีความฟุ้งซ่านในภาย

นอก ย่อมทนต่อการเพ่งโดยความเป็นของไม่เที่ยงโดยความเป็นทุกข์ ธรรม

ทั้งหลายทั้งปวงย่อมทนการเพ่งโดยความเป็นอนัตตา และนิพพานย่อมทน

ต่อการเพ่งโดยความเป็น อสังขตะ อมตะ สันตะ และปณีตะเป็นต้น และ

พุทธธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏโดยเป็นอจินไตย และหาประมาณมิได้. ด้วย

ประการฉะนี้.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
suwit02
วันที่ 19 พ.ค. 2552

ขอเรียนถาม ข้อความในกระทู้ ที่ว่า

ชื่อว่าขันตินี้ เป็นเหตุช่วยเหลือการปฏิบัติเป็นปฏิปักษ์ต่อผู้ไม่ทำความเสียหายต่อผู้อื่น.

นั้น คืออย่างไร

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
vikrom
วันที่ 20 พ.ค. 2552

ขอขอบคุณ และขออนุโมทนาในความวิริยะครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
prachern.s
วันที่ 22 พ.ค. 2552

เรียนความเห็นที่ ๑

ให้ผู้รู้ตรวจสอบบาลีแล้ว แก้ไขดังนี้ครับ

ชื่อว่าขันตินี้ เป็นเหตุช่วยเหลือการปฏิบัติเป็นปฏิปักษ์ต่อผู้ทำความเสียหายต่อผู้อื่น.

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
suwit02
วันที่ 29 ก.ค. 2552
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 12414 ความคิดเห็นที่ 3 โดย prachern.s

เรียนความเห็นที่ ๑

ให้ผู้รู้ตรวจสอบบาลีแล้ว แก้ไขดังนี้ครับ

ชื่อว่าขันตินี้ เป็นเหตุช่วยเหลือการปฏิบัติเป็นปฏิปักษ์ต่อผู้ทำความเสียหายต่อผู้อื่น.


ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
suwit02
วันที่ 29 ก.ค. 2552

สาธุ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ