วิถีจิตของผู้เจริญสติปัฏฐาน

 
Sam
วันที่  19 พ.ค. 2552
หมายเลข  12415
อ่าน  1,800

ผมเข้าใจว่าวิถีจิตทางปัญจทวารมีปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์ และเมื่อดับหมด แล้วจะมีภวังคจิตเกิดคั่นหลายขณะ แล้ววิถีจิตทางมโนทวารวาระแรกมีปรมัตถธรรม เดียวกันนั้นเป็นอารมณ์ ส่วนวิถีจิตทางมโนทวารวาระต่อๆ มา จะมีบัญญัติเป็นอารมณ์ โดยมีภวังคจิตหลายขณะเกิดขั้นวิถีจิตแต่ละวาระ

ขออนุญาตเรียนถามครับว่า วิถีจิตของผู้ที่สติปัฏฐานไม่เกิด กับวิถีจิตของผู้ที่ สติปัฏฐานเกิด (ไม่ถึงขั้นวิปัสนาญาณ) เหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไรครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 20 พ.ค. 2552
วิถีจิตไม่ต่างกันครับ แต่จิตต่างกัน คือ วิถีจิตย่อมเป็นไปตามจิตตนิยาม โดยปกติเมื่อวิถีจิตทางปัญจทวารดับไปแล้ว วิถีจิตทางมโนทวารย่อมเกิดต่อเป็นลำดับตามที่ท่านยกมา แต่ชวนวิถีของผู้ที่สติไม่เกิดเป็นอกุศล หรือกุศลญาณวิปปยุต ส่วนชวนะวิถีของผู้ที่สติปัฏฐานเกิดเป็นมหากุศลญาณสัมปยุตครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ajarnkruo
วันที่ 20 พ.ค. 2552

ขอเรียนถามท่านวิทยากรเพิ่มเติมในประเด็นนี้นะครับ ได้ฟังมาว่า " ตามจิตตนิยามแล้ว วิถีจิตทางใจจะต้องรู้อารมณ์สืบต่อจากวิถีจิตทางปัญจทวารเสมอ ทันทีที่วิถีจิตทางปัญจทวารดับไปหมดแล้ว และมีภวังค์คั่น " แต่ว่าจากการศึกษาวาระของวิถีจิตทางปัญจทวาร ถ้าเป็นตทาลัมพณวาระ หรือชวนวาระตรงนี้ไม่สงสัยว่าจะต้องมีวิถีจิตทางมโนทวารรู้อารมณ์สืบต่อได้ แต่สำหรับโวฏฐัพพ-นวาระนั้น รูปดับไปเสียก่อน จึงไม่มีชวนจิตทางปัญจทวารเกิดเลย ถ้าชวนจิตทางปัญจทวารไม่เกิด วิถีจิตทางมโนทวารจะยังเกิดรู้รูปที่ดับไปได้หรือไม่ครับ และถ้าเป็นโมฆวาระที่มีเพียงรูปที่กระทบกับปสาท แต่วิถีจิตไม่เกิด มโนทวารวิถีจิตจะเป็นไปในทำนองใดครับ

ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาในคำตอบครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
Sam
วันที่ 20 พ.ค. 2552

ขอขอบพระคุณคำตอบในความคิดเห็นที่ 1 ครับ และขออนุญาตเรียนถามเพิ่มเติม จากคำตอบในความคิดเห็นที่ 1 "ชวนะวิถีของผู้ที่สติปัฏฐานเกิดเป็นมหากุศลญาณสัมปยุต" หมายถึงชวนะวิถีทางปัญจทวารหรือทางมโนทวาร หรือทั้งคู่ครับ ชวนะวิถีจิตเหล่านั้น มีสิ่งใดเป็นอารมณ์ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
choonj
วันที่ 20 พ.ค. 2552

ไม่ใช่วิทยากรนะครับ แต่จะขอออกความเห็นสักหน่อย ถ้ารูปดับก่อนเป็นโวฎฐัพพ-นะวาระ หรือโมฆวาระ จิตที่เกิดต่อไม่มีรูปนี้เป็นอารมณ์ ชวนทางปัญจทวารก็ไม่มีรูปนี้ เป็นอารมณ์ ทางมโนทวารก็ไม่น่าจะมีรูปนี้เป็นอารมณ์ คือรูปนี้เป็นอารมณ์ถึงโวฎฐัพพ-นะและโมฆะวาระเท่านั้น จึงเป็นโมฆะหมด ต่อจากนั้นไม่ใช่อารมณ์ของจิต จิตผู้ที่ไม่ได้เจริญสติปัฏฐานส่วนใหญ่จะเป็นอกุศล จิตผู้ที่เจริญสติปัฏฐานเป็นมหากุศลจิต จิตผู้ศึกษาธรรมจนมีสัญญาที่มั้นคงแต่สติปัฏฐานยังไม่เกิดก็ต่างกับจิตที่ไม่ได้ศึกษา เพราะเจตสิกที่เกิดร่วมด้วยต่างกัน ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 20 พ.ค. 2552
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 12415 ความคิดเห็นที่ 3 โดย Sam ขอขอบพระคุณคำตอบในความคิดเห็นที่ 1 ครับ และขออนุญาตเรียนถามเพิ่มเติม จากคำตอบในความคิดเห็นที่ 1 "ชวนะวิถีของผู้ที่สติปัฏฐานเกิดเป็นมหากุศลญาณสัมปยุต" หมายถึงชวนะวิถีทางปัญจทวารหรือทางมโนทวาร หรือทั้งคู่ครับ ชวนะวิถีจิตเหล่านั้น มีสิ่งใดเป็นอารมณ์ครับ

สติปัฏฐานเกิดได้ทั้ง ๖ ทวารค่ะ มีรูปที่ยังไม่ดับเป็นอารมณ์ทางปัญจทวาร แล้วทางมโนทวารรับอารมณ์นั้นต่อค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 20 พ.ค. 2552

อ้างอิงจาก : หัวข้อ 12415 ความคิดเห็นที่ 2 โดย ajarnkruo

ขอเรียนถามท่านวิทยากรเพิ่มเติมในประเด็นนี้นะครับ ได้ฟังมาว่า " ตามจิตตนิยามแล้ว วิถีจิตทางใจจะต้องรู้อารมณ์สืบต่อจากวิถีจิตทางปัญจทวารเสมอ ทันทีที่วิถีจิตทางปัญจทวารดับไปหมดแล้ว และมีภวังค์คั่น " แต่ว่าจากการศึกษาวาระของวิถีจิตทางปัญจทวาร ถ้าเป็นตทาลัมพณวาระ หรือชวนวาระตรงนี้ไม่สงสัยว่าจะต้องมีวิถีจิตทางมโนทวารรู้อารมณ์สืบต่อได้ แต่สำหรับโวฏฑัพพ-นวาระนั้น รูปดับไปเสียก่อน จึงไม่มีชวนจิตทางปัญจทวารเกิดเลย ถ้าชวนจิตทางปัญจทวารไม่เกิด วิถีจิตทางมโนทวารจะยังเกิดรู้รูปที่ดับไปได้หรือไม่ครับ และถ้าเป็นโมฆวาระที่มีเพียงรูปที่กระทบกับปสาท แต่วิถีจิตไม่เกิด มโนทวารวิถีจิตจะเป็นไปในทำนองใดครับ

ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาในคำตอบครับ

ก่อนอื่นจะต้องทราบว่า มโนทวารวิถีจิตวาระแรกที่เกิดต่อจากปัญจทวาร มีอารมณ์เดียวกันค่ะ ถ้ารูปดับไปก่อนที่ชวนวิถีจิตทางปัญจทวารจะเกิด มโนทวารวิถีจิตที่เกิดสืบต่อก็มีรูปนั้นเป็นอารมณ์ไม่ได้ค่ะ (-_-"

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
choonj
วันที่ 21 พ.ค. 2552

เพิ่มเติมจากที่ ๖ ถ้ารูปยังไม่ดับ ชวน เสพอารมณ์ซ้ำๆ ถึง ๗ ขณะ จึงสามารถเป็นอารมณ์ที่เด่นชัด ให้มโนทวารวาระแรกมีหรือเป็นปรมัตถอารมณ์ ต่อไปก็มีบัญญัติเป็นอารมณ์ เมื่อรูปดับก่อน มโนทวารก็ไม่มีรูปนี้เป็นอารมณ์ จึงมีแต่รูปที่ชวนเสพรูปแล้วเด่นชัดเป็นอารมณ์เท่านั้น

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
wannee.s
วันที่ 21 พ.ค. 2552

วิถีจิตเกิดเป็นปกติในชีวิตประจำ ไม่ว่าจะเป็นกุศล หรืออกุศล แต่ขณะที่สติปัฏฐานเกิด เป็นกุศลที่ประกอบด้วยปัญญา แทนที่จะเป็นอกุศลหรือกุศลที่ไม่ประกอบด้วยปัญญาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
Sam
วันที่ 21 พ.ค. 2552

อ้างอิงจาก : หัวข้อ 12415 ความคิดเห็นที่ 1 โดย prachern.s วิถีจิตไม่ต่างกันครับ แต่จิตต่างกัน คือ วิถีจิตย่อมเป็นไปตามจิตตนิยาม โดยปกติเมื่อวิถีจิตทางปัญจทวารดับไปแล้ว วิถีจิตทางมโนทวารย่อมเกิดต่อเป็นลำดับตามที่ท่านยกมา แต่ชวนวิถีของผู้ที่สติไม่เกิดเป็นอกุศล หรือกุศลญาณวิปปยุต ส่วนชวนะวิถีของผู้ที่สติปัฏฐานเกิดเป็นมหากุศลญาณสัมปยุตครับ

วิถีจิตทางปัญจทวารมีปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์ และเมื่อดับหมด แล้วจะมีภวังคจิตเกิดคั่นหลายขณะ แล้ววิถีจิตทางมโนทวารวาระแรกมีปรมัตถธรรม เดียวกันนั้นเป็นอารมณ์ ส่วนวิถีจิตทางมโนทวารวาระต่อๆ มา จะมีบัญญัติเป็นอารมณ์ โดยมีภวังคจิตหลายขณะเกิดคั่นวิถีจิตแต่ละวาระ เมื่อพิจารณาข้อความเหล่านี้ ดูเหมือนว่าบัญญัติจะเป็นอารมณ์ของมหากุศลญาณสัมปยุตจิตที่เป็นสติปัฏฐานได้

ขอความกรุณาอธิบายความละเอียดด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 21 พ.ค. 2552

ข้อความที่ท่านยกมาคงหมายถึง มโนทวารวิถีจิตโดยทั่วไปมังค่ะ เพราะถ้าเป็นสติ ปัฏฐาน ต้องมีปรมัตถธรรมเท่านั้นเป็นอารมณ์ ไม่ว่าจะเกิดทางทวารไหนก็ตามค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
พุทธรักษา
วันที่ 21 พ.ค. 2552

เป็นประเด็นธรรม ที่น่าสนใจมากค่ะเป็นความละเอียดของจิต ที่เข้าใจยากมาก สำหรับข้าพเจ้า ขออนุโมทนาท่านผู้ถาม และท่านผู้ตอบ สำหรับการสนทนาธรรม กำลังติดตามอ่านอยู่นะคะ เผื่อว่าจะเข้าใจขึ้นบ้าง

ขอขอบพระคุณและอนุโมทนาล่วงหน้าค่ะ.

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
choonj
วันที่ 22 พ.ค. 2552

ในขณะที่สติปัฏฐานเกิด มีปรมัตถ์เป็นอารมณ์ แล้วก็ต้องเกิดทางมโนทวาร หมายความว่าสติปัฏฐานมีกำลังระลึกวาระแรกที่เป็นปรมัตถ์ทางมโนทวาร เมื่อรูปทยอยกันเกิดและทยอยกันดับ วาระแรกที่เป็นปรมัตถ์ก็ทยอยกันเกิดและดับ สติปัฏฐานระลึก ตรงนี้จึงเป็นวิปัสสนา เห็นเกิดดับ ไม่รู้ใช่หรือไม่ ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 22 พ.ค. 2552

สติปัฏฐานเกิดได้ทั้ง ๖ ทวารค่ะ แต่วิปัสสนาญาณเกิดที่มโนทวารเท่านั้นค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
pornpaon
วันที่ 22 พ.ค. 2552

ขออนุโมทนากุศลจิต ทั้งท่านผู้ถามและท่านผู้ตอบทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
ธรณ์__ภควลีธร
วันที่ 22 พ.ค. 2552

จักขุทวารวิถีจิตทุกดวง คือ จักขุทวาราวัชชนจิต จักขุวิญญาณ สัมปฏิจฉันนจิต สันตีรณจิต โวฏฐัพพนจิต ชวนจิต ตทาลัมพนจิต รู้รูปารมณ์ที่ยังไม่ดับ จักขุทวารวิถีจิตจึงไม่มีบัญญัติเป็นอารมณ์

โสตทวารวิถีจิต คือ โสตทวาราวัชชนจิต โสตวิญญาณ สัมปฏิจฉันนจิต สันตีรณจิต-โวฏฐัพพนจิต ชวนจิต ตทาลัมพนจิต รู้เสียงที่ยังไม่ดับ โสตทวารวิถีจิตจึงไม่มีบัญญัติเป็นอารมณ์

ฆานทวารวิถีจิต ชิวหาทวารวิถี กายทวารวิถีจิต ก็โดยนัยเดียวกัน

เมื่อวิถีจิตทางปัญจทวาร (ทวารหนึ่งทวารใด) ดับหมดแล้ว ภวังคจิตเกิดคั่นหลายขณะแล้ว มโนทวารวิถีจิตก็เกิดสืบต่อ มโนทวารวิถีจิตวาระแรกมีอารมณ์หนึ่งอารมณ์ใดใน ๕อารมณ์ที่เพิ่งดับไปทางปัญจทวารนั่นเองเป็นอารมณ์ มโนทวารวิถีจิตวาระแรกที่เกิดต่อจากปัญจทวารวิถีจิตนั้น ยังไม่มีบีญญัติเป็นอารมณ์

วิถึจิต ดังกล่าว ไม่มีบัญญัติเป็นอารมณ์อยู่แล้ว เพียงแต่ว่า ปัญญาจะรู้ ตามความเป็นจริง หรือเปล่า

มโนทวารวิถีจิตวาระ ที่ 2 ต่อๆ มา จะเป็นบัญญัติ หรือ ปรมัตถ์ นั่นแหละ แสดงให้เห็นว่าสติปัฏฐาน มั่นคงจน รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง มีปรมัตถ์เป็นอารมณ์ตลอด เลยหรือ เปล่า

วิถีจิตเป็นไปอย่างนี้ หรือเปล่า

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
prachern.s
วันที่ 23 พ.ค. 2552

เรียนความเห็นที่ ๑๕ วิถีจิตของสติปัฏฐานไม่ใช่อย่างนั้นครับ ไม่ใช่มีปรมัตถ์ เป็นอารมณ์ตลอด แต่สติเกิดระลึกรู้สภาพธรรมในขณะนั้น คือ ชวนวิถี

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
choonj
วันที่ 25 พ.ค. 2552

ขอเพิ่มเติมอีก ที่กล่าวไว้และถามไว้ไน ๑๒ ได้สนทนากับสหายธรรมให้ความเห็นว่า ขณะที่มโนทวารวาระแรกเป็นปรมัตถ์ สัญญาอันมั่นคงจำอารมณ์นั้น จึงจะเป็นพื้นฐานของวิปัสสนา ต้องเข้าใจตรงนี้ก่อน ไม่ใช่รูปทยอยเกิดดับที่วาระแรกแล้วสติระลึกตรงนั้น ผมคิดว่าถ้าไม่มีใครไห้ความกระจ่างผมจะถาม อ. อาทิตย์หน้า ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 25 พ.ค. 2552

อ้างอิงจาก : หัวข้อ 12415 ความคิดเห็นที่ 16 โดย prachern.s

เรียนความเห็นที่ ๑๕ วิถีจิตของสติปัฏฐานไม่ใช่อย่างนั้นครับ ไม่ใช่มีปรมัตถ์ เป็นอารมณ์ตลอด แต่สติเกิดระลึกรู้สภาพธรรมในขณะนั้น คือ ชวนวิถี..

เห็นด้วยค่ะว่า สติปัฎฐานเกิดที่ชวนวิถีจิตเท่านั้น แต่วิถีจิตอื่นๆ ก็มีปรมัตถ์เป็นอารมณ์ไม่ใช่เหรอค่ะ (สำหรับปัญจทวาร) เพียงแต่เป็นจิตชาติวิบาก ที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์ที่มากระทบกับปสาทรูป ๕ รูปใดรูปหนึ่ง คิดว่า คห ๑๕ คงหมายถึงอย่างนี้ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
Sam
วันที่ 25 พ.ค. 2552

ผมขออนุญาตสรุปความเข้าใจที่ได้รับจากการสนทนาและจากการที่ได้ไปค้น

คว้าเพิ่มเติมดังนี้ครับ

๑. วิถีจิตของผู้ที่สติปัฏฐานเกิด (ไม่ถึงวิปัสนาญาณ) ย่อมเป็นไปตามจิตนิยาม หรืออีกนัยหนึ่งก็คือไม่มีอะไรผิดปกติไปจากวิถีจิตของคนที่ไม่ได้เจริญสติปัฏฐาน ซึ่งมี การรู้ปรมัตถธรรมและบัญญัติธรรมตามปกติ แต่ที่แตกต่างกันคือชวนะวิถีจิตจะเป็น มหากุศลญาณสัมปยุตจิต หรือมหากุศลจิตที่ประกอบด้วยปัญญา

๒. ในมโนทวารวิถีจิตวาระที่มีบัญญัติเป็นอารมณ์ ชวนะวิถีจิตของผู้ที่สติ- ปัฏฐานเกิดก็เป็นมหากุศลญาณสัมปยุตจิต คือกุศลจิตอันประกอบด้วยปัญญาเกิดขึ้นมี บัญญัติเป็นอารมณ์ แต่ไม่ควรเรียกวิถีจิตเหล่านั้นว่าเป็นสติปัฏฐาน โดยพิจารณา ความหมายของสติปัฏฐานจากข้อความในหนังสือปรมัตถธรรมสังเขป (ฉบับไฟล์ pdf หน้า 172 - 173)

คำว่า สติปัฏฐาน มี ๓ ความหมาย คือ

๑. สติปัฏฐาน เป็นปรมัตถอารมณ์ คือรูปธรรมและนามธรรมที่สติระลึกรู้ (สติปัฏฐาน ๔)

๒. สติปัฏฐาน เป็นสติเจตสิกที่เกิดกับกามาวจรณาณสัมปยุตจิตซึ่งระลึกรู้อารมณ์ที่เป็นสติปัฏฐาน

๓. สติปัฏฐาน เป็นหนทางที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอริยสาวกดำเนินไปแล้ว

๓. ผู้เจริญสติปัฏฐาน ย่อมดำเนินชีวิตไปตามปกติ ซึ่งมีวิถีจิตทางทวารต่างๆ เกิดขึ้นรู้อารมณ์ทั้งที่เป็นปรมัต และบัญญัติไม่ต่างไปจากบุคลอื่น แต่กุศลจิตที่ ประกอบด้วยปัญญาเป็นสภาพธรรมที่ประเสริฐ (ไม่ว่าจะมีปรมัตหรือบัญญัติเป็นอารมณ์) เพราะเป็นปัจจัยนำไปสู่การดับทุกข์ และไม่จำเป็นต้องเรียกสภาพธรรมเหล่านั้นว่าสติปัฏฐานหรืออะไรเลย

หากมีความเห็นผิดประการใด เชิญท่านผู้รู้ตักเตือนครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 20  
 
ajarnkruo
วันที่ 25 พ.ค. 2552
สติสัมปชัญญะ ที่เป็นสติปัฏฐาน มีปรมัตถธรรมเท่านั้นเป็นอารมณ์ แต่จะเกิดวาระไหนทางทวารใด ไม่อยู่ในวิสัยของเราที่จะรู้ได้ด้วยปัญญาขั้นฟังในขณะนี้ครับ สติฯ ไม่ได้เกิดตลอด แต่ขณะที่เกิด ถ้าเป็นสติที่ระลึกลักษณะของสภาพธรรม จะต้องมีปรมัตถ-ธรรมเป็นอารมณ์แน่นอน แต่อย่างไรก็ตาม ประโยชน์ของการเข้าใจพระธรรมจริงๆ ไม่ใช่เพียงแต่การมุ่งไปเข้าใจชื่อและเรื่องราวของธรรมเท่านั้น แต่จะต้องค่อยๆ เข้าใจขึ้นว่าสิ่งที่กำลังปรากฏในขณะนี้ แม้ไม่เรียก ก็มีจริง เพราะมีลักษณะปรากฏให้ศึกษาได้จริงและก็เป็นธรรมะ เป็นอนัตตา ไม่ใช่เรา ด้วย นี่จึงจะเป็นหนทางของการอบรมเจริญสติปัฏฐานที่ถูกต้อง ที่แม้จะไม่ใช่ชื่อว่า "สติปัฏฐาน" แต่สภาพจริงๆ ที่เกิดแล้วระลึกได้ถูกต้องในสภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนั้น ก็เป็นสติปัฏฐานแล้ว
 
  ความคิดเห็นที่ 21  
 
พุทธรักษา
วันที่ 26 พ.ค. 2552

ขอขอบพระคุณ และ ขออนุโมทนาค่ะ.

 
  ความคิดเห็นที่ 22  
 
พุทธรักษา
วันที่ 26 พ.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ