มหาภูตเปรียบเหมือนนางยักษิณี
[เล่มที่ 76] พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 184
ภายในหรือภายนอกของกันและกันก็หาไม่ได้ และมิใช่มหาภูตรูปเหล่านั้นจะไม่อาศัยซึ่งกันและกันอยู่ก็หาไม่ เพราะฉะนั้น รูปเหล่านั้น จึงชื่อมหาภูตะ เพราะเป็นเช่นกับมหาภูต * มียักษ์ผู้ชายเป็นต้น เพราะความเป็นฐานะที่ใครๆ ไม่พึงคิด.
อนึ่งมหาภูตคือนางยักษิณีปกปิดความที่มันเป็นปีศาจน่ากลัวจึงล่อลวงสัตว์ทั้งหลายโดยให้สีสรรค์ทรวดทรงและการเยื้องกรายอันน่าชื่นใจ ฉันใด มหาภูตะแม้เหล่านั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน ปกปิดลักษณะอันเป็นสภาวะของตนอันต่างโดยความเป็นของแข็งเป็นต้น ของตนไว้โดยผิวพรรณอันน่าชื่นใจ ด้วยทรวดทรงแห่งอวัยวะน้อยใหญ่อันน่าชื่นใจ ด้วยการกรีดกรายมือ เท้า นิ้วมือ และยักคิ้วอันน่าชื่นใจในร่างกายหญิงชายเป็นต้น ย่อมล่อลวงคนเขลา ย่อมไม่ให้เห็นสภาวะของตน เพราะฉะนั้น รูปจึงชื่อว่า มหาภูตะ เพราะมันเหมือนมหาภูต (มหาปีศาจ) คือ นางยักษิณี เพราะทำความล่อลวง ด้วยประการฉะนี้.