เห็นคลาดเคลื่อนโดยถือเอาผิด [มิจฺฉาทิฏฺฐิ]

 
เมตตา
วันที่  24 พ.ค. 2552
หมายเลข  12454
อ่าน  1,306
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 5

คำว่า มิจฺฉาทิฏฺฐิ ได้แก่ ความเห็นไม่มีตามความเป็นจริง อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ เพราะอรรถว่า เห็นคลาดเคลื่อนโดยถือเอาผิด.ชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ เพราะอรรถว่า เป็นทิฏฐิอันบัณฑิตเกลียด เพราะนำมาแต่ความฉิบหายบ้าง. แม้ในมิจฉาสังกัปปะเป็นต้นก็นัยนี้แหละ. อีกอย่างหนึ่งชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ เพราะอรรถว่า เป็นเหตุให้คนเห็นผิด หรือเห็นผิดเองหรือทิฏฐินี้ เพียงเห็นผิดเท่านั้น. มิจฉาทิฏฐินั้นมีการยึดถือมั่นโดยอุบายไม่แยบคายเป็นลักษณะ (อโย-นิโส อภินิเวส ลกฺขณา) มีความยึดมั่นผิดสภาวะเป็นรส (ปรามาสรสา) มีความยึดถือผิดเป็นปัจจุปัฏฐาน (มิจฺฉาภินิเวสนปจฺจุฏฺฐานา) มีความไม่ต้องการเห็นพระอริยะทั้งหลายเป็นต้นเป็นปทัฏฐาน (อริยานํ อทสฺสน-กามตาทิปทฏฺฐานา) พึงเห็นว่าเป็นโทษอย่างยิ่ง. [๒๙๑] มิจฉาทิฏฐิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สัญโญชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ การถือโดยวิปลาสในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่ามิจฉาทิฏฐิ มีในสมัยนั้น.

ทิฏฐิวิบัติ เป็นไฉน ?
ความเห็นว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล การบูชาไม่มีผล การบวงสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกอื่นไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี สัตว์ที่จุติและอุบัติไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบไม่มีในโลก สมณพราหมณ์ที่ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกอื่นด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ได้ไม่มีในโลก ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯการถือโดยวิปลาสมีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า ทิฏฐิวิบัติ มิจฉาทิฏฐิแม้ทั้งหมด จัดเป็น ทิฏฐิวิบัติ.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
เมตตา
วันที่ 24 พ.ค. 2552
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 20

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งมิจฉาทิฏฐิต่อไป. สภาวะที่ชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ ด้วยอรรถว่า เห็นตามความไม่เป็นจริง.ที่ชื่อว่า ทิฏฐิคตะ (ความเห็นไปข้างทิฏฐิ) เพราะอรรถว่า ความเห็นนี้เป็นไปในทิฏฐิทั้งหลาย เพราะเป็นสภาวะหยั่งลงภายในทิฏฐิ ๖๒. เนื้อความแห่งทิฏฐิแม้นี้ ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในหลังนั่นแหละ. ทิฏฐินั่นแหละ ชื่อว่าทิฏฐิคหณะ (ป่าชัฏคือทิฏฐิ) เพราะอรรถว่า ก้าวล่วงไปโดยยาก เหมือนชัฏ

หญ้าชัฏป่า ชัฏภูเขา. ทิฏฐินั่นแหละ ชื่อว่า ทิฏฐิกันดาร (กันดารคือทิฏฐิ)

ด้วยอรรถว่า น่าระแวง และมีภัยเฉพาะหน้า เหมือนกันดารโจร กันดารสัตว์

ร้าย กันดารทราย กันดารน้ำ กันดารทุพภิกขภัย. ที่ชื่อว่า ทิฏฐิวิสูกายิกะ

(ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ) ด้วยอรรถว่าขัดแย้ง และทวนกันสัมมา-

ทิฏฐิ. จริงอยู่ ความเห็นผิดเมื่อเกิดย่อมขัดแย้ง และทวนสัมมาทิฏฐิไป ที่ชื่อ

ว่า ทิฏฐิวิปผันทิตะ (ความผันแปรแห่งทิฏฐิ) เพราะอรรถว่า ผันแปรผิดรูป

แห่งทิฏฐิเพราะบางคราวก็ถือเอา ความเที่ยง บางคราวก็ถือเอาความขาดสูญ

เพราะว่าคนผู้มีความเห็นผิดย่อมไม่อาจตั้งอยู่ในสิ่งเดียว คือบางคราวก็คล้อย

ตามความเที่ยง บางคราวก็คล้อยตามความขาดสูญ. ทิฏฐินั่นแหละ ชื่อว่า

สัญโญชน์ด้วยอรรถว่าเป็นเครื่องผูก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทิฏฐิสัญโญชน์.

ที่ชื่อว่าคาหะ (ความยึดถือ) เพราะอรรถว่า ย่อมยึดอารมณ์ไว้มั่น เหมือนสัตว์

ร้ายมีจระเข้เป็นต้น เอาปากงับคนไว้มั่นฉะนั้น. ที่ชื่อว่า ปติฏฐวาหะ * (ความ

ตั้งมั่น) เพราะตั้งไว้โดยเฉพาะ จริงอยู่ ความตั้งมั่นนี้ ตั้งมั่นแล้วยึดไว้โดย

ความเป็นไปอย่างมีกำลัง. ที่ชื่อว่า อภินิเวสะ (ความยึดมั่น) เพราะอรรถว่า

ย่อมตั้งมั่นโดยความเป็นของเที่ยงเป็นต้น ที่ชื่อว่า ปรามาสะ (ความถือผิด)

เพราะอรรถว่า ก้าวล่วงสภาวธรรมแล้ว ถือเอาโดยประการอื่นด้วยอำนาจแห่ง

ความเที่ยงเป็นต้น. ที่ชื่อว่า กุมมัคคะ (ทางชั่ว) เพราะอรรถว่า เป็นทางอัน

บัณฑิตเกลียด เพราะเป็นทางนำความพินาศมาให้ หรือเป็นทางแห่งอบายทั้ง

หลายที่บัณฑิตเกลียด. ที่ชื่อว่า มิจฉาปถะ (ทางผิด) เพราะเป็นทางตาม

ความไม่เป็นจริงที่ชื่อว่า มิจฉัตตะ (ภาวะที่ผิด) เพราะเป็นสภาพผิดเหมือนกัน.

เหมือนอย่างว่า ชนผู้หลงทิศ แม้ยึดถือว่า ทางนี้ชื่อทางของบ้านโน้นดังนี้

ก็ไม่ยังบุคคลนั้นให้ถึงบ้านได้ ฉันใด บุคคลผู้มิจฉาทิฏฐิ แม้ยึดถือว่าทางนี้

เป็นไปสู่สุคติ ดังนี้ ก็ไม่สามารถถึงสุคติได้ ฉันนั้น. ชื่อว่า ทางผิดเพราะ

เป็นทางตามความไม่เป็นจริง ทางนี้ ชื่อว่ามิจฉัตตะ เพราะมีสภาพผิด.ที่ชื่อ

ว่า ติตถะ (สัทธิเป็นดังท่า) เพราะเป็นที่ๆ พวกคนพาลข้ามไป โดยการหมุนไป

มาในที่นั้นนั้นแหละ ติตถะ (คือลัทธิ) นั้นด้วย เป็นอายตนะ (บ่อเกิด) แห่ง

ความฉิบหายด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ติตถายตนะ (ลัทธิเป็นบ่อเกิด

แห่งความพินาศ) . อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ติตถายตนะ เพราะ อรรถว่าเป็น

อายตนะด้วยความหมายเป็นส่วนสัญชาติ และด้วยความหมายว่าเป็นที่อาศัย

ของพวกเดียรถีย์บ้าง. ที่ชื่อว่า วิปริเยสัคคาหะ (การถือโดยวิปลาส) เพราะ

อรรถว่า เป็นการถือสภาวะที่ใคร่ครวญผิด หรือว่า เป็นการถือสภาวะโดย

ตรงกันข้าม อธิบายว่า ถือเอาคลาคเคลื่อน.

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
suwit02
วันที่ 25 พ.ค. 2552

สาธุ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ