ท่านผู้ฟังถามว่า...พระอริยบุคคลรู้บัญญัติเหมือนปุถุชนหรือ?

 
พุทธรักษา
วันที่  27 พ.ค. 2552
หมายเลข  12503
อ่าน  1,138

ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ข้อความบางตอนจาก เทปวิทยุแผ่นที่ ๑๔ ครั้งที่ ๘๐๙-๘๑๐ (๑๗.๔๕/๒๒.๐๕)

บรรยายโดย อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์

ท่านผู้ฟัง ผู้ที่เจริญวิปัสสนากรรมฐาน จะต้องกำหนดเห็นในรูป ในนาม อย่างเดียว ไม่รู้ ถึง บัญญัติ แต่ผมอยากทราบ ว่า ผู้ที่เจริญวิปัสสนา จนถึงความเป็น พระอริยบุคคล แล้วนั้น ท่านมีกิจที่จะรู้สิ่งที่เป็น "สมมติบัญญัติ"เหมือนกับปุถุชน คนธรรมดา ด้วยหรือเปล่า

ท่านอาจารย์ แน่นอนค่ะ ตามเหตุ ตามปัจจัย เพราะเหตุว่า หลังจาก "วิถีจิตทางตา" คือ "จักขุทวารวิถีจิต" .. "เห็น" เฉพาะ "สิ่งที่ปรากฏทางตา" ดับไปแล้ว (ก่อนที่มโนทวารวิถีจิตจะเกิด) จิต เป็น ภวังค์และ หลังจากที่ ภวังคจิต หลายขณะทีเดียว ดับไปแล้ว"การเห็นที่ผ่านไปแล้ว" นั้นเอง เป็น "ปัจจัย" ทำให้ "มโนทวารวิถีจิต" รับรู้ "อารมณ์ที่ปัญญจทวารวิถีจิตรับไว้แล้ว"อีกหลายวิถีจิต (ที่เกิดต่อ) แล้วจึงจะรู้ คือ "จำ" และ "ตรึก" ถึง "ลักษณะ" ของสภาพธรรม ที่ปรากฏนั้นแล้วก็ รู้ ว่า "สิ่งนั้น" เป็น อะไร แต่ ไม่ได้ "ยึดถือ" ว่า สิ่งนั้น เป็นคน เป็นสัตว์ เป็นอะไร และ รู้ ด้วย ว่า "การตรึก" คือ นึกถึง รูปร่างสัณฐาน ในสิ่งนั้น ว่า เป็นอะไร นั้นก็เป็นแต่เพียง "นามธรรมชนิดหนึ่ง" ซึ่ง ไม่ใช่ ตัวตน "ขณะ" ที่ รู้ อย่างนั้น เป็น "การเกิดดับ สืบต่อกัน ของสภาพธรรม ตามปกติ"

หลังจาก "เห็น" แล้ว จะมีการรับรู้ "อารมณ์นั้น" ทางใจ คือ ทางมโนทวาร (เกิด) ต่อ หลายวิถี (จิต) และ หลังจาก ได้ยิน "เสียง" แล้ว ก็จะมี "มโนทวารวิถีจิต" เกิดขึ้นแล้วก็ รู้ "อรรถ" คือ "ความหมายของเสียงนั้น" แล้วก็ รู้ ความหมายของเสียงนั้น ด้วยแต่ รู้ว่า สภาพธรรมที่ปรากฏนั้น ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตนเป็นแต่เพียง "สภาพ ของ นามธรรม" ซึ่ง เป็น "สภาพรู้สิ่งที่ปรากฏ" ที่จะไม่ทราบ "บัญญัติ" เป็นไปไม่ได้เลย

... ขออนุโมทนา ...



  ความคิดเห็นที่ 1  
 
suwit02
วันที่ 28 พ.ค. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 28 พ.ค. 2552
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
Sam
วันที่ 28 พ.ค. 2552

พระอริยบุคคล รู้ชัดความต่างกันระหว่างปรมัตกับบัญญัติ เพราะได้ประจักษ์แจ้งลักษณะของปรมัตถธรรมแล้ว ส่วนปุถุชนยังไม่รู้ความต่างนี้ จึงยึดถือบัญญัติว่าเป็นความจริง อันนำมาซึ่งความทุกข์โดยมาก (เพราะเรามีบัญญัติเป็นอารมณ์เป็นส่วนมาก)

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ajarnkruo
วันที่ 28 พ.ค. 2552

รู้บัญญัติเหมือนกันแต่รู้ด้วยจิตที่ต่างประเภทกัน (กุศล/อกุศล หรือ กิริยาจิต) รู้บัญญัติเหมือนกันแต่ต่างกันที่มี หรือ ไม่มีความยึดมั่นในบัญญัตินั้นรู้บัญญัติเหมือนกันแต่ต่างกันตรงระดับของปัญญาที่รู้ความจริงโดยเท่าทัน

... ขออนุโมทนาครับ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
สุภาพร
วันที่ 29 พ.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Komsan
วันที่ 17 ม.ค. 2553

ขอขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chatchai.k
วันที่ 18 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ