ชีวิตนี้..กำลังแตกดับอยู่ทุกขณะ !

 
พุทธรักษา
วันที่  29 พ.ค. 2552
หมายเลข  12517
อ่าน  956

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สนทนาธรรมที่เขาเต่า ๑ - ๔ สิงหาคม ๒๕๓๗

ท่านผู้ฟัง อาจารย์บอกว่า รอบๆ ตัวเรานี้ เป็นธรรมะ ทั้งนั้นเลย

ท่านอาจารย์ สภาพธรรมทุกอย่าง ไม่เว้นเลย เราได้ยิน "เรื่องเห็น เรื่องได้ยิน เรื่องกรรม เรื่องกิเลส" เรื่อง อะไรๆ ก็ ตามแต่ ต้อง "เข้าใจ" จริงๆ ว่า"สภาพธรรมจริงๆ " ไม่ได้อยู่ในตำราแต่ อยู่ใน ชีวิตประจำวันของเรา นั้เอง

ถ้าเป็น "วิบาก" เป็น ผลของกรรม ก็คือ "ขณะนี้" ทางกาย กำลังกระทบ ทางหู กำลังได้ยิน หลังจากนั้น เป็น "กิเลส" แต่ เรา ไม่รู้ เลย เพราะว่า เรามีความเข้าใจ ขั้นการฟัง

การเห็น ขณะนี้ ไม่ใช่เห็นเปล่าๆ เพราะหลังจากเห็นแล้ว มีคิดนึกต่อ "ขณะที่คิดนึก" เราก็รู้ด้วย ว่า "คิดนึกเป็นกุศล" ก็อย่างหนึ่ง "คิดนึกเป็นอกุศล" ก็อีกอย่างหนึ่ง

นามธรรม และ รูปธรรม ที่ปรากฏ ในชีวิตประจำวัน มีมากมาย หลายประเภท เพราะฉะนั้นจึงต้องค่อยๆ ระลึก จริงๆ จนกว่า จะ ทั่ว ขณะที่กำลังระลึก เป็น สภาพนามธรรม ที่ระลึกและ เข้าใจ "ลักษณะ" ที่ระลึก ว่า ไม่ใช่เรา

ไม่ใช่เรา เพราะเป็นเพียง "นามธรรมประเภทหนึ่ง" ซึ่ง เป็น "ความคิดนึก" ขณะที่คิด ก็คือ ขณะที่คิดคิด คือ การรู้คำไม่ใช่ได้ยิน ไม่ใช่เห็น ขณะที่เห็น ก็คือ ขณะที่เห็น แม้ว่า ดูเสมือน ว่า ง่ายๆ อย่างนี้แต่จะต้องรู้ด้วย ว่า ไม่ใช่ตัวตน ถ้าจะว่าโดยนัยของ "ขันธ์ ๕" ก็คือ "วิญญาณขันธ์" ซึ่ง ก็คือ "จิต"
.
"วิญญาณขันธ์" ซึ่งต้องประกอบด้วย "สังขารขันธ์" (เจตสิก ๕๐ ประเภท เว้น สัญญาเจตสิก และ เวทนาเจตสิก)

นอกจาก "รูปขันธ์" ซึ่ง เป็น "รูปธรรม" ทีไม่ใช่ สภาพรู้

ขันธ์ทั้ง ๔ ที่เหลือ นั้นคือ "นามธรรม" ซึ่งเป็น สภาพรู้

ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์.

นามธรรมทั้ง ๔ นี้ จะไม่แยกจากกันเลย

ถ้าจะพูดถึง "กรรม" ซึ่งเป็น "สภาพที่กระทำ" หมายความถึง "ลักษณะที่จงใจที่จะกระทำ" กรรม คือ เจตนาเจตสิก ที่เกิดกับจิต หมายความว่า จิตเกิดขึ้น ทำกิจของจิต คือ เป็นใหญ่ เป็นประธานในการรู้อารมณ์หนึ่ง อารมณ์ใด

ส่วน เจตสิก แต่ละประเภท ที่เกิดร่วมด้วยกับจิต ก็ทำกิจ เฉพาะ ของตนๆ และถ้าจะกล่าวเน้นลงไปกรรม ที่จะให้ผล นั้นจะต้องมุ่งหมาย ถึง เจตนาเจตสิก

ถ้าจะกล่าวโดยนัยของ เจตนาในวิบากจิต ซึ่งเป็น ผล (ไม่ใช่ เจตนาที่เป็นเหตุ คือ กุศลเจตนา และ อกุศลเจตนา) จะต้องกล่าวโดยนัย คือ ชาติของจิต (ชาติวิบาก ชาติกุศล ชาติอกุศล ชาติกิริยา)

เจตนา ที่เป็น วิบาก ก็มี (เป็นผลของกรรม) เจตนา ที่เป็น กุศล ก็มี (เป็นเหตุของกรรม) เจตนา ที่เป็น อกุศล ก็มี (เป็นเหตุของกรรม) เจตนา ที่เป็น กิริยา ก็มี (เจตนาที่เป็นกิริยา ไม่เป็นผลของกรรม และ ไม่เป็นเหตุของกรรม)

นามธรรม คือ สภาพรู้ แต่ละประเภทๆ ทำกิจ เฉพาะตนๆ เท่านั้น เช่น ทำกิจ ของวิบาก ทำกิจ ของกิริยา ทำกิจ ของกุศล ทำกิจ ของอกุศล สภาพธรรม ต้องกิดขึ้น ทำกิจการงาน "ขณะนี้" ก็กำลังทำกิจการงานของตนๆ อยู่

สภาพธรรม จึงเป็น อนัตตาเพราะเป็น นามธรรม และ รูปธรรม ไม่ใช่ เรา ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน และ เป็นปกติ เป็นธรรมดา ตามความเป็นจริง

แต่ ถ้า มี "ความเป็นเรา"เข้ามาเกี่ยวข้อง เมื่อไหร่ก็ไม่ ธรรมดา เช่น เวลาที่คนอื่นล้มตาย เราไม่เดือดร้อน เพราะ "ตัวเรา" ไม่ได้เกี่ยวข้องแต่ถ้ามาเกี่ยวข้องกับ "ตัวเรา" ก็ไม่ ธรรมดา เพราะเกิดความติดข้องบ้าง เกิดความไม่พอใจบ้าง ฯลฯ เพราะ "ความเป็นเรา"

นี่คือ "หนทาง"ที่จะ รู้ "ลักษณะ" ของ นามธรรม เพราะ สภาพของ "รูปธรรม" นั้นหากมีการพิจารณาจริงๆ แล้ว "รูปธรรม"ทั้งหมด ไม่ใช่ "สภาพรู้" เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเป็น "รูปที่กาย" หรือ "รูปที่อื่น"รูปที่ไหนๆ ก็ไม่รู้อะไร ทั้งสิ้น

เมื่อมี "ความเข้าใจ" อย่างนี้ก็สามารถที่จะแยก "ลักษณะ" ที่เป็นนามธรรม และ รูปธรรม" ได้ ตลอดชีวิตตั้งแต่เกิด จนตาย ในชาติหนึ่งๆ เป็นนามธรรม และ รูปธรรม ทั้งหมดเลย (ในภูมิที่มีขันธ์ ๕) เป็น นามธรรม และ รูปธรรมที่กำลังเกิดดับ สืบต่อ อย่างรวดเร็วเป็น "ธาตุ" ซึ่งไม่มีใครสามารถไปดับได้เพราะมี "ปัจจัย" ก็ต้องเกิด

เปรียบเหมือนกับ การจุดไม้ขีดไฟเมื่อมี "ปัจจัย" คือ ไม้ขีด กับ ข้างกล่องไม้ขีด ซึ่ง กระทบกันเมื่อไหร๋ไฟ ก็ต้องเกิด ฉันใด ก็ ฉันนั้น เพราะฉะนั้นขณะที่เกิดการเห็น ไม่มีการเตรียม หมายความว่าเมื่อ "จักขุวิญญาณจิต" เกิด ก็ไม่ต้องไปรอที่ไหนเลย เพียงแต่อาศัย "ปัจจัย" คือ จักขุปสาทรูป ซึ่ง กรรมทำให้เกิด โดย "กัมมปัจจัย" หมายถึง รูป ที่กระทบ แล้วยังไม่ดับ เท่านั้น.

เพราะฉะนั้นชีวิตนี้ กำลังแตกดับอยู่ทุกขณะ เกิดแล้ว ตามเหตุ ตามปัจจัยแล้วดับไปทันที ไม่เหลือเลย ความเป็นเรา จึงไม่มี แต่มี "สัญญา" คือ "ความทรงจำ" ซึ่งประกอบด้วย "ความเห็นผิด" คือ "สักกายทิฏฐิ"

"สักกายทิฏฐิ" ที่ไปจำไว้ ว่า เป็นตัวเป็นตน แล้วก็จำได้ แต่ชาตินี้ ชาติเดียว เท่านั้น ชาติก่อน ก็ลืมหมดแล้วชาตินี้ ก็จำได้ เพียงชาตินี้ ชาติหน้า ก็ลืมชาตินี้หมด ต้องไป "ติดข้อง" ใหม่ในความเป็น บุคคลใหม่ ในชาติหน้า ต่อไป




(ขอขอบพระคุณ ท่านผู้เอื้อเฟื้อรูปภาพค่ะ)

ขออนุโมทนา


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
พุทธรักษา
วันที่ 29 พ.ค. 2552

ถ้าจะกล่าวโดยนัยของ เจตนาในวิบากจิต ซึ่งเป็นผลจะต้องกล่าวโดยนัย คือ ชาติของจิต เจตนา ที่เป็น วิบาก ก็มีเจตนา ที่เป็น กุศล ก็มีเจตนา ที่เป็น อกุศล ก็มีขอเรียนถามว่า เจตนา ที่เป็น ชาติกิริยา มีไหมคะ (เพราะต้นฉบับ ไม่ได้เขียนไว้น่ะค่ะ)

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
prachern.s
วันที่ 29 พ.ค. 2552

เจตนาที่เป็นชาติกิริยาก็มีครับ เพราะเจตนาเกิดกับจิตทั้ง ๔ ชาติ

อนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
พุทธรักษา
วันที่ 29 พ.ค. 2552

ขอบพระคุณ และ อนุโมทนา ค่ะ.

ขออนุญาตแก้ไข ข้อความข้างต้น ดังกล่าว...ให้ถูกต้อง นะคะ.


 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ajarnkruo
วันที่ 29 พ.ค. 2552

สำหรับผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์ มีเจตนาเจตสิกที่เกิดกับกิริยาจิตเพียง ๒ ดวง คือ เกิดกับปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ ดวง และ เกิดกับมโนทวาราวัชชนจิต ๑ ดวง ถ้าสำหรับพระอรหันต์ ก็จะมีเจตนาเจตสิกเกิดกับกิริยาจิตมากกว่า ๒ ดวงที่กล่าวข้างต้นครับ แต่ในขณะนี้

ที่สำคัญจริงๆ คือ เจตนาเจตสิกที่เกิดกับกุศลจิต และ เจตนาเจตสิกที่เกิดกับอกุศลจิตครับ เพราะว่าเป็นกรรม ที่เมื่อได้กระทำแล้ว ก็จะสะสมไว้ รอจนกว่าถึงเวลาที่พร้อมจะให้ผล ก็จะสามารถนำมาซึ่งผลของกรรมที่ดีหรือไม่ดีได้ตามควรแก่เหตุ เป็นสิ่งที่ถ้าได้ศึกษาให้เข้าใจจริงๆ ก็จะช่วยให้เราเป็นผู้ไม่ประมาท และช่วยเกื้อกูลให้เจริญกุศลทุกประการเพิ่มขึ้น ความเข้าใจเรื่องกรรมและผลของกรรม จะทำให้เราเป็นผู้ตรง มีความมั่นคงในเหตุและผล มีความเห็นถูกในกรรมและผลของกรรมตามเป็นจริงกุศลให้ผลดี อกุศลให้ผลไม่ดี ช่วยให้เราไม่เป็นผู้ที่หลงเชื่อมงคลตื่นข่าว ไม่ทำให้เราคลอนแคลนไปกับสิ่งที่ไม่ตรงกับพระธรรมคำสอน ส่วนเจตนาเจตสิกที่เกิดกับกุศลวิบาก / อกุศลวิบาก เป็นชาติวิบาก เป็นผลของกรรม ไม่ใช่เหตุที่จะนำมาซึ่งผลอีกครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
choonj
วันที่ 29 พ.ค. 2552

ในขณะที่ เห็นได้ยินได้กลิ่น ฯลฯ เป็นผลของกรรม เพราะฉะนั้น เมื่ออกุศลกรรมให้ผล ก็จะหลีกเลียงไม่ได้ ที่นี้ถ้ากรรมให้ผลให้อยู่ในสถานที่อโคจร ชึ่งมีอยู่ทุกวันเช่นโรงหนัง สถานบันเทิง สถานที่การพนัน ฯลฯ ก็จะหลีกเลียงไม่ได้ ที่จะเห็นได้ยินได้กลิ่น ฯลฯ ของสิ่งเหล่านี้ ที่นี้ถ้ากรรมให้ผลอีก ก็จะต้องเพลิดเพลินอยู่กับสิ่งนี้อีก เพราะสังสมไว้แยะ หลีกเลียงไม่ได้ แล้วจะยังไงดี ครับ สั่งสมต่อไปทุกวันก็ยังเป็นยังงี้ไปตามกรรมหรือ ครับ พระสูตรสอนว่าต้องชนะใจตนเอง คือรู้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
suwit02
วันที่ 29 พ.ค. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
aiatien
วันที่ 29 พ.ค. 2552
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
พุทธรักษา
วันที่ 29 พ.ค. 2552

เรียนความเห็นที่ 5 ค่ะหลังจากวิบากเกิดแล้ว ที่สำคัญกว่านั้น คือ จิตเป็น กุศล หรือเป็น อกุศลค่ะ ถ้าเป็นผู้มีปกติอบรมเจริญสติปัฏฐานย่อมรู้ความต่าง และ ค่อยๆ เห็นโทษของอุศลจิตเห็นคุณของกุศลจิต ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
Sam
วันที่ 1 มิ.ย. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 1 มิ.ย. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
choonj
วันที่ 4 มิ.ย. 2552

เรียนความเห็นที่ 8 ครับ

เพิ่งเป็ดเว็บวันนี้เลยตอบช้าไปหน่อย จริงตามความเห็นนั้นแหละครับ แต่ส่วนใหญ่ก็จะเป็นอกุศลครับ หรืออาจเป็นเพราะกรรมบังคับไว้ ก็เป็นปรกติอบรมเจริญสติปัฎฐานอยู่ แต่ขณะนั้นไม่เกิดครับ ก็อีกนั้นแหละ อาจเป็นเพราะกรรมบังคับไว้และบวกกิเลสด้วย ผมนะมีปัญหาตรงนี้ ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
พุทธรักษา
วันที่ 4 มิ.ย. 2552

เรียน ความเห็นที่ 11

เข้าใจว่า กรรม ไม่ได้บังคับพระผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้ ว่าสภาพธรรมทุกอย่าง เป็นไป ตามเหตุ ตามปัจจัย ไม่มีอะไรบังคับ บงการในสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็น กรรม กิเลส วิบากล้วนแต่ เป็นไป เพราะ "เหตุ ปัจจัย" ทั้งสิ้น เข้าใจ ว่าถ้าความเข้าใจพระธรรม ค่อยๆ เพิ่มขึ้น ปัญหา ก็ ค่อยๆ น้อยลงและ ค่อยๆ เดือดร้อน น้อยลงๆ การสะสม อบรม ปัญญา (ความเข้าใจ) คือ การฟังพระธรรมจนกว่าจะเป็น ความเข้าใจจริงๆ ว่ามีแต่ สภาพธรรม ดีบ้าง ชั่วบ้าง ฯ นั้น ไม่ใช่เรา นี้ คือ"เหตุปัจจัย" ที่ เราๆ ปุถุชน คนธรรมดา (รวมทั้งข้าพเจ้าด้วย) ที่ล้วนแต่ได้สะสม อกุศลธรรมมาแล้ว คนละมากๆ ควรจะ สะสม "เหตุปัจจัย" อันนี้ กันต่อไปเท่าที่ "เหตุปัจจัย" จะอำนวย เวลาเหลือน้อยแล้ว

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
michii
วันที่ 4 มิ.ย. 2552
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
Sam
วันที่ 4 มิ.ย. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
orawan.c
วันที่ 4 มิ.ย. 2552

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
choonj
วันที่ 5 มิ.ย. 2552

เรียนความเห็นที่ 12

ขออนุโมทนาในความเห็น ซึ่งผมเห็นด้วยและเข้าใจตามหมด แต่มีจุดๆ หนึ่งเป็นจุดทีสำคัญ และก็คนส่วนใหญ่ผ่านไปไม่ได้ คือ เมื่อกรรมส่งผลให้อกุศลวิบากเกิดแล้วก็ไม่รู้ว่าเป็นธรรม สติไม่เกิด จิตต่อจากนั้นเป็นอกุศลมีการเพลิดเพลินไปตามอกุศลเป็นต้น จึงเหมื่อนกับกรรมบังคับไว้ ผมจึงใช้คำว่า "อาจเป็นเพราะกรรมบังคับใว้" ไม่ให้พ้นจากจุดนี้ไปได้ ถามว่าเมื่อพ้นตรงนี้ไม่ได้ความรู้สึกก็จะเหมื่อนว่า เหมือนกรรมบังคับไว้ ก็อย่างที่คุณพุทธรักษาว่าใว้แหละครับ เข้าใจเพิ่มขึ้นปัญหาก็น้อยลง แต่ตอนนี้ยัง ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
akrapat
วันที่ 5 มิ.ย. 2552

จริงตามที่คุณ พุทธรักษา พูดครับ การศึกษาเรื่องจิต และ วิถีจิต นอกจากรู้จักชื่อแล้วสำคัญที่สุด คือ รู้จักความแตกต่างของจิตชนิดต่างๆ (วิเศษลักษณะ ส่วนสามัญลักษณะตรงนี้คือ ตัวปํญญา คือเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง) ตรงนี้สติต้องอาศัยระลึก ไม่เช่นนั้น ก็จะรู้ความต่างกันแค่ชือ ส่วนสามัญลักษณะต้องอาศัยสมาธิ เพราะถ้าจิตไม่มีความตั้งมั่น ก็จะไม่เห็น

ส่วนการศึกษาเรื่องวิถีจิต ประโยชน์ตรงที่รู้ว่า จิตชนิดใดเป็น จิตที่เป็นวิบาก จิตที่เป็นกุศล หรืออกุศล จิตที่เป็นวิบาก เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาพร้องกับ รูปนามนี้ เช่น จักขุวิญญาณจิต เกิดพร้อม จักขุปสาทรูป หรือจะพูดภาษาชาวบ้าน ง่ายก็คือ มีตาก็ต้องเห็นเมื่อมีหูก็ต้องได้ยิน ห้ามไม่ได้ แต่ที่สำคัญก็คือ เห็นแล้ว จิตเป็นกุศล หรือ อกุศล ตรงนี้ที่สำคัญ ส่วนจะเป็นอะไรนั้น ขึ้นกับเหตุและปัจจัย

เป็นแค่ความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ ผิดถูกประการใด ขออโหสิกรรมด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
chatchai.k
วันที่ 18 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ