แทนที่ จะ กังวล !
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
สนทนาธรรมที่เขาเต่า ๑ - ๔ สิงหาคม ๒๕๓๗
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น "จิต" ของเราเป็นอะไร หลังจากอกุศลวิบาก
ท่านผู้ฟัง ก็ กลับไป กลับมา ครับ
ท่านอาจารย์ ถูกค่ะ ทีนี้ แทนที่เราจะ "กังวล" กับ อกุศลวิบาก เช่น "กลิ่นเหม็น" (ของสุนัขตัวหนึ่ง) หมายความว่า เมื่อ "กลิ่นเหม็นนั้น" ปรากฏแล้ว "สติ" ระลึก ตรง "ลักษณะที่เหม็น" ขณะนั้นเพียง "ขณะเดียว" แล้วหมดไป ทันที แล้วก็มี "ลักษณะอย่างอื่น" ปรากฏ "สติ" ระลึกต่อไปได้ทันที เพราะฉะนั้นท่านผู้ฟัง ก็ ไม่กังวล เดือดร้อน กับ "กลิ่นเหม็น"
ท่านผู้ฟัง แต่ ก็มี "กลิ่นเหม็น" ปรากฏอีก
ท่านอาจารย์ เพราะ "อวิชชาและโลภะ" เป็น "ปัจจัย" ทำให้ "เรา รัก ตัวเรา" อย่างนี้ แม้สภาพธรรมนั้น กำลังปรากฏ เพราะ "เหตุ ปัจจัย" .. "เรา" ก็วุ่นวาย เดือดร้อน กังวล ทีนี้ ถ้าเข้าใจจริงๆ ว่า เป็น "สภาพธรรม" ชนิดหนึ่งเกิดแล้ว ดับแล้ว อย่างรวดเร็ว ท่านผู้ฟัง ก็ ไม่เดือดร้อน เพราะเหตุว่าตามปกติ คนเรา มี "ความชิน" กับ "ความเป็นตัวตน" และ "เรื่องราว" เป็นอย่างมาก ซึ่ง เป็น "เหตุ"ทำให้เกิด "ความไม่พอใจ" ใน "สิ่งที่กำลังปรากฏ" เพราะฉะนั้น แทนที่ จะ "กังวล" แต่ "สติ" เกิด แล้วก็ "รู้" แล้วก็ "ละ" ท่านผู้ฟัง จะไปเปลี่ยน "กลิ่นเหม็น" นั้น ก็ไม่ได้ ท่านผู้ฟัง จะไปบังคับ ไม่ให้ "กลิ่นเหม็น" มากระทบกับจมูก (ฆานปสาท) ของท่านผู้ฟัง ก็ไม่ได้ เพราะว่า มี "เหตุ ปัจจัย" แล้วก็ ต้อง เกิด ใช่ไหมคะ
อย่างเช่น พระภิกษุ (ในพระธรรมวินัยนี้) ไม่ว่า ท่าน จะได้รับอาหารอะไร จากการบิณฑบาตรท่าน ก็ไม่กังวล ไม่เดือดร้อนหรือแม้ท่านเดินไปพบอะไรๆ ท่านก็ไม่เดือดร้อน เพราะ "เหตุ" ว่าท่าน เป็นผู้ มี ปกติ เจริญสติปัฏฐาน เป็นผู้ มีปกติ ระลึก รู้ "ลักษณะ"ของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ "ขณะนั้น" และ ถ้าหากท่านผู้ฟัง รับ อกุศลวิบาก ขณะนี้ก็ยังดีกว่าที่ ท่านผู้ฟัง ไปตกนรก แล้วก็ "ได้กลิ่นอย่างนี้" เต็มๆ ซึ่งแรงกว่านี้ มากกว่านี้ หลายเท่า เพราะอย่างนี้ ถ้าจะรับอกุศลวิบาก อย่างนี้ ขณะนี้มิดีกว่าหรือ ในเมื่อ "ขณะนี้" .. "ปัญญา" เป็น "ปัจจัย" ให้เจริญกุศลได้ขณะที่ "สติ" เกิด ระลึก รู้ "ลักษณะ" ของสภาพธรรมนั้นๆ ที่กำลังปรากฏ ตามปกติ ตามความเป็นจริงรู้ แล้ว ละ "ความเห็นผิด" ว่า "สภาพธรรมที่กำลังปรากฏ" ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ที่สำคัญ หลังจากวิบากจิต ทั้งกุศลวิบาก และ อกุศลวิบาก เกิดแล้ว "จิตที่เกิดต่อไป" นั้น "จิต" เป็น อกุศล หรือ จิต เป็น กุศล ปกติ เราไม่ได้ระวัง ตรงนี้ เพราะฉะนั้น ถ้า "รู้" วิบากจิต แล้วแทน ที่ จะไปสนใจแต่ "วิบากจิต" สนใจ ตรง "ลักษณะ" ของ "จิต" ที่เกิด หลังจาก "วิบากจิต" ดับแล้ว สนใจ ว่า จิตเป็นกุศล หรือ เป็น อกุศลดีกว่าไหม
ท่านผู้ฟัง แล้วเราจะไปเปลี่ยน อกุศล ให้เป็น กุศล อย่างไร ก็ กำลังเหม็นๆ ๆ ๆ อยู่อย่างนี้ เปลี่ยนไม่ได้
ท่านอาจารย์ ถ้า "สติ" เกิดท่านผู้ฟังจะ "เข้าใจ" ว่า เป็นเพียง "ชั่วขณะเดียว" เท่านั้น.!ตามความเป็นจริงแล้วไม่ได้มีแต่ "เหม็น" ปรากฏ เพียงอย่างเดียว "เห็น" ก็มี "ได้ยิน" ก็มี เป็น "ขณะเล็กๆ " ทั้งนั้นเลย เพราะฉะนั้น รับอกุศลวิบากตอนนี้น่ะ ดีแล้ว ก็เป็นไป ตามกรรม ตามเหตุ ตามปัจจัย
ท่านผู้ฟัง บางท่าน ท่านก็เลี่ยงไปเสียท่านก็ไม่ได้รับ "กลิ่นเหม็น" นี้ ผมคิดว่า ถ้าผมจะไปสะกิดเขา (สุนัข) สักหน่อย เขาก็ไป สุนัขตัวนี้ เดินตามเจ้าของมา เขาติดเจ้าของ
ท่านอาจารย์ ก็แล้วแต่ ว่าเป็นวิบากของใคร.!ถ้าใครไม่ได้กลิ่นเหม็น ก็เป็นเพราะว่าไม่ใช่ "อกุศลวิบากของบุคคลนั้น" แม้ว่าท่านผู้ฟัง จะไปไล่สุนัขสุนัข อาจจะไม่ไป ก็ได้ และ ท่านผู้ฟัง ก็ไม่มีทางที่จะรู้จริงๆ ว่า "จิต" ของสุนัข เป็นอย่างไร เราจะไปรู้ "จิต" ของสุนัขตัวนั้น ได้อย่างไร และ ถ้าเป็น "สุนัขของท่านผู้ฟัง"ท่านผู้ฟังก็ "รัก"ใช่ไหมคะ ...? ท่านผู้ฟังไม่ชอบ "กลิ่นเหม็น"แล้วคิดบ้างไหมคะ ว่า ... ท่านผู้ฟังจะไม่ไปเกิดเป็นอย่างนั้น ...?สุนัข ก็มีตา มีหู ฯ เหมือนเรา แต่เพียงจะ "เตือน" ท่านผู้ฟังว่า หลังจาก "วิบาก" แล้ว "จิต" เป็นอะไร
ท่านผู้ฟัง หลังจากเหม็นแล้ว เป็น "โทสะ" แล้วจะทำอย่างไร
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ จะทำอย่างไร แต่หมายความว่าถ้ามี "ปัญญา" .. "โทสะ" ก็ไม่เกิดแต่ "กุศลจิต" จะเกิด เพราะฉะนั้น ท่านผู้ฟัง คิดว่า หลังจาก "วิบากจิต" เกิดแล้ว "จิต" ควรจะเป็น "กุศลจิต" หรือ "อกุศลจิต"
"กุศลจิต" ในที่นี้ หมายถึง "สติ" .. "กุศลจิต" ที่เกิด ตรง "ชวนวิถีจิต" หมายถึง ขณะ ที่ "สติ" เกิด แทน ที่ จะเป็น "โทสะ" ถ้ามี "ความเข้าใจ" สติปัฏฐาน จริงๆ "เหม็น" ก็มีจริง แล้ว "สติ" ระลึก ตรง "ลักษณะเหม็น" หรือเปล่า และถ้า "สติปัฏฐาน" เกิด ขณะนั้น ละ อภิชฌา และ โทมนัส เพราะฉะนั้น ถ้า ไม่ใช้ "ชื่อ" อะไรเลย "ตัวธรรมะจริงๆ " คือ "จิต" จิตที่เกิดต่อ หลังจากวิบากจิต เป็นอะไร ตรงนี้สำคัญ และ ตัวเองเท่านั้นที่รู้ ที่ว่า "ตัวเองรู้เอง" หมายความว่า เรากำลังพูดถึง "สติปัฏฐาน" ขั้นที่รู้ "ความจริง" ว่า ไม่มี "ตัวท่านผู้ฟัง ที่กำลังรู้ กลิ่น" แต่ว่า เป็น "จิต ที่กำลังรู้ กลิ่น และ จิตที่กำลังรู้กลิ่น เกิดเพียงขณะ เดียวสั้นๆ แล้วดับไปทันที อย่างรวดเร็ว ต่อจากนั้น มีจิตเห็นบ้าง มีจิตได้ยินบ้าง ฯลฯ หมายความว่ายังมี "สภาพธรรมอื่นๆ " ที่ไม่ใช่กลิ่นอย่างเดียวและ "สติ" ก็ ระลึก สภาพธรรมอื่นๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง ต่อไปก็ได้ (เพราะว่าไม่ใช่มีแต่ "กลิ่น" อย่างเดียว ที่กำลังปรากฏ) ตามความเป็นจริง "สติ" เกิด ระลึก ตรงชวนะไหนก็ได้ ทันที (ทั้ง ๖ ทวาร)
ท่านผู้ฟัง แล้วถ้า "สติ" ระลึก ไม่ทัน แต่ เกิด "โมโห" ขึ้นมาเสียก่อนล่ะครับ
ท่านอาจารย์ "โทสะ" ที่เกิดอย่างนั้น ก็มีจริง เกิดแล้ว ตามเหตุ ตามปัจจัย ตามการสะสม แต่ เรากำลังศึกษา "ลักษณะของจิต" เพื่อที่จะ "ละ คลาย ความเป็นตัวตน"เรากำลังพูดเรื่อง "สภาพธรรมที่มีจริงๆ " เพราะฉะนั้น "โทสะ" ก็เป็นสภาพธรรมที่มีจริงๆ ถ้าขณะนี้ ท่านผู้ฟัง ลุกเดินไปเพื่อที่จะเลี่ยงไป (จากกลิ่นเหม็น) และท่านผู้ฟัง ไม่ได้ ระลึก ตรง "ลักษณะของจิต""ขณะนั้น" เลย ความขุ่นมัว คือ "โทสะ" ก็ยังเกิดอยู่ แล้วก็เป็น "เหตุ" ทำให้กายไหวไป ที่ท่านผู้ฟังกำลังลุกขึ้นมา "ขณะนี้" ท่านกำลังลุกขึ้นมาด้วย "จิต" อะไร
ท่านผู้ฟัง ความขุ่นใจ ทำให้ลุกขึ้น ก็ได้ หรือ ลุกขึ้น ด้วย "โลภะ" ก็ได้
ท่านอาจารย์ ก็ได้ทั้งนั้น ด้วยกุศลจิต ก็ได้ ด้วยอกุศลจิตก็ได้ ถ้า"สติ" เกิด ตลอดเวลาก็เป็นกุศลจิต ตลอดเวลา
ท่านผู้ฟัง ผมก็พยายาม ระลึก ว่าที่กำลังลุกเดินนี่น่ะ มีความต้องการ
ท่านอาจารย์ นั่น เป็น "เรื่อง" ที่นึกคิดทั้งนั้นเลยค่ะต้องเป็นการระลึก ตรง "ลักษณะ" ของสภาพธรรมที่มีจริงๆ ไม่ใช่นึกถึงเรื่องราวที่ไม่มีจริงต้องเป็น สิ่งที่มีจริงๆ ดีไหม ถ้าจะรู้ ว่า หลังจาก "วิบากจิต" เกิดแล้ว "จิต" เป็นอะไร
ท่านผู้ฟัง ทั้งๆ ที่เป็น "อกุศลจิต" หรือครับ
ท่านอาจารย์ "อกุศลจิต" ก็ไม่เป็นไร แต่ดีที่ รู้ ว่า หลังจากวิบากจิตแล้ว "จิต" เป็นอะไร เพราะว่าหลังจากที่รู้ว่า เป็นวิบากแล้วหลังจากนั้น ก็ควรรู้ด้วย ว่า จิตเป็นกุศล หรือ เป็นอกุศล มิฉะนั้น เราก็เผลอไปตามวิบากจิต แล้วเกิดโลภะบ้าง เกิดโทสะบ้างหลังจากที่วิบากจิตเกิดแล้ว ด้วยความไม่รู้ เพราะ "สติ" ไม่เกิด
(ขออนุโมทนา ท่าน ... ผู้เอื้อเฟื้อรูปภาพค่ะ)
... ขออนุโมทนา ...