ทรงแก้ปัญหาท้าวสักกะ [สักกปัญหสูตร]

 
pornpaon
วันที่  31 พ.ค. 2552
หมายเลข  12536
อ่าน  3,300

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 132

ทรงแก้ปัญหาท้าวสักกะ

[๒๕๕] ท้าวสักกะผู้จอมเทพ ได้รับประทานพระวโรกาสแล้ว ได้ ทูลถามปัญหาทีแรกนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ เทวดา

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 133

มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ และสัตว์เหล่าอื่นเป็นอันมาก มีอะไรเป็น

เครื่องผูกพัน เขาเหล่านั้นเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีอาชญา ไม่มีข้าศึก ไม่มีความ คับแค้นใจ มีความหวังอยู่ว่า ขอพวกเราจงเป็นผู้ไม่มีเวรเป็นต้น อยู่เถิด ดั่งนี้ แต่ไฉนยังเป็นผู้มีเวร มีอาชญา มีข้าศึก มีความคับแค้นใจ เป็นไปกับด้วย เวรอยู่อีกเล่า. พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงพยากรณ์แก่ท้าวเธอว่า ขอถวายพระพร เทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ และสัตว์เหล่าอื่นเป็นอันมาก มีความ ริษยาและความตระหนี่เป็นเครื่องผูกพัน เขาเหล่านั้นเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีอาชญา ไม่มีข้าศึก ไม่มีความคับแค้นใจ หวังอยู่ว่า ขอเราจงเป็นผู้ไม่มีเวรเป็นต้น อยู่เถิด ดังนี้ แต่ก็ยังเป็นผู้มีเวร มีอาชญา มีข้าศึก มีความคับแค้นใจ เป็น ไปกับด้วยเวรอยู่ ท้าวสักกะผู้จอมเทพ มีพระหฤทัยชื่นชมเพลิดเพลินอนุโมทนาภาษิต ของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้อพยากรณ์นั้น ย่อมเป็น อย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต ข้อพยากรณ์นั้นย่อมเป็นอย่างนั้น ข้าพระองค์ข้าม พ้นข้อสงสัยในข้อนั้นเสียได้แล้ว หมดความสงสัยที่จะพึงกล่าวว่าอะไรๆ แล้ว เพราะได้สดับปัญหาพยากรณ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

[๒๕๖] ครั้นแล้ว ได้ทูลถามปัญหาต่อไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ก็ความริษยาและความตระหนี่มีอะไรเป็นนิทาน (เค้ามูล) มีอะไรเป็นสมุทัย (เครื่องก่อ) มีอะไรเป็นชาติ (เหตุเกิด) มีอะไรเป็นแดนเกิด ก็เมื่ออะไรยัง มีอยู่ ความริษยาและความตระหนี่จึงมี และเมื่ออะไรไม่มีอยู่ ความริษยาและ ความตระหนี่ย่อมไม่มี. พ. ชื่อถวายพระพร ความริษยาและความตระหนี่ มีอารมณ์อันเป็น ที่รักและไม่เป็นที่รัก เป็นนิทาน เป็นสมุทัย เป็นชาติ เป็นแดนเกิด เมื่อ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
pornpaon
วันที่ 31 พ.ค. 2552

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 134

อารมณ์อันเป็นที่รักและไม่เป็นที่รักยังมีอยู่. ความริษยาและความตระหนี่ย่อมมี เมื่อไม่มีอยู่ ความริษยาและความตระหนี่ย่อมไม่มี.

ส. ก็อารมณ์อันเป็นที่รักและไม่เป็นที่รัก มีอะไร เป็นนิทาน เป็น สมุทัย เป็นชาติ เป็นแดนเกิด เมื่ออะไรยังมีอยู่ อารมณ์อันเป็นที่รักและไม่ เป็นที่รัก จึงมี เมื่ออะไรไม่มีอยู่ อารมณ์อันเป็นที่รักและไม่เป็นที่รักจึงไม่มี.

พ. อารมณ์อัน เป็นที่รักและไม่เป็นที่รัก มีฉันทะเป็นนิทาน เป็น สมุทัย เป็นชาติ เป็นแดนเกิด เมื่อฉันทะยังมีอยู่ อารมณ์อันเป็นที่รักและ ไม่เป็นที่รักย่อมมี เมื่อไม่มี อารมณ์อันเป็นที่รักและไม่เป็นที่รักย่อมไม่มี ดั่งนี้.

ส. ฉันทะ (ความพอใจ) มีอะไรเป็นนิทาน เป็นสมุทัย เป็นชาติ เป็นแดนเกิด เมื่ออะไรยังมีอยู่ ฉันทะจึงมี เมื่ออะไรไม่มี ฉันทะจึงไม่มี.

พ. ฉันทะมีวิตก (ความตรึก) เป็นนิทาน เป็นสมุทัย เป็นชาติ เป็นแดนเกิด เมื่อวิตกยังมีอยู่ ฉันทะย่อมมี เมื่อไม่มี ฉันทะ ย่อมไม่มี.

ส. ก็วิตกมีอะไรเป็นนิทาน เป็นสมุทัย เป็นชาติ เป็นแดนเกิด เมื่ออะไรยังมีอยู่ วิตกจึงมี เมื่ออะไรไม่มี วิตกจึงไม่มี.

พ. วิตก มีส่วนแห่งสัญญาอันสัมปยุตด้วยปปัญจธรรม (ธรรมเครื่อง เนิ่นช้า) เป็นนิทาน เป็นสมุทัย เป็นชาติ เป็นแดนเกิด เมื่อส่วนแห่งสัญญา อันสัมปยุตด้วยปปัญจธรรมยังมีอยู่ วิตกย่อมมี เมื่อไม่มี วิตกย่อมไม่มี.

[๒๕๗] ส. ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ก็ภิกษุปฏิบัติอย่างไร ชื่อว่า เป็นผู้ดำเนินปฏิปทาอันสมควร และให้ถึงความดับส่วนแห่งสัญญาอันสัมปยุต ด้วยปปัญจธรรม.

พ. ก็อาตมาภาพ กล่าวโดยโสมนัสโทมนัสและอุเบกขา ส่วนละ ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี อาตมาภาพกล่าวหมายถึงข้อความดังว่ามา ฉะนี้ และอาศัยอะไรจึงกล่าวดังนั้น บรรดาโสมนัส ๒ อย่างนั้น บุคคลพึงรู้จัก

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
pornpaon
วันที่ 31 พ.ค. 2552

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 135

โสมนัสใดว่า เมื่อเราเสพโสมนัสนี้อยู่ อกุศลธรรมย่อมเจริญมาก กุศลธรรม ย่อมเสื่อมไป ดังนี้ โสมนัสเห็นปานนั้นไม่ควรเสพ. บุคคลพึงรู้จักโสมนัสใดว่า เมื่อเราเสพโสมนัสนี้อยู่ อกุศลธรรมย่อมเจริญมากดังนี้ โสมนัสเห็นปานนั้น ควรเสพ

พ. บรรดาโสมนัสนั้น โสมนัสที่เกิดขึ้นด้วยปฐมฌาน ยังมีวิตกวิจาร โสมนัสที่ไม่มีวิตกวิจารประณีตกว่า อาตมาภาพกล่าวโสมนัสใดโดยส่วน ๒ ว่า ควรเสพก็มี ไม่ควรเสพก็มี อาตมาภาพกล่าวหมายถึงข้อความดังว่ามาฉะนี้ และ อาศัยเหตุนี้จึงกล่าวดังนั้น. แม้โทมนัสและอุเบกขา ก็มีลักษณะดังนี้แล ขอ ถวายพระพร. ภิกษุปฏิบัติอย่างนี้แล ย่อมชื่อว่าเป็นผู้ดำเนินปฏิปทาอันสมควร และให้ถึงความดับส่วนแห่งสัญญาอันประกอบด้วยปปัญจธรรม.

ท้าวสักกะจอมเทพมีพระหฤทัยชื่นชมเพลิดเพลินอนุโมทนาภาษิตแห่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ว่า เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคตเจ้า ข้าพระองค์ข้ามพ้นข้อสงสัยอันจะพึงกล่าวว่าเป็นอย่างไรๆ แล้ว เพราะได้สดับปัญหาพยากรณ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

[๒๕๘] ท้าวสักกะจอมเทพ ครั้นแล้ว ได้ทูลถามปัญหาต่อไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ก็ภิกษุปฏิบัติอย่างไร ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความ สำรวมในพระปาติโมกข์.

พ. ขอถวายพระพร ก็อาตมภาพย่อมกล่าวกายสมาจาร (มรรยาท ทางกาย) วจีสมาจาร (มรรยาททางวาจา) และความแสวงหาโดยอย่างละ ๒ๆ คือที่ควรเสพก็มี ไม่ควรเสพก็มี. นี่อาตมภาพกล่าวถึงข้อความดังว่ามาฉะนี้ และอาศัยอะไรจึงกล่าวดังนั้น บรรดาธรรมเหล่านั้น บุคคลพึงรู้จักกายสมาจาร วจีสมาจาร และการแสวงหาใดว่า เมื่อเราเสพกายสมาจาร วจีสมาจาร และ การแสวงหาชนิดนี้แล้ว อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป ดังนี้ กายสมาจาร วจีสมาจาร และการแสวงหาเห็นปานนั้น ไม่ควรเสพ. บรรดา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
pornpaon
วันที่ 31 พ.ค. 2552

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 136

ธรรมเหล่านั้น บุคคลพึงรู้จักกายสมาจาร วจีสมาจาร และการแสวงหาใดว่า เมื่อเราเสพกายสมาจาร วจีสมาจาร และการแสวงหานี้แล้ว อกุศลธรรมย่อม เสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญมากดังนี้ กายสมาจาร วจีสมาจาร และการ แสวงหาเป็นปานนั้น ควรเสพ. อาตมภาพกล่าวกายสมาจาร วจีสมาจาร และ การแสวงหาโดยส่วนละ ๒ๆ คือที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี. อาตมภาพ กล่าวหมายถึงข้อความดังว่ามาฉะนี้ และอาศัยเหตุนี้ จึงกล่าวดังนั้น ภิกษุ ปฏิบัติอย่างนี้แลย่อมชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความสำรวมในพระปาฏิโมกข์.

[๒๕๙] ส. ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ก็ภิกษุปฏิบัติอย่างไร ชื่อว่า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความสำรวมในอินทรีย์.

พ. อาตมภาพย่อมกล่าว รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ อันจะพึงรู้ด้วยจักขุ โสด ฆาน ชิวหา กาย มนะ ส่วนละ ๒ คือที่ควรเสพ ก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วอย่างนี้ ท้าวสักกะผู้จอมเทพ ได้ กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมทราบซึ้งถึงเนื้อความแห่ง ภาษิตที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยย่อนี้ได้โดยพิสดาร เมื่อบุคคลเสพ รูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ ธรรมารมณ์ อันจะพึงรู้ด้วยจักขุ โสด ฆาน ชิวหา กาย มนะ อย่างใดอยู่ อกุศลธรรมย่อมเจริญมาก กุศลธรรมย่อม เสื่อมไป ดังนี้ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เห็นปานนั้น ไม่ควรเสพ. เมื่อบุคคลเสพ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ อันจะพึงรู้ด้วยจักขุ โสด ฆาน ชิวหา กาย มนะ อย่างใดอยู่ อกุศลธรรม ย่อมเสื่อมไป กุศลย่อมเจริญมาก ดังนี้แล รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เห็นปานนั้น ควรเสพ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
pornpaon
วันที่ 31 พ.ค. 2552

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 137

ส. ข้าพระองค์ทราบซึ้งถึงเนื้อความแห่งภาษิตที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสแล้วโดยย่ออันได้โดยพิสดาร ได้ข้ามข้อสงสัยในข้อนี้ได้แล้ว หมดความ สงสัยอันจะพึงกล่าวว่าอะไรๆ แล้ว เพราะได้สดับปัญหาพยากรณ์ของพระผู้มี พระภาคเจ้า.

[๒๖๐] ท้าวสักกะผู้จอมเทพ ครั้นเพลิดเพลินอนุโมทนาภาษิตของ พระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้แล้วได้ทูลถามปัญหาต่อไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ สมณพราหมณ์ทั้งหมดแล มีวาทะเป็นอย่างเดียวกัน มีศีลเป็นอย่างเดียวกัน มีฉันทะเป็นอย่างเดียวกัน มีที่สุดเป็นอย่างเดียวกันหรือ.

พ. หามิได้ มหาบพิตร.

ส. ก็ทำไม สมณพราหมณ์ทั้งหมด จึงเป็นผู้ไม่มีวาทะเป็นอย่าง เดียวกัน ไม่มีศีลเป็นอย่างเดียวกัน ไม่มีฉันทะเป็นอย่างเดียวกัน ไม่มีที่สุด ลงเป็นอย่างเดียวกันเล่า.

พ. โลกมีธาตุไม่เป็นอันเดียวกัน มีธาตุต่างๆ กัน หมู่สัตว์ถือมั่นใน ธาตุใดๆ แล ย่อมยึดถือธาตุนั้นๆ กล่าวด้วยกำลังความยึดถือว่า อย่างนี้แหละ แน่นอน อย่างอื่นเหลวไหล ดังนี้ เพราะเหตุนั้น สมณพราหมณ์จึงเป็นผู้ชื่อว่า มีวาทะเป็นอย่างเดียวกัน มีศีลเป็นอย่างเดียวกัน มีฉันทะเป็นอย่างเดียวกัน มีที่สุดลงเป็นอย่างเดียวกันทั้งหมดไม่ได้.

[๒๖๑] ส. สมณพราหมณ์มีความสำเร็จล่วงส่วน เกษมจากโยคะ ล่วงส่วน เป็นพรหมจารีล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วนทั้งหมดหรือ.

พ. หามิได้ มหาบพิตร.

ส. เพราะเหตุไร พระพุทธเจ้าข้า.

พ. ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้หลุดพ้น เพราะสิ้นตัณหา ภิกษุเหล่านั้นมีความ สำเร็จล่วงส่วน เกษมจากโยคะล่วงส่วน เป็นพรหมจารีล่วงส่วน เพราะเหตุนั้น สมณพราหมณ์จึงเป็นผู้มีความสำเร็จล่วงส่วนทั้งหมดไม่ได้

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 138

ท้าวสักกะผู้จอมเทพ ชื่นชมเพลิดเพลินอนุโมทนาภาษิตแห่งพระผู้มี พระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคตเจ้า ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้าพระองค์ได้ข้ามความสงสัยในข้อนี้แล้วหมดความสงสัย อันจะพึงกล่าวว่าเป็นอย่างไรๆ แล้ว เพราะได้สดับปัญหาพยากรณ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
พุทธรักษา
วันที่ 4 มิ.ย. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
suwit02
วันที่ 5 มิ.ย. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ใหญ่ราชบุรี
วันที่ 5 พ.ค. 2557

สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ และขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
chatchai.k
วันที่ 24 มิ.ย. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ