การรู้ปรมัตถธรรม
ผมเข้าใจว่าปรมัตถธรรมนั้น เป็นอารมณ์ของกุศลจิตก็ได้ อกุศลจิตก็ได้ วิบากจิตก็ได้ และกิริยาจิตก็ได้ และสำหรับการเจริญสติปัฏฐานนั้นก็มีปรมัตถธรรมเท่านั้นที่เป็นอารมณ์
ขออนุญาตเรียนถามครับว่า
๑. การรู้ปรมัตถธรรมของสติปัฏฐาน แตกต่างจากการรู้ปรมัตถธรรมของกุศลจิตอื่นๆ และการรู้ปรมัตถธรรมของอกุศลจิตอย่างไรครับ
๒. การรู้ปรมัตถธรรมของอกุศลจิตและกุศลจิตที่ไม่ใช่สติปัฏฐาน เป็นการรู้"ลักษณะ"ของปรมัตถธรรมหรือไม่ครับ
ขออนุญาตเรียนถามเพิ่มเติมจากประเด็นนี้นะค่ะท่านอาจารย์ประเชิญ หมายความว่า
ต่างกัน ตรงที่จิตเป็นกุศล เพราะ มีสติสัมปชัญญะและจิตเป็นอกุศล เพราะ ขาดสติสัมปชัญญะ
นัยที่กล่าวนี้ เป็น สติ ขั้น วิปัสสนาภาวนา เท่านั้น.
เข้าใจอย่างนี้....ไม่ทราบว่าถูกต้องหรือไม่ อย่างไรคะ.?
คือ ที่ถามอย่างนี้ เพราะเข้าใจว่าสติขั้นทาน สติขั้นศีล ก็เป็นกุศลจิต ไม่ใช่ อกุศลจิตแต่ยังมี "ตัวเรา" ที่ให้ทาน รักษาศีล จึงดับทุกข์ไม่ได้แต่จากการศึกษา...สมถภาวนา ก็ต้องประกอบด้วยสติสัมปชัญญะทำไมจึงดับทุกข์ไม่ได้ล่ะคะ.?
...............ขออนุโมทนาในความกรุณาค่ะ..............
ถูกต้องครับ โดยตรงแล้วต้องเป็นสติสัมปชัญญะขั้นวิปัสสนาภาวนา แต่
สติสัมปชัญญะขั้นสมถภาวนาของมีปกติผู้เจริญสติปัฏฐานก็อุปการะแก่สติ
สัมปชัญญะขั้นวิปัสสนาด้วยเช่นกัน ฉะนั้นในคัมภีร์วิสุทธิมรรคท่านจึงแสดง
การเจริญสมถภาวนาเป็นส่วนหนึ่งของทางแห่งความบริสุทธิ์ และในจรณะ ๑๕
กุศลฌานทั้งหลายก็เป็นจรณะ คือเครื่องดำเนินไปสู่พระนิพพานของพระอริยะครับ