ตัวอย่างผู้ทำสังฆทานในอรรถกถา
prachern.s
วันที่ 3 มิ.ย. 2552
หมายเลข 12566
อ่าน 1,532
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 408
ข้อความบางตอนจากอรรถกถาทักขิณาวิภังคสูตร........... ก็ทักขิณาที่ถึงสงฆ์ย่อมมีแก่บุคคลผู้อาจเพื่อทำความยำเกรงในสงฆ์ แต่ความยำเกรงในสงฆ์ ทำได้ยาก. ก็บุคคลได้เตรียมไทยธรรมด้วยคิดว่าเราจักให้ทักขิณาถึงสงฆ์ ไปวิหารแล้วเรียนว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงให้พระเถระรูปหนึ่งเจาะจงสงฆ์เถิด. ลำดับนั้น ได้สามเณรจากสงฆ์ย่อมถึงความเป็นประการอื่นว่า เราได้สามเณรแล้ว ดังนี้. ทักขิณาของบุคคลนั้นย่อมไม่ถึงสงฆ์. เมื่อได้พระมหาเถระแม้เกิดความโสมนัสว่า เราได้มหาเถระแล้ว ดังนี้ ทักขิณาก็ไม่ถึงสงฆ์เหมือนกัน. ส่วนบุคคลใดได้สามเณร ผู้อุป-สมบทแล้ว ภิกษุหนุ่ม หรือเถระ ผู้พาลหรือ บัณฑิต รูปใดรูปหนึ่งจาก สงฆ์แล้ว ไม่สงสัย ย่อมอาจเพื่อทำความยำเกรงในสงฆ์ว่า เราจะถวายสงฆ์.ทักขิณาของบุคคลนั้นเป็นอัน ชื่อว่าถึงสงฆ์แล้ว. ได้ยินว่า พวกอุบาสกชาวสมุทรฝังโน้น กระทำอย่างนี้. ก็ในอุบาสกเหล่านั้น คนหนึ่งเป็นเจ้าของวัดเป็นกุฏุมพี เจาะจงจากสงฆ์ว่า เราจักถวายทักขิณาที่ถึงสงฆ์ จึงเรียนว่าขอท่านจงให้ภิกษุรูปหนึ่ง. อุบาสกนั้น ได้ภิกษุทุศีลรูปหนึ่ง พาไปสู่สถานที่นั่งปูอาสนะผูกเพดานเบื้องบน บูชาด้วยของหอม ธูป และดอกไม้ ล้างเท้าทาด้วยน้ำมัน ได้ถวายไทยธรรมด้วยความยำเกรงในสงฆ์ ดุจทำความนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า. ภิกษุรูปนั้น มาสู่ประตูเรือนว่าท่านจงให้จอบเพื่อประโยชน์แก่การปฏิบัติวัดในภายหลังภัต. อุบาสกนั่งเขี่ยจอบด้วยเท้าแล้วให้ว่า จงรับไป.มนุษย์ทั้งหลายได้กล่าวกะเขานั้นว่า ท่านได้ทำสักการะแก่ภิกษุนี้แต่เช้าตรู่เทียวไม่อาจเพื่อจะกล่าว บัดนี้ แม้สักว่า อุปจาระ (มรรยาท) ก็ไม่มีนี้ชื่อว่าอะไรดังนี้. อุบาสก กล่าวว่า แนะนาย ความยำเกรงนั้นมีต่อสงฆ์ ไม่มีแก่ภิกษุนั้น. ถามว่า ก็ใครย่อมยังทักขิณาที่ถวายสงฆ์ ซึ่งมีภิกษุมีผ้ากาสาวะพันคอให้หมดจด. ตอบว่า พระมหาเถระ ๘๐ รูปมีพระสารีบุตรและพระ-โมคคัลลานะเป็นต้น ย่อมให้หมดจดได้. อนึ่ง พระเถระทั้งหลายปรินิพพานนานแล้ว พระขีณาสพทั้งหลายที่ยังมีชีวิตอยู่ตั้งแต่พระเถระเป็นต้น จนถึงทุกวันนี้ ย่อมให้หมดจดเหมือนกัน....
ข้อความบางตอนจากอรรถกถาทักขิณาวิภังคสูตร........... ก็ทักขิณาที่ถึงสงฆ์ย่อมมีแก่บุคคลผู้อาจเพื่อทำความยำเกรงในสงฆ์ แต่ความยำเกรงในสงฆ์ ทำได้ยาก. ก็บุคคลได้เตรียมไทยธรรมด้วยคิดว่าเราจักให้ทักขิณาถึงสงฆ์ ไปวิหารแล้วเรียนว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงให้พระเถระรูปหนึ่งเจาะจงสงฆ์เถิด. ลำดับนั้น ได้สามเณรจากสงฆ์ย่อมถึงความเป็นประการอื่นว่า เราได้สามเณรแล้ว ดังนี้. ทักขิณาของบุคคลนั้นย่อมไม่ถึงสงฆ์. เมื่อได้พระมหาเถระแม้เกิดความโสมนัสว่า เราได้มหาเถระแล้ว ดังนี้ ทักขิณาก็ไม่ถึงสงฆ์เหมือนกัน. ส่วนบุคคลใดได้สามเณร ผู้อุป-สมบทแล้ว ภิกษุหนุ่ม หรือเถระ ผู้พาลหรือ บัณฑิต รูปใดรูปหนึ่งจาก สงฆ์แล้ว ไม่สงสัย ย่อมอาจเพื่อทำความยำเกรงในสงฆ์ว่า เราจะถวายสงฆ์.ทักขิณาของบุคคลนั้นเป็นอัน ชื่อว่าถึงสงฆ์แล้ว. ได้ยินว่า พวกอุบาสกชาวสมุทรฝังโน้น กระทำอย่างนี้. ก็ในอุบาสกเหล่านั้น คนหนึ่งเป็นเจ้าของวัดเป็นกุฏุมพี เจาะจงจากสงฆ์ว่า เราจักถวายทักขิณาที่ถึงสงฆ์ จึงเรียนว่าขอท่านจงให้ภิกษุรูปหนึ่ง. อุบาสกนั้น ได้ภิกษุทุศีลรูปหนึ่ง พาไปสู่สถานที่นั่งปูอาสนะผูกเพดานเบื้องบน บูชาด้วยของหอม ธูป และดอกไม้ ล้างเท้าทาด้วยน้ำมัน ได้ถวายไทยธรรมด้วยความยำเกรงในสงฆ์ ดุจทำความนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า. ภิกษุรูปนั้น มาสู่ประตูเรือนว่าท่านจงให้จอบเพื่อประโยชน์แก่การปฏิบัติวัดในภายหลังภัต. อุบาสกนั่งเขี่ยจอบด้วยเท้าแล้วให้ว่า จงรับไป.มนุษย์ทั้งหลายได้กล่าวกะเขานั้นว่า ท่านได้ทำสักการะแก่ภิกษุนี้แต่เช้าตรู่เทียวไม่อาจเพื่อจะกล่าว บัดนี้ แม้สักว่า อุปจาระ (มรรยาท) ก็ไม่มีนี้ชื่อว่าอะไรดังนี้. อุบาสก กล่าวว่า แนะนาย ความยำเกรงนั้นมีต่อสงฆ์ ไม่มีแก่ภิกษุนั้น. ถามว่า ก็ใครย่อมยังทักขิณาที่ถวายสงฆ์ ซึ่งมีภิกษุมีผ้ากาสาวะพันคอให้หมดจด. ตอบว่า พระมหาเถระ ๘๐ รูปมีพระสารีบุตรและพระ-โมคคัลลานะเป็นต้น ย่อมให้หมดจดได้. อนึ่ง พระเถระทั้งหลายปรินิพพานนานแล้ว พระขีณาสพทั้งหลายที่ยังมีชีวิตอยู่ตั้งแต่พระเถระเป็นต้น จนถึงทุกวันนี้ ย่อมให้หมดจดเหมือนกัน....
ความคิดเห็นที่ 1
suwit02
วันที่ 4 มิ.ย. 2552
ถามว่า ก็ใครย่อมยังทักขิณาที่ถวายสงฆ์ ซึ่งมีภิกษุมีผ้ากาสาวะพันคอให้หมดจด.
ตอบว่า พระมหาเถระ ๘๐ รูปมีพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเป็นต้น
ย่อมให้หมดจดได้. อนึ่ง พระเถระทั้งหลายปรินิพพานนานแล้ว
พระขีณาสพทั้งหลายที่ยังมีชีวิตอยู่ตั้งแต่พระเถระเป็นต้น จนถึงทุกวันนี้
ย่อมให้หมดจดเหมือนกัน....
สาธุ