รบกวนสอบถามครับ

 
laksi1980
วันที่  5 มิ.ย. 2552
หมายเลข  12579
อ่าน  1,080

ขอรบกวนสอบถามท่านวิทยากรและสมาชิกมูลนิธิดังนี้นะครับ

1. มีความจำเป็นแค่ไหนในการศึกษาเรื่องวิถีจิตครับ ได้ยินจากผู้ที่แนะนำมา ว่าเรื่องนี้เป็นอีกเรื่องที่จะช่วยให้เข้าใจธรรมะมากขึ้น ผมจึงลองเปิดอ่านดูปรากฏว่าอ่านยากมากถ้าให้ฟังยิ่งไม่รู้เรื่องเข้าไปใหญ่ ก่อนจะศึกษาไปถึงเรื่องวิถีจิต จะต้องศึกษาเรียงลำดับยังไงครับ จากเรื่องอะไรไปเรื่องอะไร

2. ได้อ่านเรื่องทาน มีข้อความที่ว่า ให้ทานเพื่อปรุงแต่งจิต กลับเป็นจิตที่สูงกว่าการให้ทานด้วยเหตุผลอย่างอื่นเช่น เพราะผู้นั้นหุงหาเองไม่ได้ จึงคิดให้ แบบนี้ ผมรู้สึกเหมือนจะเป็นกุศลกว่า เพราะคิดถึงว่าผู้อื่นไม่มีเหมือนตน จึงคิดให้ด้วยความสงสารแต่ที่บอกว่าให้ทานเพื่อปรุงแต่งจิต หมายถึงอย่างไรครับ ไม่เหมือนกันอย่างไร ไม่เข้าใจในอรรถตรงนี้ครับ

3. การขอขมา โดยที่บุคคลผู้ที่เราล่วงเกินไม่ทราบว่าเราได้ทำการขอขมาอยู่ตลอดทุกวัน จะถือว่าเป็นการขอขมามั้ยครับ

4. จิตที่ควรแก่การงาน หมายถึงอะไรครับ ขอช่วยขยายอรรถนี้หน่อยครับ

ขอบพระคุณครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 5 มิ.ย. 2552
๑. ควรทราบว่าพระธรรมที่ทรงแสดงโดยละเอียดนั้น สำหรับผู้ที่สะสมปัญญามาน้อยการศึกษาจิตโดยนัยต่างๆ ก็เป็นประโยชน์ทำให้เข้าใจจิตมากยิ่งขึ้น เรื่องวิถีจิตก็เช่นกัน ถ้าเข้าใจจิตปรมัตถ์โดยละเอียดจะทำเข้าใจวิถีจิตครับ๒. ในอรรถกถาท่านแก้ไว้ดังนี้ บทว่า จิตฺตาลงฺการํ จิตฺตปริกฺขารํ ความว่าเป็นเครื่องประดับและเป็นเครื่องแวดล้อมจิต อันสัมปยุตด้วยสมถะและวิปัสสนา.... ...จากข้อความในอรรถกถาจะเห็นได้ว่า การให้ทานของผู้ที่มีปกติอบรมสมถะและสติปัฏฐาน ย่อมทำให้จิตอ่อนควรแก่การงานมากยิ่งขึ้น๓. การขอขมาที่คนที่เราต้องการขอขมายังมีชีวิตอยู่ควรกระทำต่อหน้าท่านครับ๔. จิตที่ควรแก่การงาน หมายถึงจิตที่เป็นกุศล ปราศจากนิวรณ์ครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
choonj
วันที่ 5 มิ.ย. 2552

๑) วิถีจิต เมือเริ่มศึกษาไหม่ๆ ยากแน่นอน ก่อนอืนต้องรู้ว่าจิตอะไรเป็นวิถี จิตอะไรไม่ใช่วิถี แล้ว ก็ต้องรู้จิตแต่ละดวงเป็นภาษาบาลี ดังต่อไปนี้ จุติ ปฎิสนธิ อตีตภวังค์ภวังคจลนะ ภวังคุปัจเฉทะ จิตทั้ง ๕ ดวงนี้ไม่ใช่วิถีหรือพ้นวิถี จิตต่อจากนี้ไปเป็นวิถีจิต คือ ปัญจทวาราวัชนะ ทวิปัญจวิญญาน๑๐ สัมปฎิฉันนะ สันตีรนะ มโนทวาราวัชนะชวน๗ดวง ตฑาลัมพนะ๒ดวง จำจิตเหล่านี้ได้และเรียกชื่อเป็นภาษาบาลีได้ การศึกษาก็ง่ายขึ้นแล้ว การที่รู้จักวิถีจิตนี่มีความจำเป็นมากเพราะต่อไปเมื่อมีการระลึกสภาพธรรมตามความเป็นจริงก็ไม่พ้น จิตที่เป็นวิถีและพ้นวิถี่ ครับ ๒) ให้ทานเพื่อปรุงแต่งจิต เป็นคนละเรื่องกับการให้คนที่ช่วยตัวเองไม่ได้ การให้เพื่อปรุงแต่ง ก็คือการสั่งสมการให้คือมีการให้มากๆ คือเห็นใครก็ให้ ไม่ว่าจะช่วยตัวเองได้หรือไม่ได้ ไม่ว่าผู้รับจะดีหรือเลว เมื่อให้มากๆ จิตก็จะถูกปรุงแต่งจนเป็นนิสัย ที่นี้ก็จะให้ทุกอย่างที่มี แต่ต้องระวังต้องให้ที่ประกอบด้วยปัญญา ไม่ใช่ให้จนตัวเองเดือดร้อนท่านอนาถบินฐิกะเคยให้จนหมดตัวเหมือนกัน แต่ท่านให้ด้วยปัญญา ถ้าเราให้จนหมดตัวและไม่มีปัญญาก็เป็นการไห้ที่ไม่ถูกและน่าเสียดาย อันตราย ครับ ๓) ขอขมาทุกวันไม่ใช่เป็นการขอขมา สิ่งที่ทำผิดเปลียนแปลงไม่ได้ จะต้องได้รับกรรม เมื่อขอขมาเป็นการเตือนตัวเองไม่ให้กระทำผิดอีก ขอขมาทุกวันแต่ยังทำผิดอยู่ก็ไม่มีผลอะไร ครับ ๔) จิตควรแก่การงานเป็นกุศลจิตและเจตสิก ที่เกิดด้วย เบา อ่อน ควรแก่การงานจะรู้ได้ก็ต่อเมื่อปรากฎและสติปัฏฐานเกิด ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
คุณ
วันที่ 5 มิ.ย. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
suwit02
วันที่ 5 มิ.ย. 2552

ขออนุญาตเสริมความเห็นที่ 1 ในคำถามข้อที่ 2 ของกระทู้นี้ ที่ว่า

2. ได้อ่านเรื่องทาน มีข้อความที่ว่า ให้ทานเพื่อปรุงแต่งจิต กลับเป็นจิตที่สูงกว่าการให้ทานด้วยเหตุผลอย่างอื่นเช่น เพราะผู้นั้นหุงหาเองไม่ได้ จึงคิดให้ แบบนี้ ผมรู้สึกเหมือนจะเป็นกุศลกว่า เพราะคิดถึงว่าผู้อื่นไม่มีเหมือนตน จึงคิดให้ด้วยความสงสารแต่ที่บอกว่าให้ทานเพื่อปรุงแต่งจิต หมายถึงอย่างไรครับ ไม่เหมือนกันอย่างไร ไม่เข้าใจในอรรถตรงนี้ครับ

ผมมีความเห็น 3 ประการ ต่อ ทานสูตร

(คือ กระทู้ ผลของทานที่ทำให้เป็นพรหม [ทานสูตร] และ เหตุและผลแห่งการให้ทาน [ทานสูตรที่ ])

ซึ่งผู้ถามได้ถามไว้ในข้อ 2. ดังต่อไปนี้

1.ถ้อยคำที่ว่า เพราะผู้นั้นหุงหาเองไม่ได้ นั้น ยังไม่ถูกต้อง

(ทีมงานโปรดพิจารณากระทู้ ผลของทานที่ทำให้แป็นพรหม [ทานสูตร] บรรทัดที่ 15

โดย เปรียบเทียบพระบาลีกับคำแปล ด้วยครับ)

ที่ถูกคือ สมณะและพราหมณ์เหล่านี้ ไม่หุงหากิน ซึ่งข้อความที่คลาดเคลื่อนไปนั้น

ทำให้ผู้ถามเข้าใจผิดไปว่า การให้ในกรณีนี้ เกิดจากความสงสาร แต่ที่จริงการให้ในกรณีนี้

ไม่ได้เกิดจากความสงสารว่า ผู้รับ ด้อยสมรรถภาพในการหาอาหาร แต่เกิดจากการมี

ปัญญาทราบว่า สมณะและพราหมณ์เหล่านี้ เว้นกิจที่หยาบ คือการสั่งสมหุงหาอาหาร

ไปบำเพ็ญกิจที่ละเอียด ประณีต คือเจริญกุศลประการต่างๆ รวมทั้งเจริญอริยมรรค

มีองค์แปดด้วย ด้วยเหตุนี้ ทานดังกล่าวจึงมีผลมาก

2.ตามลิ้งค์ของทานสูตรในกระทู้ทั้งสอง ผู้ให้ทาน ได้ให้ทานด้วย จิตและปัญญาที่ละเอียดขึ้น

ประณีตยิ่งขึ้นไปตามลำดับ ผลแห่งทานจึง เป็นไปตามควรแก่เหตุ

3.การให้ทานแก่ ผู้ไม่หุงหากิน นั้น นับว่าเป็นสุดเขต ของการให้ทานที่แยกจาก

การประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม คือในชั้นนี้ ผู้ให้ ยังแบ่งแยกว่า เราให้ทานแก่ผู้

ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม การให้ทานในชั้นที่สูงไปกว่านี้ ผู้ให้ได้ริเริ่มที่จะน้อม

นำจริยาของผู้ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม นั้น เข้ามาสู่ตน ผลแห่งทานนั้นๆ จึง

ละเอียดประณีตอย่างยิ่ง

ส่วนการให้ ในชั้นที่ให้เพื่อเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต ซึ่งเป็นการให้ชั้นสูงสุดนั้น

จะทำให้จิตละเอียดประณีต ได้อย่างไร อ.ประเชิญ ได้อธิบายไว้แล้ว ความเห็นที่ 1

หากพิจารณาใน ขุททกนิกาย อปทาน จะเห็นได้ว่า ก่อนที่จะบรรลุธรรมเป็นพระ

อริยบุคคล โดยมาก ท่านเหล่านั้นได้บำเพ็ญทานในท่านผู้ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม

เป็นประเดิม แล้วกุศลกรรมอื่นๆ ก็เจริญขึ้น ติดตามมาโดยลำดับ

และเหตุหนึ่งที่กล่าวได้ว่า ทานที่ให้ ก่อให้เกิดผลชั้นสูง (เกินกว่าผลแห่งทานกุศล)

เพราะว่า ทานนั้นทำให้ได้พบเห็น ได้นั่งใกล้ ผู้รับซึ่งเป็นผู้ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม

จึงมีผลประเสริฐยิ่งคือน้อมนำให้ ผู้ให้ทานนั้นเอง ได้พลอยประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม

ตามผู้รับทาน ไป โดย ละเอียดขึ้นประณีตขึ้นตามลำดับ ดังพระพุทธวจนะ ที่ว่า

มิตรดีเป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้น

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
wannee.s
วันที่ 6 มิ.ย. 2552

1. ศึกษาพระอภิธรรม พระสูตรและพระวินัย จุดประสงค์เพื่อให้เข้าถึงธรรมะที่มีจริงใน

ขณะนี้ เช่น เห็นมีจริง เป็นวิถีจิตที่เกิดขึ้นโดยอาศัยตา และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ไม่

ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน

2. ในทานเพื่อปรุงแต่งจิตคือ ขณะทีให้ทานสติปัฏฐานเกิดประกอบด้วยปัญญาค่ะ

3. หมายถึงจิตที่เป็นโสภณธรรม

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
wirat.k
วันที่ 7 มิ.ย. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
คุณ
วันที่ 9 มิ.ย. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ