เมื่อจะกล่าวถึง...ความเป็นใหญ่ !

 
พุทธรักษา
วันที่  8 มิ.ย. 2552
หมายเลข  12609
อ่าน  931

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สนธนาธรรม ที่เขาเต่า ๑-๔ สิงหาคม ๒๕๓๗

ท่านผู้ฟัง บางขณะ"สติ" ระลึก ตรง "ลักษณะของเจตสิก" เพียงอย่างเดียว "เจตสิก" ก็เป็นใหญ่ เป็นประธาน ในการ รู้ อารมณ์ ได้ ใช่ไหมครับ

ท่านอาจารย์ "เจตสิก" รู้ อารมณ์ แต่ "เจตสิก" ไม่ได้เป็นใหญ่ ในการ รู้ "ลักษณะของอารมณ์" เช่นเดียวกับที่ "จิต" รู้ เปรียบเสมือน ในชั้นเรียนมีหัวหน้าชั้นซึ่ง ไม่ใช่ว่า จะเป็นหัวหน้าชั้น ทุกคน "เจตสิก" รู้ อารมณ์แต่ไม่ได้เป็นใหญ่ในการ รู้ อารมณ์ เพียงแค่นี้ก็ต้องมีการพิจารณา เพื่อ "ความเข้าใจ" ที่ว่า "จิตเป็นใหญ่ในการรู้อารมณ์" นั้นเป็นใหญ่ อย่างไร ถ้าไม่มี "การพิจารณา" ก็ผ่านไป โดยที่ "ไม่มีความเข้าใจ" อะไรเลย คือ "ไม่เกื้อกูลความเข้าใจ" ในขณะที่ "เห็น" (เป็นต้น) "ไม่เกื้อกูลความเข้าใจ" เพราะว่า ไม่เข้าใจ ว่า "การเห็น" คือ "จิต" ประเภทหนึ่ง ขณะที่ "จิตเห็น" เกิดขึ้น "จิตเห็น" เป็น สภาพที่เป็นใหญ่ ในการ รู้ "สิ่งที่ปรากฏทางตา" เช่น "จิตเห็น" ต่างกับ "จิตได้ยิน" และ จิตอื่นๆ โดยการ "รู้แจ้งอารมณ์" ที่ปรากฏกับ "จิตแต่ละประเภท" นั้นๆ ส่วน "เจตสิกที่เกิดร่วมกับจิตเห็น" นั้นมีกิจ คือ "รู้อารมณ์เดียวกัน" แต่ ไม่เป็นใหญ่ ในการ "รู้แจ้งอารมณ์ของจิต" (อารมณ์ของ "จิต" เช่น สี เสียง กลิ่น ฯ เป็นต้น)

เพราะฉะนั้น "การเข้าใจ" คำ ว่า เป็นใหญ่ อย่างไร หมายความว่า ขณะนี้ ที่กำลัง "เห็น" .. "จิตเห็น" รู้ อารมณ์ คือ "สิ่งที่ปรากฏทางตา" โดย "ผัสสเจตสิก" ทำกิจกระทบ เป็น "ปัจจัย" ทำให้เกิด "จิตเห็น" แต่ "ผัสสเจตสิก" ไม่ได้ทำกิจ "เห็น" และ ไม่ได้เป็นใหญ่ ในการ รู้ "สิ่งที่ปรากฏทางตา" ดังนั้น "จิตเห็น" จึงเป็นใหญ่ ในการ รู้ "สิ่งที่ปรากฏทางตา" แต่ "ผัสสเจตสิก" รู้ อารมณ์ โดยการกระทบ และ ถ้า "ผัสสเจตสิก" ไม่ทำกิจกระทบอารมณ์ "จิตเห็น" ก็เกิดขึ้น รู้ "สิ่งที่ปรากฏทางตา" ไม่ได้ "ผัสสเจตสิก" ไม่ได้เป็นใหญ่ ในการ รู้ "สิ่งที่ปรากฏทางตา" เป็นเพียง "ปัจจัย" ที่ทำให้เกิด "จิตเห็น"

"จิตเห็น" จึงเป็นใหญ่ ในการรู้ "สิ่งที่ปรากฏทางตา" ส่วน "เวทนาเจตสิก" นั้นเมื่อมี "ลักษณะ" ปรากฏ กับ "สติ" ขณะใด ขณะนั้น "เวทนาเจตสิก" ก็เป็นใหญ่ในการ "รู้สึก" คือ "รู้สึก" สุข (สุขเวทนา) "รู้สึก" ทุกข์ (ทุกขเวทนา) "รู้สึก" เฉยๆ (อทุกขมสุขเวทนา) เพราะฉะนั้น "เวทนาเจตสิก" .. "เป็นใหญ่" ใน "การรู้สึก" เท่านั้น

สภาพธรรมใดๆ จะเป็นใหญ่ใน "การรู้สึก" เท่ากับ "เวทนาเจตสิก" ไม่ได้ เพราะว่า "เวทนาเจตสิก" เป็น "สภาพธรรมที่รู้สึก" ในอารมณ์ ที่มากระทบ ฉะนั้น ในขณะที่กำลังเห็น "จิตเห็น" เป็นใหญ่ ในการ "รู้อารมณ์" "อารมณ์ของจิตเห็น" คือ "สิ่งที่ปรากฏทางตา" ส่วน "เวทนาเจตสิก" ที่เกิดร่วมกับ "จิตเห็น" ขณะนั้นเป็นใหญ่ ใน "การรู้สึก" คือ ความรู้สึกทุกข์ สุข หรือ เฉยๆ (จิตอื่นๆ เช่น จิตได้กลิ่น จิตได้ยิน ฯ ก็โดยนัยเดียวกัน) เพราะฉะนั้น เมื่อกล่าวถึง "ความเป็นใหญ๋" ก็ต้องกล่าวด้วย ว่า เป็นใหญ่ อย่างไร

"จิต" เป็นใหญ่ ในการ "รู้แจ้ง" ลักษณะ ที่ต่างๆ กัน ของอารมณ์ ส่วน "เจตสิก" เช่น "เวทนาเจตสิก" นั้นไม่ได้ "รู้แจ้ง" ลักษณะที่ต่างๆ กันของอารมณ์ แต่ว่าสภาพธรรม ที่เป็น "จิต" และ "เจตสิก" ทุกประเภท เป็น "นามธรรม" และ "ต้องรู้อารมณ์" ตามกิจ ตามหน้าที่ เฉพาะ ของตนๆ ท่านผู้ฟัง "รู้สึก" อย่างไร ขณะที่ "จิตรู้อารมณ์"

"เวทนา" ในขณะที่จิตรู้อารมณ์นั้น ท่านผู้ฟัง "รู้สึก" อย่างไร เช่น ขณะที่ ท่านผู้ฟัง กำลังได้กลิ่นเหม็นมี "อารมณ์" ที่ กำลังปรากฏ ให้ "จิต" รู้ "ลักษณะเหม็น" ใน ขณะนั้น "ความรู้สึก" ในขณะนั้น มีไหม มี "กลิ่น" เป็น "อารมณ์" ใช่ไหม ในขณะที่ ท่านผู้ฟัง "รู้สึกไม่ชอบกลิ่น" .. "ความรู้สึกไม่ชอบ" กลิ่น ที่กำลังปรากฏขณะนั้น คือ "ลักษณะของเวทนาเจตสิก" หมายความว่า ขณะนั้น "เวทนาเจตสิก" กำลัง มี "กลิ่น" เป็น "อารมณ์" ขณะนั้น "ตัวธรรมะจริงๆ " คือ "เวทนาเจตสิก" ซึ่งกำลังเป็นใหญ่ ใน "การรู้สึก" ต่อ "อารมณ์" ที่กำลัง ปรากฏ ในขณะ นั้นๆ ปรากฏ เป็น "ความรู้สึกไม่สบายใจ" ใช่ไหมคะ ขณะนั้น คือ "ลักษณะของทุกขเวทนา" แต่ว่า"ตัวธรรมะจริงๆ " ที่ รู้ กลิ่นคือ "จิตได้กลิ่น" (ฆานวิญญาณจิต) "จิตได้กลิ่น" เป็นใหญ่ เป็นประธาน ในการ "รู้แจ้งกลิ่น" การ "รู้แจ้งกลิ่น" หมายความ ว่า"ลักษณะที่เหม็น" ที่กำลังปรากฏ ในขณะนั้น มี "ลักษณะเหม็น" อย่างไร เหม็นขยะ หรือ เหม็นอย่างอื่น ฯลฯ เหม็นไม่เหมือนกัน ใช่ไหมคะ "ลักษณะของกลิ่นเหม็น" ก็มีต่างๆ กันไป ในขณะที่ "จิตรู้แจ้งกลิ่นเหม็นอย่างนี้" คือ ขณะที่ "จิตรู้แจ้ง" ... "ลักษณะ" ที่เหม็น อย่างนี้ไม่ใช่ เหม็น อย่างอื่น เพราะว่า "ลักษณะ" ที่เหม็น ก็มีหลาย เหม็น

เพราะฉะนั้น ต้อง "เข้าใจ" ว่า"ลักษณะที่รู้แจ้ง" กลิ่น คือ "จิต" .. "จิต" รู้แจ้ง ว่า เป็นกลิ่นเหม็นแบบไหน แต่ว่า "ลักษณะ" ที่ "รู้สึก" ไม่พอใจ ไม่ชอบ ไม่สบาย ขณะนั้นคือ "เวทนาเจตสิก" หมายวามว่า ขณะนั้น "เวทนาเจตสิก" กำลังเป็นใหญ่ ในการ "รู้สึกไม่สบาย" (เป็นต้น)

ท่านผู้ฟัง แล้ว "เวทนา" เป็นสภาพรู้ อย่างไร

ท่านอาจารย์ ถ้าไม่รู้ จะ"รู้สึกไม่สบายใจ" หรือเปล่าคะ ขณะที่ มี "กลิ่น" ปรากฏ เป็นอารมณ์ "จิต" ไม่ได้รู้แจ้ง "ความรู้สึกที่มีต่อกลิ่นนั้น" แต่ว่า "จิต" รู้แจ้ง "ลักษณะของกลิ่น" .. "นามธรรมทั้งหมด" รู้ อารมณ์ แต่ รู้ ต่างกัน เช่น "สัญญาเจตสิก" มีกิจหน้าที่ คือ "จำ" ถ้าไม่รู้ ก็จำไม่ได้ (เป็นต้น) การรู้อารมณ์ รู้ โดย "จำ" (คือสัญญาเจตสิกที่เกิดร่วมกับจิต) รู้ โดย "รู้สึก" (คือ เวทนาเจตสิกที่เกิดร่วมกับจิต ได้แก่ ความรู้สึก ทุกข์ สุข เฉยๆ ) หรือว่า รู้ โดย รู้แจ้ง "สภาพรู้ ลักษณะที่ต่างกัน ของอารมณ์" (คือ การรู้อารมณ์ของจิตเห็น จิตได้ยิน เป็นต้น) คือ "การศึกษา" ศึกษาแล้ว ต้องคิด ต้องพิจารณา ถ้าไม่คิด ไม่พิจารณา ในสิ่งที่ศึกษา ก็ไม่มีทางที่จะ "เข้าใจ" ในสิ่งที่ศึกษา และ เมื่อ "ไม่มีความเข้าใจ" การศึกษา ก็ จะผ่านไป โดย ไม่ได้ "มีความรู้" อะไรเลย


"ขออนุโมทนา ท่าน ... ผู้เอื้อเฟื้อรูปภาพ ค่ะ"

... ขออนุโมทนา ...


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
h_peijen
วันที่ 8 มิ.ย. 2552

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 8 มิ.ย. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
Sam
วันที่ 9 มิ.ย. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 9 มิ.ย. 2552
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
hadezz
วันที่ 15 มิ.ย. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
chatchai.k
วันที่ 18 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ