ลักษณะของการรู้แจ้งอารมณ์...๑
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
สนธนาธรรม ที่เขาเต่า ๑-๔ สิงหาคม ๒๕๓๗
ท่านผู้ฟัง "สติ" ระลึก อะไร ก็ต้องทีละอย่าง
ท่านอาจารย์ เรากำลังเรียนอะไร เราก็เรียน เป็นตอนๆ ให้ "เข้าใจ" เป็น เรื่องๆ ถ้า อะไร ไม่ปรากฏ "สติ" ระลึก ไม่ได้ เช่น ถ้าหาก "ความรู้สึกของท่านผู้ฟัง" ไม่ปรากฏ เป็น "ความไม่สบายใจ" ท่านผู้ฟัง ก็ ระลึก ตรง "ลักษณะ" ของ"ความรู้สึกไม่สบายใจ" ไม่ได้ แต่ถ้า ท่านผู้ฟัง กำลัง ไม่สบายใจ "ความไม่สบายใจ" คือ "ลักษณะ" ของ "เวทนาเจตสิก" ที่กำลังปรากฏ เป็น "ทุกขเวทนา" ซึ่ง "สติ" สามารถที่จะ ระลึก ตรง "ลักษณะของทุกขเวทนา" ที่กำลังปรากฏ ในขณะนั้น ได้
เพราะฉะนั้น สภาพธรรม ใดๆ ก็ตาม ที่กำลังปรากฏใช้คำว่า "อะไรก็ตาม ที่ ปรากฏ" .. "สติ" ระลึก ตรง "ลักษณะ" ของ "สิ่งที่ปรากฏ" นั้น และ ถ้าสิ่งนั้น ไม่ปรากฏ "สติ" ก็ระลึก ตรง "ลักษณะ" ของ สิ่งนั้น ไม่ได้ แม้ว่า สิ่งนั้น มี "สติ" ก็ ระลึก ไม่ได้ เพราะว่า สิ่งนั้น ไม่ปรากฏ กับ "สติ" เพราะฉะนั้น ถ้าเราสามารถ "เข้าใจ" ทุกอย่าง ที่เราอ่านเมื่อนั้น ก็ เป็น "ปัญญา" แล้ว แต่ ถ้า เราไปอ่าน "เรื่องราว" ก็ ไม่ใช่ "ปัญญา"
จะอ่านไปกี่ปี ก็ ไม่ "เข้าใจ" และ ไม่ใช่ "ปัญญา" .. "การรู้แจ้งอารมณ์" ก็ จำกัด อยู่แล้ว ว่า ไม่ใช่ รู้ อย่างอื่นคือ จะต้อง รู้ "ลักษณะ" ของ "อารมณ์" "อารมณ์" ก็มี "ลักษณะ" ที่ต่างๆ กัน ออกไป เช่น "เสียง" ก็มีตั้งหลายอย่าง แตกต่างกัน มากมาย ไม่เหมือนกันแล้วใครจะไปรู้ "ความต่างกัน" ของเสียงแต่ละเสียงได้ถ้า ไม่ใช่ "จิต" แม้ว่า "เสียง" บางอย่าง อาจจะคล้ายคลึงกัน แต่ "จิต" ก็สามารถที่จะ "รู้แจ้งความต่างกันของเสียง" ได้
เพราะฉะนั้น จึงมี "สัญญาเจตสิก"ที่ทำกิจ "จำ" คือ จำเสียงที่ต่างๆ กัน นั้น และ เมื่อ ครั้งต่อไป ที่ ได้ยินเสียงนั้น อีก "จิต ก็รู้ทันที ว่า เป็นเสียงอะไร เพราะเหตุว่า "ความจำ" คือ "สัญญาเจตสิก" ที่ จำเอาไว้ พร้อมกับ "การรู้แจ้งของจิต" ถ้า "จิต" ไม่รู้แจ้ง "อารมณ์ที่ต่างกัน" ก็จะเหมือนๆ กันไปหมด แต่ เป็น เพราะว่า "จิต" เป็น "สภาพธรรมที่รู้แจ้งในความต่าง"
ท่านผู้ฟัง แล้ว สิ่งที่ปรากฏทางตา?
ท่านอาจารย์ ท่านผู้ฟัง รู้ไหมคะ? ว่า แก้ว กับ เพชร นั้น ต่างกัน และ ถ้า ไม่มี "การเห็น" ไม่มี "การรู้แจ้งในลักษณะนั้นๆ " จะมีการเปรียบเทียบได้ไหม ว่าแก้ว กับ เพชรต่างกันอย่างไร
ท่านผู้ฟัง แล้ว "สี" ล่ะครับ สีเหลือง สีแดง สีเขียว ฯลฯ
ท่านอาจารย์ "จิต" รู้แจ้ง "ลักษณะของอารมณ์" .. "อารมณ์"เป็นอย่างไร "จิต" ก็รู้แจ้ง "อารมณ์อย่างนั้น" ไม่ว่าจะเป็น สีดำ ที่ดำมาก หรือ ดำน้อย หรือ จะเป็น สีอะไรๆ ก็ตามแต่ "จิต" ก็ "รู้แจ้ง" ในสิ่งที่กำลังปรากฏ."จิต" เป็น "สภาพรู้ชัด" ในสิ่งที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้น ถ้า เป็น "ปัญญา" .. "ปัญญา" จะ "รู้ตามความเป็นจริง"ของ สภาพธรรม ที่กำลัง ปรากฏคือ รู้ ว่า "รูป" ก็ คือ "รูป" รู้ ว่า "รูป" ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล และ รู้ ว่า "ปัญญา" เป็น "เจตสิก" ซึ่งไม่ใช่ "จิต"
เพราะว่า "จิต" เป็นใหญ่ เป็นประธาน ใน "การรู้แจ้งอารมณ์" ส่วน "ปัญญา" เป็น "เจตสิก" และ เป็น "ปัญญินทรีย์" ด้วย "ตัวธรรมะ" คือ "จิต" เพียง "รู้แจ้งในลักษณะของอารมณ์" แต่เพราะว่า "จิตรู้แจ้งอารมณ์" .. "ปัญญาเจตสิก" ก็ "รู้อามณ์" ในขณะที่ "จิต" มี "นิพพาน" เป็น "อารมณ์" ขณะนั้น "จิตรู้แจ้งลักษณะของนิพพาน" แต่ "ปัญญาเจตสิก" รู้ ใน สภาพของ "นิพพาน" ไม่ใช่รู้ใน "สภาพธรรมอื่น" หมายความว่า "ปัญญาเจตสิก" รู้ มากกว่า "จิต" เพราะว่า "ปัญญาเจตสิก" เข้าใจถูกต้อง ในสภาพธรรม ตามความเป็นจริง แต่ "จิต" เพียง "รู้แจ้งในลักษณะของอารมณ์"
"ขออนุโมทนา ท่าน ... เอื้อเฟื้อรูปภาพ ค่ะ"
... ขออนุโมทนา ...
"ปัญญาเจตสิก" รู้ มากกว่า "จิต" เพราะว่า "ปัญญาเจตสิก" เข้าใจถูกต้อง ในสภาพธรรม ตามความเป็นจริง แต่ "จิต" เพียง "รู้แจ้งในลักษณะของอารมณ์"
ขออนุโมทนาครับ
ธรรมชาติของจิตรู้แจ้งอารมณ์
ปัญญาเจตสิกรู้ถูกในอารมณ์ที่ปรากฎตรงตามความเป็นจริง
ขออนุโมทนาค่ะ
เพราะฉะนั้นถ้าเราสามารถ "เข้าใจ" ทุกอย่าง ที่เราอ่านเมื่อนั้น ก็ เป็น "ปัญญา" แล้ว.!แต่ ถ้า เราไปอ่าน "เรื่องราว" ก็ ไม่ใช่ "ปัญญา" จะอ่านไปกี่ปี ... ก็ ไม่ "เข้าใจ" และ ไม่ใช่ "ปัญญา"
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
ความเข้าใจ ... คือ ปัญญา นั่นเองเพราะ "ปัญญา" เป็นภาษาบาลีและ ความเข้าใจ มีหลายระดับ ค่ะ เพราะฉะนั้น "ปัญญา" จึงมีหลายระดับ ท่านผู้รู้ กล่าว่า คำว่า "สันโดษ ใน ปริยัติ" หมายความว่า ศึกษาปริยัติ แล้ว เข้าใจ แค่ไหนก็ เข้าใจ เท่าที่ เข้าใจได้ แค่นั้นก่อน ตามกำลัง ตามเหตุ ตามปัจจัย ไม่เดือดร้อน ... แต่ ไม่ทอดธุระ ว่า ศึกษาพอแล้ว ค่ะ
ขออนุโมทนาค่ะ