รบกวนสอบถามผู้รู้ค่ะ

 
fam
วันที่  12 มิ.ย. 2552
หมายเลข  12640
อ่าน  842

ได้อ่านหนังสือปรมัตถธรรมสังเขปมีข้อสงสัยขอรบกวนสอบถามท่านผู้รู้ดังนี้คะ

- ผัสสเจตสิกเป็นเหตุหรือเป็นนเหตุ

เป็นอเหตุกะหรือสเหตุกะ

เป็นเอกเหตุกะหรือทวิเหตุกะหรือติเหตุกะ

ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความกระจ่างค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 12 มิ.ย. 2552

ผัสสเจตสิกเป็น นเหตุ เพราะไม่ใช่เหตุ ๖

ผัสสเจตสิกเป็น ทั้งอเหตุกะและสเหตุกะ เกิดกับจิตประเภทใดก็เป็นประเภทนั้น

ผัสสเจตสิกเป็นทั้งเอกเหตุกะและทวิเหตุกะและติเหตุกะ ตามประเภทของจิตนั้นๆ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 12 มิ.ย. 2552

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สภาพธรรมที่เป็นเหตุ ได้แก่ เจตสิก ๖ ประเภท คือ โลภเจตสิก โทสเจตสิก โมหเจตสิก, อโลภเจตสิก อโทสเจตสิก และ อโมหะ (คือ ปัญญาเจตสิก) ดังนั้นผัสสะ จึงเป็น เหตุ เพราะ ไม่ใช่เหตุหนึ่งเหตุใดในบรรดาเหตุ ๖ ดังกล่าวนั้น

ผัสสเจตสิก เป็นสภาพธรรมที่กระทบอารมณ์ เป็นเจตสิกที่เกิดร่วมกับจิตทุกประเภทเกิดร่วมกับจิตทุกชาติ ไม่ว่าจะเป็นชาติกุศล ชาติอกุศล ชาติวิบาก หรือ ชาติกิริยาเกิดร่วมกับจิตประเภทใดก็มีความเสมอกันกับจิตประเภทนั้น ผัสสเจตสิก เมื่อเกิดร่วมกับจิตที่ไม่มีเหตุเจตสิกเกิดร่วมด้วย ก็เป็น อเหตุกะ เช่นผัสสเจตสิกที่เกิดร่วมกับจิตเห็น (จักขุวิญญาณ) ซึ่งเป็นอเหตุกจิต ผัสสเจตสิก จึงเป็นเหตุกะ , ถ้าเกิดร่วมกับจิตที่มีเหตุเกิดร่วมด้วย เช่น เกิดร่วมกับกุศลจิต (กุศลจิตอย่างน้อยต้องมีเหตุ ๒ เกิดร่วมด้วย คือ อโลภเหตุ และ อโทสเหตุ ถ้ามีปัญญาเกิดร่วมด้วย ก็มีเหตุ ๓) ผัสสเจตสิก ก็เป็น สเหตุกะ คือ มีเหตุเกิดร่วมด้วย ถ้ากุศลจิตประเภทนั้น มีเหตุ ๒ เกิดร่วมด้วย ผัสสเจสติก ก็เป็น ทวิเหตุกะ และ ถ้ากุศลจิตประเภทนั้น ประกอบด้วยเหตุ ๓ คือ มีปัญญาเกิดร่วมด้วย ผัสสเจตสิก ก็เป็น ติเหตุกะ สำหรับจิตที่มีเหตุเดียวเกิดร่วมด้วย มีเพียงประเภทเดียวเท่านั้น คือ โมหมูลจิต (จิตที่มีโมหะเป็นมูล) เมื่อผัสสเจตสิกเกิดร่วมกับ โมหมูลจิต นี้ ผัสสเจตสิก ก็เป็นเอกเหตุกะ, ส่วนจิตที่เป็นอกุศลประเภทอื่น คือ โลภมูลจิต กับ โทสมูลจิต นั้น มีเหตุเกิดร่วมด้วย ๒ เหตุ กล่าวคือ โลภมูลจิต มี โลภเหตุ กับ โมหเหตุ เกิดร่วมด้วย, โทส-มูลจิต มีโทสเหตุ และ โมหเหตุ เกิดร่วมด้วย ดังนั้น เมื่อผัสสเจตสิก เกิดร่วมกับอกุศลจิต ๒ ประเภทนี้ ผัสสเจตสิก ก็เป็น ทวิเหตุกะ ดังนั้น ผัสสเจตสิก จึงเป็นได้ ทั้ง อเหตุกะ สเหตุกะ เอกเหตุกะ ทวิเหตุกะติเหตุกะ ขึ้นอยู่กับว่าผัสสเจตสิกจะเกิดร่วมกับจิตประเภทใด ครับ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
Sam
วันที่ 12 มิ.ย. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 12 มิ.ย. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
paderm
วันที่ 12 มิ.ย. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ปริศนา
วันที่ 13 มิ.ย. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
wannee.s
วันที่ 13 มิ.ย. 2552

ลักขณาทิจตุกกะ ผัสสะ

1. มีการกระทบ เป็นลักษณะ

2. มีการประสาน เป็นกิจ

3. มีการประชุม เป็นผล

4. มีอายตนะ 6 เป็นเหตุใกล้ ฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
fam
วันที่ 15 มิ.ย. 2552

ขออนุโมทนาบุญในกุศลจิตของทุกท่านที่กรุณาตอบคำถามค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
สุภาพร
วันที่ 26 มิ.ย. 2552
ขอขอบพระคุณและอนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
ปริศนา
วันที่ 26 มิ.ย. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ