ความคลาดเคลื่อนในเรื่องของการปฏิบัติ
ข้อความบางตอนจากชุดเทปวิทยุ แผ่นที่ 2 ครั้งที่ 69
พระผู้มีพระภาคตรัสคาถาประพันธ์ ดังนี้ ว่า
อริยสาวกใด เห็นขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้ว และธรรมเป็นเครื่องก้าวล่วงขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้ว
โดยความเป็นจริง ย่อมน้อมไปในนิพพาน ตามความเป็นจริง เพราะภวตัณหาหมดสิ้น
ไป ถ้าว่าอริยสาวกนั้น กำหนดรู้ขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้ว ปราศจากตัณหาในภพน้อย และ
ภพใหญ่แล้วไซร้ ภิกษุทั้งหลาย ย่อมไม่มาสู่ภพใหม่ เพราะความไม่เกิดแห่งอัตตภาพ
ที่เกิดแล้ว เนื้อความแม้นี้ พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมา
แล้ว ฉะนี้แล
นี่เป็นข้อความในพระสูตร ซึ่งแสดงให้เห็นว่าทรงอนุเคราะห์ ทรงอุปการะ ผู้ที่
อาจจะเข้าใจไขว้เขว คลาดเคลื่อนในเรื่องของการปฏิบัติ ไม่ว่าในสมัยใดทั้ง-
สิ้น เพราะพระองค์ทรงมีพระมหากรุณา ทรงมีพระสัพพัญญุตญาณรู้ว่า หลัง
ปรินิพพาน พระสัทธรรมนั้นย่อมเสื่อม ย่อมคลาดเคลื่อนได้ เพราะฉะนั้นจึงได้
ทรงแสดงธรรมอนุเคราะห์ไว้ด้วยประการต่างๆ แม้ในเรื่องของการเจริญสติ เห็นขันธ์
๕ ที่เกิดแล้ว เวลานี้ กำลังนั่งอยู่ที่นี่ ขันธ์ ๕ ใดปรากฏ ย่อมเป็นขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้ว
เพราะเหตุปัจจัย ถ้าไม่เกิดจะปรากฏไม่ได้ การเจริญสติ ระลึกรู้ลักษณะของขันธ์ ๕
ที่เกิดแล้วปรากฏในขณะนี้ อย่าน้อมไป โน้มไปด้วยอวิชชาและอภิชฌา ถึงขันธ์ ๕ ที่
ยังไม่เกิด ถ้าเป็นโดยลักษณะนั้นแล้วล่ะก็ ไม่ใช่การเห็นขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้ว
ถ. ...........
สุ. จำอะไรไม่ได้ ความจริง จำแล้วทีละนิดทีละหน่อย ก็เลยรู้สึกว่าน้อย จนกระทั่ง
บางครั้งเหมือนจำไม่ได้ แต่ความจริงในขณะที่เห็น มีสภาพนามธรรมชนิดหนึ่ง ซึ่ง
เกิดพร้อมกับจิต แล้วก็จำอารมณ์ที่ปรากฏในขณะนั้น พอถึงทางหู ขณะที่จำได้ ไม่ใช่รูป รูปเย็น รูปร้อน รูปอ่อน รูปแข็ง รูปไหว รูปตึง แต่ว่าสภาพที่จำได้นั้น เป็น
นามธรรมชนิดหนึ่ง ก็ไม่ใช่ตัวตน ไม่ได้จำได้ตลอดเวลา จำทางหูก็ดับไป ในขณะ
นั้นมีสติเกิดขึ้นระลึกรู้ว่า ที่จำนั้นก็เป็นนามธรรมชนิดหนึ่ง แล้วก็หมด ไม่ได้จำอยู่
ตลอดเวลา ก็มีนามอื่น รูปอื่นต่อไป ที่นึกนั้น ก็เป็นนามธรรม มีสติระลึกรู้ลักษณะ
ของนามและรูป อะไรก็ได้ ขณะไหนก็ได้ ที่ไหนก็ได้ ทุกอย่างตามปกติ ไม่ว่าจะนั่ง
จะนอน จะยืน จะเดิน จะพูด จะคิด จะยิ้ม จะขับรถ ท่านก็เป็นผู้เจริญสติ รู้ลักษณะของ
นามและรูป มากขึ้น จนกระทั่งหมดความสงสัยในลักษณะของนามและรูป
ขอกราบอนุโมทนาท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ค่ะ
ปฏิบัติ หรือ ปฏิปทา...ในพระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 36กล่าวว่า
. สิ่งใดสิ่งหนึ่งอันบุคคลปรารถนาวิวัฏฏะ คือพระนิพพาน ปฏิบัติ โดยที่สุดถวายทานเพียงข้าวยาคูกระบวยหนึ่งก็ดีเพียงถวายใบไม้กำมือหนึ่งก็ดี สิ่งทั้งหมดนั้นจัดเป็นสัมมาปฏิปทาโดยแท้เพราะเป็นฝ่ายวิวัฏฏะ
เชิญคลิกอ่านเพิ่มเติม...ปฏิปทา ๒ [ปฏิปทาสูตร]
และสติปัฏฐานเป็นทางสายเดียวที่ไปสู่วิวัฏฏะ
ขออนุโมทนาค่ะ