อย่างนี้.....ทรัพย์สมบัติมหาศาล ก็ซื้อไม่ได้ !
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
สนธนาธรรม ที่เขาเต่า ๑-๔ สิงหาคม ๒๕๓๗
ท่านอาจารย์ เมื่อใด ที่ "สติ" เกิด ... ระลึก ได้เมื่อนั้น "สติ" ทำหน้าที่ ครอบงำ "ธรรม" ที่เป็นความประมาท ทั้งหมด ขณะที่ "สติ" เกิด ระลึกได้หาก ยิ่งเกิดความชำนาญ ยิ่งคล่องแคล่ว ขณะนั้น เป็น พละ "สติ" เป็น "พละ" ไม่ว่า จะเป็น สภาพธรรมใดๆ "สติ" ระลึกได้ ทั้งหมด นี่ คือ "ธรรมของจริง" ในชีวิตประจำวัน ซึ่ง "สติ" เท่านั้นที่สามารถ ระลึก "ลักษณะ" นั้นๆ ได้ แม้แต่ ความคิด ด้วย "มานะ" ว่า "ใครจะมีโอกาสรู้อย่างนี้" ก็เป็น "ธรรมะ" ไม่ใช่เรา ใคร จะมีโอกาส ไม่ใช่เรา
เพราะฉะนั้นเราสามารถเห็น ตามความเป็นจริง ว่าความยาก ของ พระธรรมมีอย่างนี้ แต่ ทุกอย่าง ที่ว่า ยากอีก ๑๐ ปี ก็ง่ายขึ้นได้ เพราะ "เหตุ" คือ "สติ" ระลึก ตรง "ลักษณะ" ของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามปกติ ตามความเป็นจริงในชีวิตประจำวัน โดยที่ ไม่ขาดการฟัง การศึกษา การพิจารณาและ ค่อยๆ เข้าใจขึ้นๆ จนกว่า "สติ" ค่อยๆ เกิดขึ้น จนกว่าจะชินขึ้นๆ ที่สำคัญ คือ ค่อยๆ เข้าใจ "จับด้ามมีด" คือ อย่างนี้
ความเข้าใจ นั้น ต้องเริ่มด้วย ความเข้าใจ "ลักษณะ" ของ นามธรรม และ รูปธรรมเข้าใจ "ลักษณะ" ของ จิต เจตสิก รูปประกอบกัน จนกว่าจะ "เข้าใจจริงๆ "จนกระทั่งสามารถ ละ ความยึดถือ ว่า "เป็นตัวตน" ออกได้ เพราะ เข้าใจ จริงๆ ว่า สภาพธรรมคือ จิต เจตสิก รูปหรือ นามธรรม และ รูปธรรม เท่านั้นที่กำลังทำกิจ หน้าที่ของตนๆ ตามเหตุ ตามปัจจัย
ไม่มีใครบังคับบัญชา และมีอยู่แล้ว ในชีวิตประจำวันนี้เองซึ่ง "สติ" สามารถ ระลึกรู้ "ลักษณะ"ของ สภาพธรรม ที่เกิดขึ้นได้ เมื่อ "สติ" เกิด ระลึก ได้.เพราะฉะนั้นความเข้าใจ "ลักษณะ" ไม่ใช่ เข้าใจเพียง "ชื่อ" แม้จิต จะเปลี่ยนไป เปลี่ยนมา คือเป็นกุศลบ้างเป็นอกุศลบ้างเป็นวิบากบ้าง. แต่สิ่งใด ที่หมดไปแล้ว ก็หมดไปแล้ว สบายมาก ไม่ต้องกังวลไม่ต้องไปนึกถึงแต่นึกถึง ด้วย กุศลจิต ได้ หมายความว่าถ้านึกถึง ด้วย "อกุศลจิต"ก็จะเป็น "การสะสมอกุศล"
อย่างนี้ ทรัพย์สมบัติมหาศาล ก็ซื้อไม่ได้ และ เป็นเรื่องของ "การอบรม" จริงๆ เป็น "บุญ" ของใครก็ตาม ที่สะสมมาที่จะมี สัทธา ที่จะมี การฟังพระธรรม และมี "ความเข้าใจในพระธรรม" ที่ได้ฟัง
... ขออนุโมทนา ...
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 485
[๔๐๔] ๑๕๘. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเจริญ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความเจริญด้วยอามิส ๑ ความเจริญด้วยธรรม ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาความเจริญ ๒ อย่างนี้ ความเจริญด้วยธรรมเป็นเลิศ
ไม่ว่าเราจะเสื่อมญาติ เสื่อมลาภ เสื่อมทรัพย์ ก็ไม่ชั่วร้ายเหมือนกับการเสื่อมปัญญาค่ะ