ทำไมสุตตและจินตามยปัญญาถึงละกิเลสไม่ได้
ควรทราบว่าสุตมยปัญญาและจินตามยปัญญาเป็นโลกียปัญญาโลกียปัญญาไม่สามารถดับกิเลสเป็นสมุจเฉทได้ ภาวนามยปัญญา
ระดับโลกียก็เช่นกัน ส่วนโลกุตตรปัญญาเกิดขึ้นในขณะมรรคจิต
ย่อมดับกิเลสได้ครับ
ระดับโลกียก็ไม่สามารถดับกิเลสเป็นสมุจเฉทได้ แต่ขอทราบ
ความหมายโดยสังเขป ของภาวนามยปัญญาและโลกุตตรปัญญาเพิ่มเติมครับ
เพราะทุกวันนี้ก็ใช้แต่อ่าน สุตต และ จินตา ครับ แต่ภาวนาไม่รู้ว่าอะไรคือภาวนาครับ
ภาวนามยปัญญาคือปัญญาในขั้นการอบรมสมถและวิปัสสนาหรือสติปัฏฐานเมื่อสติปัฏฐานเกิดขึ้น ขณะนั้นปัญญาเกิดร่วมด้วย ปัญญานี้เรียกว่าปัญญาขั้น
ภาวนา ไม่ใช่ ขั้นสุตมยปัญญา หรือขั้นจินตามยปัญญา ครับ
ภาวนามยปัญญา เช่นขณะที่สติปัฏฐานเริ่มเกิด หรือวิปัสนาญาณที่ไม่ใช่โลกุตตรจิต
เป็นปัญญาขั้นโลกียะ
ภาวนามยปัญญาที่เกิดร่วมกับโลกุตตรจิต ได้แก่มรรคจิตและผลจิต เป็นปัญญาขั้น
โลกุตตระซึ่งมีนิพพานเป็นอารมณ์ สามารถดับกิเลสเป็นสมุจเฉทตามระดับปัญญา
ของพระอริยบุคคลแต่ละขั้น
สุตมยปัญญา จินตามยปัญญา เป็นปัจจัยให้ภาวนามยปัญญาเกิดขึ้น เจริญขึ้น
ภาวนามยปัญญาขั้นโลกียะที่เกิดขึ้น เจริญขึ้น เป็นปัจจัยให้ภาวนามยปัญญาขั้น
โลกุตตระเกิดขึ้นทำกิจดับกิเลสครับ
ในพระปิฏกก็มีแสดงไว้ เช่น ท่านพระสารีบุตร ท่านพระพาหิยะ ท่านพระมหากัปปินะ
และท่านสันตติมหาอำมาตย์ท่านเหล่านั้นได้ฟังธรรมะจากพระพุทธเจ้าได้บรรลุเป็น
พระอรหันต์ ท่านเหล่านั้นอบรมสั่งสมบารมีมาพร้อมด้วยเหตุปัจจัยและขณะนั้นก็มี
สุตมยปัญญา จินตามยปัญญา ภาวนามยปัญญาและโลกุตตรปัญญาต่อเนื่องกันค่ะ
ขอเพิ่มเติมจากความเห็นของท่านอื่นอีกนิดนึงนะคะ...........
การละอกุศลมี ๕ ประเภทดังนี้ค่ะ
๑. ตทังคปหาน (การละกิเลสได้ด้วยวิปัสสนาญาณขั้นต่างๆ )
๒. วิขัมภนปหาน (การละด้วยการข่มไว้ด้วยอุปจารและอัปปณาสมาธิ)
๓. สมุจเฉทปหาน (ได้แก่ขณะที่มรรคจิตเกิดขึ้นปหานกิเลส)
๔. สติปัสสัทธิปหาน (คือภาวะที่กิเลสถูกปราบเสร็จแล้วในขณะแห่งผลจิต)
๕. นิสสรณปหาน (คือนิพพาน เพราะสลัดออกซึ่งอสังขตธรรมทั้งปวง)
๑ และ ๒ เป็น โลกียปัญญา
๓, ๔ และ ๕ เป็น โลกุตรปัญญาค่ะ