ความเข้าใจ...ลักษณะของนามธาตุ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
สนธนาธรรม ที่เขาเต่า ๑-๔ สิงหาคม ๒๕๓๗
ท่านอาจารย์ มีพระพุทธเจ้า เป็น สรณะ ไม่ใช่สำหรับขอ แต่ สำหรับ ให้ "เข้าใจ" ให้ "เกิดปัญญา" และ ให้ "รู้สิ่งที่กำลังปรากฏ" มี พระธรรม เป็น สรณะ พระพุทธเจ้า ตรัสอย่างไร พระพุทธเจ้า สอน อย่างไร เราก็เป็นผู้ที่ ประพฤติ ปฏิบัติตาม มิฉะนั้นเราก็ไม่มี "ความเข้าใจ" อะไรเลย เราก็เป็นเพียงพูดตามว่า พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ... ถึงพระพุทธเจ้า เป็น สรณะ แต่ ไม่รู้จัก พระองค์ว่า พระองค์ตรัสรู้ ความจริง อย่างนี้ เพราะฉะนั้น "ไม่เข้าใจ" พระธรรม คำสอน ก็ไม่ได้ พึ่งพระรัตนตรัย จริงๆ แต่ กล่าวว่า พึ่งพระรัตนตรัย พระธรรม ที่ พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงไม่พ้นวิสัย ที่เราจะ ค่อยๆ "เข้าใจ" ได้ และ การที่จะ ประพฤติ ปฏิบัติตามได้ นั้นต้อง สืบเนื่องมาจาก "ความเข้าใจ" ถ้า "ไม่เข้าใจ" ก็ ประพฤติ ปฏิบัติตาม ไม่ได้ จริงๆ แล้ว ก็คือ "สติปัฏฐาน" นั่นเอง ค่อยๆ "เข้าใจ" ค่อยๆ "ระลึก" ไปเรื่อยๆ "สติปัฏฐาน" ระลึกรู้ได้ ทั้งนั้น อย่างเช่น ขณะที่ "กำลังเห็น" ขณะนี้ "สติปัฏฐาน" ระลึกรู้ "วิบากจิต" คือ ผลของกรรม หมายความว่า พอ "เห็น" แล้ว"สติ" ก็ระลึก ตรง "ลักษณะ" ของสภาพธรรมที่ "มีลักษณะ" ปรากฏให้จิต รู้ได้ ซึ่ง ก็คือ "ปรมัตถธรรม" นั่นเอง การระลึก ตรง "ลักษณะ" ที่เป็น "สภาพรู้"ที่กำลังปรากฏ ให้รู้ได้ ในขณะนั้น เพื่อให้ "เข้าใจ" ใน "ลักษณะของสภาพรู้" นั้น
ตามปกติ ตามความเป็นจริงว่า เป็น "สภาพธรรมชนิดหนึ่ง" ที่ มีจริงๆ และ เกิดขึ้น เพราะเหตุ-ปัจจัยแล้ว ดับไปทันทีไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ใดๆ เลย นี่ คือ "สติปัฏฐาน" สภาพรู้ มีจริง ถ้า "ไม่เข้าใจ" ใน "ลักษณะของสภาพรู้" ก็ ไม่ใช่ "สติปัฏฐาน" แต่ถ้า "เป็นสติปัฏฐาน" หมายความว่า มี "สภาพรู้" กำลังปรากฏแล้ว "เริ่มเข้าใจ" ใน "ลักษณะที่เป็นอาการรู้" .. "สภาพรู้" เป็นเพียง "ธาตุที่รู้" ไม่มีหน้าที่อื่นนอกจาก "รู้อารมณ์" เท่านั้น "สภาพรู้"ไม่มีรูปร่าง มีเพียง "อาการที่รู้" เช่นขณะที่ "เจ็บปวด" .. "ความเจ็บปวด" ไม่มีรูปร่าง "ความจำ" ก็ ไม่มีรูปร่าง เป็นต้น
อย่างเวลาที่เราพูดเรื่อง "ธาตุ" มี "ธาตุ" ตั้งหลายชนิด "ธาตุรู้"ก็เป็น "ธาตุชนิดหนึ่ง" ที่ต่างกับ "รูปธาตุ" เพราะ "นามธาตุ" เป็น "ธาตุรู้" เมื่อเกิดขึ้น ก็ต้อง "รู้อารมณ์" เช่น "การได้ยิน" เป็น อาการรู้ เป็น "ธาตุรู้" ส่วน "เสียง" เป็น "รูปธาตุ" ไม่ใช่ "ธาตุรู้" และ ไม่ใช่ "นามธาตุ" แต่ "เสียง" เป็น "อารมณ์" ของ "ธาตุรู้" ซึ่ง "ธาตุรู้" หรือ "นามธาตุ" ในขณะนั้น ก็คือ "การได้ยิน" นั่นเอง
"รูปธาตุ" และ "นามธาตุ" แยกขาดจากกัน โดยเด็ดขาด "รูปธาตุ" ไม่รู้อะไรเลย ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่คิดนึก ฯลฯ ส่วน "นามธาตุ" คือ จิต และ เจตสิก จะใช้ "คำ" ที่บัญญัติเรียก ว่า "วิญญาณธาตุ" ก็ได้ "นามขันธ์" ก็ได้ "นามขันธ์ ๔" (เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์) ก็ได้ "จิต และ เจตสิก คือ นามธรรม" ก็ได้
... ขออนุโมทนา ...