พระโพธิสัตว์.....พิจารณาทานบารมีของท่านอย่างไร?

 
ไตรสรณคมน์
วันที่  20 มิ.ย. 2552
หมายเลข  12711
อ่าน  1,238

ลองอ่านดูนะคะ........

๑. ไทยธรรมมี ผู้ขอมี.......แต่ไม่ให้

เพราะเมื่อก่อน......เราไม่ได้สะสมเรื่องการให้

๒. ไทยธรรมมีน้อย

เพราะเมื่อก่อน......เราไม่เป็นผู้ให้ จึงขาดแคลนไทยธรรม

๓. เสียดายไทยธรรม

ก็จงคิดว่า.......เราปรารถนาการรู้แจ้งอริยสัจจธรรมหรือการสะสมวัตถุ (อิ_อิ)

๔. เห็นความสิ้นเปลืองแห่งไทยธรรมเพราะการให้

ก็จงคิดว่า.......แม้ไทยธรรมนั้นก็ย่อมสิ้นไปเสื่อมไปเป็นธรรมดา แม้ไม่ให้

อืม....อ่านจบแล้ว ท่านคิดว่าการให้เนี่ย.......ง่ายหรือยากค่ะ?


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 21 มิ.ย. 2552

ขออนุโมทนาครับ

การให้ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะธรรมดาคิดแต่จะได้ การให้ยากกว่าการกลืนดาบ

ยากกว่าการคิดจะให้ ยากกว่าการพูดว่าจะให้ แต่ที่ยากกว่าการให้ก็คือ

เมื่อให้แล้วไม่คิดเสียดายของที่ให้ไปครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 21 มิ.ย. 2552

คนตระหนี่กลัวภัยใดไม่ให้ทาน ภัยนั้นแลย่อมครอบงำคนตระหนี่

คนที่ไม่ให้ทานเพราะเหตุ 2 ประการ

1. เพราะความตระหนี่

2. เพราะความประมาท

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
suwit02
วันที่ 21 มิ.ย. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ajarnkruo
วันที่ 21 มิ.ย. 2552

ยากอย่างยิ่งที่จะมี "ปัญญา" ที่คิดให้...แล้วสละได้จริงอย่างพระโพธิสัตว์

ความเข้าใจพระธรรมเท่านั้น...ที่จะเป็นปัจจัยให้กุศลขั้นทานของผู้ที่เป็นปุถุชน

ค่อยๆ เจริญขึ้นจนกว่าจะเป็น...ทานบารมี

ปล. ไม่ลืมว่ามีบารมีอื่นๆ อีกตั้ง ๙ บารมีที่ควรจะเจริญขึ้นด้วยนะครับ

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
paderm
วันที่ 21 มิ.ย. 2552

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

๑. ไทยธรรมมี ผู้ขอมี.......แต่ไม่ให้

เพราะเมื่อก่อน......เราไม่ได้สะสมเรื่องการให้

หากพระโพธิสัตว์ท่านเจอยาจก ผู้ขอ จิตคิดไม่ให้เกิดขึ้น ท่านจึงพิจารณาว่าเพราะเมื่อก่อน......เราไม่ได้สะสมเรื่องการให้เป็นแน่ ดังนั้นบัดนี้เราจะสละวัตถุจะน้อยหรือมากก็ตาม เราจะสละ สะสมการให้ให้เกิดขึ้น๒. ไทยธรรมมีน้อย

เพราะเมื่อก่อน......เราไม่เป็นผู้ให้ จึงขาดแคลนไทยธรรม

พระโพธิสัตว์เมื่อรู้ว่าของที่ให้มีน้อยและไม่ดี ท่านย่อมพิจารณาว่าเพราะท่านไม่ได้ให้

ในกาลก่อนเป็นแน่ พระโพธิสัตว์จึงพิจารณาด้วยปัญญา จึงบริจาควัตถุ จะน้อยหรือ

มาก แม้จะเบียดเบียนตนเองก็ตามท่านก็บริจาคครับ

๓. เสียดายไทยธรรม

ก็จงคิดว่า.......เราปรารถนาการรู้แจ้งอริยสัจจธรรมหรือการสะสมวัตถุ

ทรัพย์สมบัติติดตัวไปไม่ได้เลย และทรัพย์สมบัติไม่สามารถทำให้สิ้นกิเลสและสิ้นทุกข์ได้ พระโพธิสัตว์จึงพิจารณาว่าโพธิญาณคือการตรัสรู้นั้นประเสริฐสูงสุด หากท่าน

เสียดายของที่จะให้ ไม่สละแล้วจะถึงการตรัสรู้ได้อย่างไร ท่านจึงสละ มีมือสะอาด ให้

กับผู้ขอ เป็นต้น

๔. เห็นความสิ้นเปลืองแห่งไทยธรรมเพราะการให้

ก็จงคิดว่า.......แม้ไทยธรรมนั้นก็ย่อมสิ้นไปเสื่อมไปเป็นธรรมดา แม้ไม่ให้

พระโพธิสัตว์หากเกิดความคิดที่จะไม่ให้เพราะกลัวของจะหมด ท่านย่อมพิจารณาว่า

ตามธรรมดา สภาพธรรมทั้งหลายมีความเกิดขึ้นและดับไป เสื่อมไป เป็นธรรมดา แม้ทรัพย์ สมบัติก็มีความเสื่อม หมดไปเป็นธรรมดา แม้จะให้หรือไม่ให้ก็ตาม คนผู้มีทรัพย์เองก็ต้องจากทรัพย์สมบัติไปเช่นกัน และทรัพย์สมบัติถึงความหมดไปเพราะการไม่ให้เช่นกัน เพราะฉะนั้น เราจะให้แม้มีน้อยก็ตาม ท่านจึงสละความคิดของการที่จะไม่ให้เพราะกลัวของจะหมดได้ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
paderm
วันที่ 21 มิ.ย. 2552

จะเห็นได้ว่า พระโพธิสัตว์ผู้บำเพ็ญบารมี ท่านก็มีจิตคิดไม่ให้เกิดขึ้นในบางครั้ง

หากแต่ว่าท่านสะสมปัญญามา จึงพิจารณาว่าสิ่งใดควร สิ่งใดไม่ควร ควรจะให้หรือไม่

ให้ จึงเป็นเรื่องของปัญญา บารมี 10 มีปัญญาเป็นหัวหน้าเป็นประธาน ขาดปัญญาไม่

ได้เลย หากไม่มีปัญญาก็ต้องเป็นเรื่องยากในการคิดที่จะให้ ให้โดยไม่ได้หวังลาภ

สักการะ หรือให้เพื่อเป็นที่รัก แต่ให้เพื่อเป็นไปเพื่อขัดเกลากิเลสจึงเป็นทานบารมี

ดังเช่นพระโพธิสัตว์ จึงเป็นเรื่องของปัญญาอย่างแท้จริงครับ อาศัยการฟังพระธรรม

ด้วยความแยบคาย เมื่อปัญญาเจริญขึ้น กุศลประการต่างๆ ก็เจริญขึ้น รวมทั้งกุศลขั้น

ทานด้วยครับ พระโพธิสัตว์ผู้มีปัญญาย่อมให้โดยไม่เลือกว่าเป็นบุคคลใด ไม่เลือก

กว่าคนนี้เราให้ คนนี้เราไม่ให้ คนนี้ให้น้อย คนนี้ให้มากเพราะนั่นเป็นความเศร้าหมอง

ของทานบารมีและไม่เลือกของที่จะให้ด้วยครับ จึงเป็นเรื่องของปัญญาอันเกิดจากการ

ฟังพระธรรมนั่นเอง ยากไม่ยากจึงเป็นเรื่องของปัญญาครับ ปัญญาน้อยก็ยาก ปัญญา

มากก็ไม่ยากครับ

เชิญคลิกอ่านข้อความพระไตรปิฎกโดยตรงในเรื่องการให้ของพระโพธิสัตว์ครับ

พบยาจก...จิตไม่ให้เกิดขึ้นกับพระโพธิสัตว์ ท่านคิดอย่างไร? อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
pornchai.s
วันที่ 21 มิ.ย. 2552

อืม....อ่านจบแล้ว ท่านคิดว่าการให้เนี่ย.......ง่ายหรือยากค่ะ?

การให้ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะธรรมดาคิดแต่จะได้ การให้ยากกว่าการกลืนดาบ

ยากกว่าการคิดจะให้ ยากกว่าการพูดว่าจะให้ แต่ที่ยากกว่าการให้ก็คือ

เมื่อให้แล้วไม่คิดเสียดายของที่ให้ไป

ก็คงต้องสะสมการให้ที่เป็นทานบารมี และบารมีอีก 9 อย่าง ไปเรื่อยๆ แต่ละชาติ....

แต่ละกัปป์....จากการให้ที่เป็นความยากมากๆ ก็จะยากน้อยลง.....

แต่...... ถ้า " กลับบ้านเก่า " (คือเกิดในนรก) ......

ก็หมดโอกาสเจริญกุศลครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 21 มิ.ย. 2552
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 21 มิ.ย. 2552

^

^

ขออนุโมทนาทุกท่านค่ะ _/'_

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ในพระสูตรสูตรหนึ่งว่า.............

"ถ้าผู้ใดรู้ผลของทานเหมือนอย่างเรารู้ไซร้

ผู้นั้นย่อมไม่บริโภคก่อนที่จะให้ทานเลย"

น่าคิดนะคะ......แม้แต่การให้เนี่ย......จะสมบูรณ์ไม่ได้เลย.....ถ้าขาดปัญญา

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
khampan.a
วันที่ 21 มิ.ย. 2552

ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 21 มิ.ย. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
เมตตา
วันที่ 22 มิ.ย. 2552

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ในพระสูตรสูตรหนึ่งว่า.............

"ถ้าผู้ใดรู้ผลของทานเหมือนอย่างเรารู้ไซร้

ผู้นั้นย่อมไม่บริโภคก่อนที่จะให้ทานเลย"

ขออนุโมทนาค่ะ _/'_

เรียนถามถามท่านอาจารย์วิทยากรค่ะว่า "ไม่บริโภคก่อน" มีความหมายกว้าง

แค่ไหนค่ะ หมายถึงอาหารเพียงอย่างเดียว หรือสิ่งอื่นด้วย ขอขอบพระคุณค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
choonj
วันที่ 22 มิ.ย. 2552

ทานบารมีของพระโพธิสัตว์ กับทานของปุถุชน ย่อมต่างกันมาก ทานของพระโพธิ-สัตว์ย่อมให้ได้ทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นลูกเมียและประกอบด้วยปัญญา ส่วนทานของปุถุชนจะให้ได้ทุกอย่างแต่อาจไม่ประกอบด้วยปัญญาจะทำให้เดือดร้อน จึงต้องมีสติให้ทานที่ประกอบด้วยปัญญาและไม่เดือดร้อน การให้ที่ไม่ประกอบด้วยปัญญาก็จะเป็นการให้ด้วยอกุศลคือโลภะถีงแม้นว่าจะได้บุญแต่ก็จะเป็นการต่อวัฎฎะ

ในเมื่อการให้เป็นการสั่งสม การให้ที่ประกอบด้วยปัญญาก็สั่งสม ไม่ประกอบด้วยปัญญาก็สังสม จึงควรระวัง ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
Anutta
วันที่ 22 มิ.ย. 2552

ขออนุโมทนาในกุศลจิตผู้ตั้งกระทู้และสหายธรรมทุกท่านด้วยค่ะ ^/\^

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
พุทธรักษา
วันที่ 22 มิ.ย. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
prachern.s
วันที่ 22 มิ.ย. 2552
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 12711 ความคิดเห็นที่ 13 โดย เมตตา

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ในพระสูตรสูตรหนึ่งว่า.............

"ถ้าผู้ใดรู้ผลของทานเหมือนอย่างเรารู้ไซร้

ผู้นั้นย่อมไม่บริโภคก่อนที่จะให้ทานเลย"

ขออนุโมทนาค่ะ _/'_

เรียนถามถามท่านอาจารย์วิทยากรค่ะว่า "ไม่บริโภคก่อน" มีความหมายกว้าง

แค่ไหนค่ะ หมายถึงอาหารเพียงอย่างเดียว หรือสิ่งอื่นด้วย ขอขอบพระคุณค่ะ


คำว่า "ไม่บริโภคก่อน" ส่วนใหญ่ท่านจะหมายถึงอาหาร แต่ก็ควรจะรวมถึง

สิ่งอื่นด้วย เช่น เครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น ในสมัยก่อน ถ้าได้ผ้าใหม่ที่มีราคามากมาท่านก็คิดถึงผู้มีศีล มีคุณธรรมเป็นต้นครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
เมตตา
วันที่ 22 มิ.ย. 2552

ขอขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 22 มิ.ย. 2552
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 12711 ความคิดเห็นที่ 17 โดย prachern.sอ้างอิงจาก : หัวข้อ 12711 ความคิดเห็นที่ 13 โดย เมตตา

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ในพระสูตรสูตรหนึ่งว่า.............

"ถ้าผู้ใดรู้ผลของทานเหมือนอย่างเรารู้ไซร้

ผู้นั้นย่อมไม่บริโภคก่อนที่จะให้ทานเลย"

ขออนุโมทนาค่ะ _/'_

เรียนถามถามท่านอาจารย์วิทยากรค่ะว่า "ไม่บริโภคก่อน" มีความหมายกว้าง

แค่ไหนค่ะ หมายถึงอาหารเพียงอย่างเดียว หรือสิ่งอื่นด้วย ขอขอบพระคุณค่ะ


คำว่า "ไม่บริโภคก่อน" ส่วนใหญ่ท่านจะหมายถึงอาหาร แต่ก็ควรจะรวมถึง

สิ่งอื่นด้วย เช่น เครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น ในสมัยก่อน ถ้าได้ผ้าใหม่ที่มีราคามากมาท่านก็คิดถึงผู้มีศีล มีคุณธรรมเป็นต้นครับ


เหมือนเมื่อครั้งที่ท่านพระอานนท์ได้รับผ้าใหม่ ท่านก็นำไปถวายท่านพระสารีบุตร

แล้วท่านพระสารีบุตร ก็ได้นำผ้าผืนนั้นไปถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า

ช่างน่าอนุโมทนาจริงๆ ค่ะ..........สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 20  
 
suwit02
วันที่ 22 มิ.ย. 2552

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 168

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่าสัตว์ทั้งหลายพึงรู้ผลแห่งการจำแนกทาน

เหมือนอย่างเรารู้ไซร้ สัตว์ทั้งหลายยังไม่ให้แล้วก็จะไม่พึงบริโภค

อนึ่ง ความตระหนี่อันเป็นมลทิน จะไม่พึงครอบงำจิตของสัตว์เหล่านั้น

สัตว์เหล่านั้นไม่พึงแบ่งคำข้าว คำหลังจากคำข้าวนั้นแล้ว

ก็จะไม่พึงบริโภค ถ้าปฏิคาหกของสัตว์เหล่านั้นพึงมี

ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่เพราะสัตว์ทั้งหลายไม่รู้ผลแห่งการจำแนกทาน

เหมือนอย่างเรารู้ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายไม่ให้แล้วจึงบริโภค

อนึ่ง ความตระหนี่อันเป็นมลทินจึงยังครอบงำจิตของสัตว์เหล่านั้น ฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 21  
 
paderm
วันที่ 22 มิ.ย. 2552

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

"ถ้าผู้ใดรู้ผลของทานเหมือนอย่างเรารู้ไซร้

ผู้นั้นย่อมไม่บริโภคก่อนที่จะให้ทานเลย"

ผู้ที่มั่นคงในการเจริญกุศลอย่างมาก ย่อมเป็นผู้ให้ทานก่อนบริโภค ซึ่งต้วอย่างใน

พระไตรปิฎกก็มีผู้ที่มั่นคงในการเจริญกุศลย่อมให้ก่อนบริโภค ยังไม่ให้แล้วท่านย่อมไม่

บริโภคเลย ท่านให้ทานกับพระภิกษุสงฆ์ ท่านผู้นี้เป็นพระราชาของศรีลังกาในอดีต

ผู้เจริญกุศลมากมาย ทรงเป็นผู้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ท่านเป็นพระราชาชื่อว่า

พระเจ้าทุฏฐคามณีอภัย ขอเชิญอ่านเรื่องราวของท่านในเรื่องการให้ทานก่อนบริโภค

เป็นเรื่องที่อ่านแล้วซาบซึ้งครับ

เชิญคลิกอ่านที่นี่......เรื่องพระเจ้าทุฏฐคามณีอภัย [อรรถกถานิทานสูตร] อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 22  
 
pornpaon
วันที่ 23 มิ.ย. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 23  
 
saifon.p
วันที่ 26 มิ.ย. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 24  
 
opanayigo
วันที่ 28 มิ.ย. 2552

อนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ