การตั้งต้น
เมื่อมีผู้ถามท่านอาจารย์ว่า จะเกื้อกูลคนที่เจริญสมาธิ ที่ไม่ถูกต้องอย่างไร
ท่านบอกว่าให้เขาพิจารณาว่า ระหว่างสมาธิกับปัญญา ต้องการอย่างไหน แล้วอธิบาย
ต่อว่า "ถ้าต้องการปัญญามีวิธีไหนที่จะปฏิบัติแล้วให้เกิดปัญญา ก็จะต้องอาศัยการฟัง
พระธรรมให้เข้าใจเสียก่อน ไม่ใช่ว่ามีวิธีปฏิบัติ โดยที่ไม่เข้าใจอะไรเลย แม้แต่ผู้ที่
ศึกษาพระอภิธรรมแล้ว แล้วก็คิดว่าประจักษ์การเกิดขึ้นและดับไปของรูปนั่ง ก็จะต้อง
พิจารณาจริงๆ ว่า ถ้าเข้าใจในสภาพของปรมัตถธรรมที่ได้ศึกษาโดยถ่องแท้จริงๆ จะไม่
เข้าใจผิดอย่างนั้น เพราะเหตุว่าเพียงข้อความที่ว่า “จิตเกิดขึ้นทีละ ๑ ขณะ” ขณะเดียว
และจิตก็จะต้องอาศัยปัจจัยจึงจะเกิดขึ้น โดยปัจจัยต่างๆ เช่น ความสำคัญของอารัม
มณปัจจัย อารมณ์เป็นสิ่งที่จิตเกิดขึ้นรู้ ถ้าอารมณ์ไม่มี ไม่เกิดขึ้น จิตจะรู้อารมณ์นั้นไม่
ได้เลย เช่น เสียงเมื่อกี้นี้ ทุกคนได้ยิน ลองคิดถึงลักษณะที่ทุพลภาพที่มีกำลังของจิต
แม้จะเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้อารมณ์ก็จริง แต่จิตเกิดขึ้นไม่ได้ จิตจะต้องอาศัย
ปัจจัยหลายอย่างปรุงแต่งให้เกิดขึ้น และอารมณ์เป็นสิ่งหนึ่ง ซึ่งเป็นปัจจัยให้จิตเกิด
แล้วแต่ว่าอารมณ์นั้นจะเป็นอารมณ์อะไร เหมือนกับคนแก่ที่ไม่มีเรี่ยวแรง ที่จะต้องลุกขึ้น
ก็จะต้องอาศัยไม้เท้า หรือว่าเชือกสำหรับยึดเหนี่ยวตัวขึ้น ฉันใด จิตแต่ละขณะ แต่ละ
ชนิดที่จะเกิดขึ้นได้ ก็ต้องอาศัยอารมณ์ที่ปรากฏ เช่น เวลาที่เสียงเกิดขึ้นกระทบกับ
โสตปสาทรูป เป็นปัจจัยให้จิตได้ยินเกิดขึ้น จิตได้ยินไม่สามารถจะมีกำลังที่จะเกิดขึ้น
มาเองได้ ก็ต้องแล้วแต่อารมณ์ซึ่งเป็นปัจจัย เพราะฉะนั้น ทางตาในขณะที่กำลังเห็น
จิตเห็นไม่มีกำลังที่จะเกิดขึ้นมาเองได้ ถ้ารูปารมณ์ไม่กระทบกับจักขุปสาท นี่คือทางตา
ทางหู เสียงก็จะต้องเกิดกระทบกับโสตปสาท ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย โดยนัยเดียว
กันเพราะฉะนั้น จะมีรูปนั่งเป็นท่าทางที่เกิดดับได้อย่างไร ในเมื่อจิตเกิดขึ้นครั้งหนึ่งก็จะ
รู้เฉพาะอารมณ์อย่างเดียว อย่างเดียวเท่านั้น เช่นในขณะที่จิตได้ยินเกิดขึ้น สิ่งอื่นทั้ง
หมดจะปรากฏไม่ได้เลยเพราะฉะนั้น เมื่อกล่าวว่าจิตเกิดขึ้นทีละ ๑ ขณะ และก็รู้อารมณ์
ทีละอย่าง รูปนั่งมีไม่ได้ ทางตา มีสิ่งที่กำลังปรากฏ ทางหู มีเสียง ทางจมูก มีกลิ่น ทาง
ลิ้น มีรส ทางกาย มีสิ่งที่กระทบสัมผัส ลองคิดซิคะว่า จะมีรูปนั่งได้ไหมที่เกิดขึ้นและ
ดับไป ให้เป็นอุทยัพพยญาณ เพราะฉะนั้น ก่อนจะถึงอุทยัพพยญาณ ก็จะต้องรู้ว่า
เพียงแค่ทางตาที่เห็นทุกๆ วัน ความไม่รู้มีมากแค่ไหน เพราะเหตุใดคะ เป็นเรื่องเป็นราว
ทุกอย่างที่ปรากฏทางตา ไม่ได้เป็นแต่สภาพของปรมัตถธรรมอย่างหนึ่ง ที่เพียงปรากฏ
เมื่อกระทบกับปสาทรูปเท่านั้น ทุกคนพิจารณาถึงชีวิตประจำวัน เห็น เป็นเรื่องหมด
ใช่ไหมคะ เป็นคนนั้น เป็นสิ่งนี้ เป็นอาหาร เป็นวัตถุ เป็นสิ่งต่างๆ ก็แสดงให้เห็นความ
ไม่รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงมากมายสักแค่ไหนต้องเอาเรื่องทั้งหมดออก ไม่มีเรื่อง
เพราะเหตุว่าปรมัตถธรรมเป็นสภาพธรรมที่มีลักษณะปรากฏ โดยไม่ต้องใช้ชื่อเรียกว่า
อะไรเลย นั่นคือความหมายของธรรม ซึ่งไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน เพราะ
ฉะนั้น ทางตาเคยเป็นเรื่องมากทีเดียว หลายเรื่องตั้งแต่เด็กจนโต แต่ว่าเมื่อไรปัญญา
เจริญขึ้น ก็จะรู้ว่า เป็นแต่เพียงสภาพธรรมที่ปรากฏทางตา ยังไม่เป็นคนใส่เสื้อสีขาว สี
เขียว สีแดง นั่งที่นั่น ทำที่นี่ ลุกขึ้นเดินไปเดินมา ต้องเป็นแต่เพียงสภาพธรรมจริงๆ
เท่านั้น และทำอย่างไรจึงจะประจักษ์ความจริงอย่างนี้ ถ้าไม่เคยฟังมาก่อน สติย่อมไม่มี
การที่จะระลึกได้ แม้ว่าจะได้ฟังสักเพียงใดก็ตาม แต่ถ้าสติไม่น้อมระลึกบ่อยๆ เนืองๆ ว่า
สภาพที่ปรากฏทางตา เป็นของจริงอย่างหนึ่ง ไม่ต้องเรียกอะไรเลย แล้วก็น้อมถึง
ลักษณะที่เป็นสภาพรู้ เป็นธาตุรู้ที่เพียงเห็น ในขณะที่สิ่งที่กำลังปรากฏทางตาปรากฏ
นี่เป็นการตั้งต้น ที่ยังไม่ถึงนามรูปปริจเฉทญาณ และการที่จะประจักษ์การเกิดดับของ
นามธรรมและรูปธรรมได้นั้น ต้องพิจารณาจนประจักษ์แจ้งในสภาพธรรมแต่ละทางที่
ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ด้วยวิปัสสนาญาณแต่ละขั้น
ตามลำดับจริงๆ และขณะที่สภาพธรรมอย่างหนึ่งอย่างใดกำลังปรากฏ และสภาพธรรม
อย่างอื่นไม่มีปรากฏเกิดร่วมด้วยในที่นั้นเลย รูปนั่งก็ไม่มี ตั้งแต่เบื้องต้นจนตลอดเพราะ
ฉะนั้น ก็จะต้องเป็นผู้ที่ละเอียดจริงๆ "
ถ้าต้องการปัญญามีวิธีไหนที่จะปฏิบัติแล้วให้เกิดปัญญา ก็จะต้องอาศัย
การฟังพระธรรมให้เข้าใจเสียก่อน ไม่ใช่ว่ามีวิธีปฏิบัติ โดยที่ไม่เข้าใจอะไรเลย
สาธุ