ปกรณ์ ๗ [ธรรมสังคณี]
[เล่มที่ 75] พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 18
ว่าโดยปกรณ์ ๗ ว่าโดยการกำหนดปกรณ์ พระอภิธรรมนี้ทรงตั้งไว้ด้วยอำนาจปกรณ์ ๗ คือ
๑. ธรรมสังคณีปกรณ์
๒. วิภังคปกรณ์
๓. ธาตุกถาปกรณ์
๔. ปุคคลบัญญัติปกรณ์
๕. กถาวัตถุปกรณ์
๖. ยมกปกรณ์
๗. ปัฏฐานปกรณ์
ธรรมสังคณี
บรรดาปกรณ์ทั้งเจ็ดนั้น ในปกรณ์ธรรมสังคณีมีวิภัตติ (คือการจำแนก) ไว้ ๔ คือ จิตตวิภัตติ (การจำแนกจิต) รูปวิภัตติ (การจำแนกรูป) นิกเขปราสิ (การจำแนกกองธรรมที่ตั้งไว้) อัตถุทธาระ (การยกอรรถขึ้นแสดง) ธรรมสังคณีปกรณ์ คือ จิตตวิภัตติ รูปวิภัตติ นิกเขปะ และอรรถโชตนา (อธิบายอรรถ) นี้ มีอรรถลึกซึ้ง ละเอียด แม้ฐานะนี้ พระองค์ก็ทรงแสดงแล้วด้วย ประการฉะนี้
[เล่มที่ 75] พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 21
วิภังคปกรณ์
ในลำดับต่อจากธรรมสังคณีปกรณ์นั้น ชื่อว่า วิภังคปกรณ์ วิภังคปกรณ์นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำแนกธรรม ๑๘ อย่าง คือ
๑. ขันธวิภังค์
๒. อายตนวิภังค์
๓. ธาตุวิภังค์
๔. สัจจวิภังค์
๕. อินทรียวิภังค์
๖. ปัจจยาการวิภังค์
๗. สติปัฏฐานวิภังค์
๘. สัมมัปปธานวิภังค์
๙. อิทธิปาทวิภังค์
๑๐. โพชฌงควิภังค์
๑๑. มัคควิภังค์
๑๒. ฌานวิภังค์
๑๓. อัปปมัญญาวิภังค์
๑๔. สิกขาปทวิภังค์
๑๕. ปฏิสันภิทาวิภังค์
๑๖. ญาณวิภังค์
๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์
๑๘. ธรรมหทยวิภังค์
ธาตุกถาปกรณ์
ในลำดับต่อจากวิภังคปกรณ์นั้น ชื่อว่า ธาตุกถาปกรณ์ ทรงจำแนก ๑๔ อย่าง คือ
๑. สงฺคโห อสงฺคโห - ธรรมสงเคราะห์ได้ ธรรมสงค์เคราะห์ไม่ได้
๒. สงฺคหิเตน อสงฺคหิตํ - ธรรมที่สงเคราะห์ไม่ได้ ด้วยธรรมที่สงเคราะห์ได้
ฯลฯ
ปุคคลบัญญัติปกรณ์
ในลำดับต่อจากธาตุกถาปกรณ์นั้น ชื่อว่า ปุคคลบัญญัติ บุคคลบัญญัตินั้นจำแนกไว้ ๖ อย่าง คือ
๑. ขันธบัญญัติ
๒. อายตนบัญญัติ
๓. ธาตุบัญญัติ
๔. สัจจบัญญัติ
๕. อินทริยบัญญัติ
๖. ปุคคลบัญญัติ
[เล่มที่ 75] พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 25
กถาวัตถุปกรณ์
ในลำดับต่อจากปุคคลบัญญัติปกรณ์ ชื่อว่า กถาวัตถุปกรณ์ กถาวัตถุปกรณ์นั้น ประมวลจำแนกไว้หนึ่งพันสูตร คือ ในสกวาทะ (ลัทธิของตน) ๕๐๐ สูตร ในปรวาทะ (ลัทธิอื่น) ๕๐๐ สูตร กถาวัตถุปกรณ์นั้น ว่าโดยทางแห่งถ้อยคำ มีประมาณเท่าทีฆนิกายหนึ่ง โดยนัยที่ยกขึ้นสู่สังคีติ ไม่ถือเอาคำที่เขียนไว้ในโกฏฐาสในบัดนี้ แต่เมื่อให้พิสดารย่อมไม่มีที่สุด ไม่มีประมาณ
ยมกปกรณ์
ในลำดับต่อจากกถาวัตถุปกรณ์นั้น ชื่อว่า ยมกปกรณ์ ทรงจำแนกไว้ ๑๐ อย่าง คือ
๑. มูลยมก
๒. ขันธยมก
๓. อายตนยมก
๔. ธาตุยมก
๕. สัจจยมก
๖. สังขารยมก
๗. อนุสสยยมก
๘. จิตตยมก
๙. ธรรมยมก
๑๐. อินทริยยมก
มหาปกรณ์
ในลำดับแห่งยมกปกรณ์นั้น ชื่อว่า มหาปกรณ์ แม้คำว่า ปัฏฐาน ดังนี้ ก็เป็นชื่อของมหาปกรณ์ นั้นนั่นแหละ มหาปกรณ์นั้น เบื้องต้นทรงจำแนกไว้ ๒๔ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งปัจจัย คือ
๑. เหตุปัจจัย (เหตุเป็นปัจจัย)
๒. อารัมมณปัจจัย (อารมณ์เป็นปัจจัย)
๓. อธิปติปัจจัย (อธิบดีเป็นปัจจัย)
ฯลฯ