ความรู้สึก...ตอนที่ ๑
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
สนทนาธรรม ที่เขาเต่า ๑-๔ สิงหาคม ๒๕๓๗
ท่านอาจารย์ "ความรู้สึกที่กายทั้งหมด" เป็น "เวทนา" มี ๒ ประเภท คือ "สุข" หรือ "ทุกข์" อย่างเช่น"อาการคัน" ไม่ใช่ "สุข" แน่ๆ และ เพราะเหตุที่ว่า "มีร่างกาย" ก็ ต้อง คัน (เป็นต้น) ขณะที่ "จิต" กระทบกับ "สิ่งหนึ่งสิ่งใด"ที่ ทำให้ เกิด "ความรู้สึกคัน" แสดงให้เห็น ว่า "คัน" เป็น "ความรู้สึก" เพราะฉะนั้น"ความรู้สึก" ไม่ใช่ "จิต"
วันนี้ เราสนทนากัน เรื่อง "จิต เป็นประธาน เป็นใหญ่ ในการ รู้แจ้งอารมณ์" และ "จิต" ไม่ได้ เกิด เพียงลำพัง แต่ต้อง มี "สภาพนามธรรมอื่น" เกิด ร่วม ด้วย ซึ่ง"ความรู้สึก" เป็น "สภาพธรรม" ประเภทหนึ่ง (ในหลายประเภท) ที่ ต้องเกิดร่วมด้วยกับ "จิต" ทุกประเภท แต่ "ความรู้สึก" ไม่ใช่ "จิต"
"จิต" ทำหน้าที่ "รู้แจ้งอารมณ์" อย่างเดียว เช่น ขณะที่ "เห็น" ขณะนั้น "จิต" ทำหน้าที่ "เห็น" อย่างเดียว เท่านั้น หรือขณะที่ "จิต" กำลัง รู้ "เสียง" "จิต" รู้ "เสียง" คือ รู้ แจ่มแจ้ง ชัดเจน ใน "ลักษณะของเสียง" หมายความว่า ขณะที่ "จิต" รู้แจ้งอารมณ์ เช่น สี หรือ เสียง (เป็นต้น) ขณะนั้น "จิต" ไม่ได้ "สุข" "จิต" ไม่ได้ "ทุกข์" .. "จิต" ไม่ได้ "จำ" ฯลฯ เพราะฉะนั้น สภาพธรรมอื่นๆ ที่เกิด ร่วมกับ "จิต" ต่าง ก็ "ทำหน้าที่ เฉพาะ ของตนๆ "ซึ่ง (ในที่นี้) ก็ หมายถึง "เจตสิก" แต่ละชนิด
เพราะฉะนั้น "เวทนา" ก็เป็น "เจตสิก" ที่ทำกิจหน้าที่เพียง "รู้สึก" ไม่ว่าจะ "เห็น" ก็ "รู้สึก" ไม่ว่าจะ "ได้ยิน" ก็ "รู้สึก" (เป็นต้น) และ จะต้อง มี "ความรู้สึก" เกิดร่วมด้วย ทุกครั้ง ที่มี "ผัสสะ" (ผัสสเจตสิก) "ผัสสะ" คือ "การกระทบอารมณ์" เป็นเรื่องธรรมดาเมื่อ "กระทบอารมณ์" ก็ ต้อง มี "ความรู้สึก" ใน ขณะ นั้นๆ "ความรู้สึก" ไม่ใช่ "จิต"แต่ เป็น "เจตสิก" และ "จิต" ไม่ใช่ "ความรู้สึก" แต่ "จิต" เป็น "สภาพรู้"
... ขออนุโมทนา ...