อภัพพสัตว์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1072
[๒๘๒] อภัพพสัตว์เป็นไฉน ? สัตว์ทั้งหลาย ผู้ประกอบด้วยธรรมเป็นเครื่องกั้น คือ กรรม กิเลส วิบาก เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีฉันทะ มีปัญญาทราม ไม่อาจย่างเข้าสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลาย เหล่านี้เป็นอภัพพสัตว์.พึงทราบวินิจฉัยในภัพพาภัพพนิทเทส ดังต่อไปนี้. พระสารี-บุตรเถระเพื่อแสดงสิ่งที่ควรทั้งก่อนแล้วแสดงสิ่งที่ควรถือเอาในภายหลังจึงแสดงอภัพพสัตว์ก่อน นอกลำดับแห่งอุทเทส. แต่ในอุทเทส ท่านประกอบ ภัพพ ศัพท์ ก่อน ด้วยสามารถลักษณะนิบาตเบื้องต้นแห่งบทที่น่านับถือและบทมีอักขระอ่อนในทวันทวสมาส. [๒๘๒ - ๒๘๓ ] บทว่า กมฺมาวรเณน ด้วยธรรมเป็นเครื่องกั้น คือ กรรม ได้แก่ อนันตริยกรรม ๕ อย่าง. ชื่อว่า สุมนฺนาคตา - ประกอบแล้ว คือ มีความพร้อมแล้ว. บทว่า กิเลสาวรเณน - ด้วยธรรมอันเป็นเครื่องกั้น คือ กิเลส ได้แก่ นิยตมิจฉาทิฏฐิ. ทั้งสองบทนี้ ชื่อว่า อาวรณะ เพราะกั้นสวรรค์และมรรค. แม้กรรมมีการประทุษร้ายภิกษุณีเป็นต้น ท่านก็สงเคราะห์ด้วยธรรมเป็นเครื่องกั้น คือ กรรมนั่นแหละ. บทว่า วิปากาวรเณน - ด้วยธรรมเป็นเครื่องกั้น คือ วิบากได้แก่ อเหตุกปฏิสนธิ. เพราะการแทงตลอดอริยมรรค ย่อมไม่มีแม้แก่ทุเหตุกะ. ฉะนั้น พึงทราบว่า แม้ปฏิสนธิเป็นทุเหตุกะ ก็เป็นธรรม เครื่องกั้น คือ วิบากนั่นแหละ. บทว่า อสฺสทฺธา - เป็นผู้ไม่มีศรัทธา คือ ไม่มีศรัทธาในพระพุทธเจ้าเป็นต้น. บทว่า อจฺฉนฺทิกา - ไม่มีฉันทะ คือ ไม่มีฉันทะในกุศล คือความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะทำ. พวกมนุษย์แคว้นอุตตรกุรุเข้าไปสู่ฐานะไม่มีความพอใจ. บทว่า ทุปฺปญฺญา - มีปัญญาทราม คือ เสื่อมจากภวังคปัญญา.อนึ่ง แม้เมื่อภวังคปัญญาบริบูรณ์ ภวังค์ของผู้ใด ยังไม่เป็นบาทของโลกุตระ แม้ผู้นั้นก็ยังชื่อว่าเป็นผู้ปัญญาอ่อนอยู่นั่นแหละ. บทว่า อภพฺพา นิยามํ โอกฺกมิตุ กุสเลสุ ธมฺเมสุ สมฺมตฺตํ-ไม่อาจย่างเข้าสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลาย คือ ไม่ย่างเข้าสู่อริยมรรค กล่าวคือ สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลาย. เพราะอริย-มรรคเป็นสภาวะโดยชอบ จึงชื่อว่า สัมมัตตะ. อริยมรรคนั้นแหละเป็นสัมมัตตะในการให้ผลในลำดับ. หรือว่า ผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีฉันทะมีปัญญาทราม ไม่อาจย่าง คือ เข้าไปสู่สัมมัตตนิยามนั้น เพราะตนเองเป็นผู้ไม่หวั่นเอง. บทมีอาทิว่า น กมฺมาวรเณน พึงทราบโดยตรงกันข้ามกับบทดังกล่าวแล้วนั่นแหละ. จบ อรรถกถาอาสยานุสยญาณนิทเทส