การดับอกุศลเจตสิกของพระอริยบุคคล
ขออนุญาติเรียนถามเกี่ยวกับการดับอกุศลเจตสิกของพระอริยบุคคลครับ
๑. ในจำนวนอกุศลเจตสิก ๑๔ ดวง พระโสดาบันดับอกุศลเจตสิก ๔ ดวงเป็นสมุจเฉท
ได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก อิสสาเจตสิก มัจฉริยเจตสิก และ วิจิกิจฉาเจตสิกถูกต้องหรือ
ไม่ครับ
๒. พระสกทาคามีดับอกุศลเจตสิกอื่นเพิ่มเติมหรือไม่ครับ ถ้าไม่มี โดยปรมัตถ์แล้ว
พระสกทาคามีบุคคลต่างจากพระโสดาบันบุคคลอย่างไร
๓. พระอนาคามีดับอกุศลเจตสิกอะไรเพิ่มขึ้นอีกบ้างครับ
ขออภัยที่ต้องรบกวนถามเรื่องไกลตัวครับ ที่ต้องการทราบเรื่องราวเกี่ยวกับ
พระอริยบุคคลเพราะผมคิดว่า ความเข้าใจความแตกต่างกันระหว่างปุถุชนผู้มีกิเลส
อยู่ครบ กับพระอริยบุคคลขั้นต่างๆ จะเป็นปัจจัยช่วยให้เข้าใจถูกในแนวทางการปฏิบัติ
มากขึ้นครับ
ขออนุโมทนา
ขออนุญาติเรียนถามเพิ่มเติม ดังนี้ค่ะ
๑. โดยนัยของนิวรณ์ พระโสดาบันละกุกกุจจะด้วย
....กรุณายกตัวอย่าง ในชีวิตประจำวันประกอบด้วย ได้ไหมคะ? (เพื่อจะได้ไม่เข้าใจเอาเอง...ซึ่งมักจะเข้าใจผิดน่ะค่ะ) ๒. พระอนาคามี ดับโทสเจตสิกเพิ่มอีกหนึ่ง บางนัยท่านละกุกกุจจะด้วย
.....บางนัย ในที่นี้...ต่างกับที่ท่านกล่าวถึงพระโสดาบันอย่างไร คะ. (ที่ว่า โดยนัยของนิวรณ์..พระโสดาบัน ละ กกุกจจะ ด้วย)
ขอความกรุณาแนะนำด้วยค่ะ ขออนุโมทนาค่ะ.
นอกจากนี้พระโสดาบันยังสามารถละ..........
อคติ ๔ ได้แก่ ฉันทาคติ, โทสาคติ, โมหาคติและภยาคติ
วิปลาส ๓ ในวัตถุ ๘ คือ
๑.ทิฏฐิวิปลาสในวัตถุ ๔ (ว่าเที่ยง ว่างาม ว่าสุข ว่าเป็นตัวตน)
๒. จิตตวิปลาสในวัตถุ ๒ (ว่าเที่ยง ว่าเป็นตัวตน)
๓. สัญญาวิปลาสในวัตถุ ๒ (ว่าเที่ยง ว่าเป็นตัวตน)
และอกุศลธรรมอื่นๆ อันเป็นเหตุที่ทำให้ไปเกิดในอบายภูมิค่ะ
เรียนความเห็นที่ ๒ ครับ
๑.กุกกุจจะ คือ ความเดือดร้อนรำคราญใจ ไม่สบายใจ ในอกุศลกรรมที่ทำไปแล้ว หรือกุศลที่ยังไม่ได้ทำ เช่น เคยฆ่ามด พอนึกถึงก็ไม่สบายใจ หรือนึกถึงกุศลต่างๆ เราก็ยังไม่ได้ทำ ๒.บางนัย หมายถึง ไม่ใช่นัยของนิวรณ์ กุกกุจจะ ต้องละด้วยอนาคามิมรรค
ปุถุชนฟุ้งซ่านในกุศลที่ยังไม่ได้ทำ และเดือดร้อนกับอกุศลที่ทำแล้ว พระพุทธเจ้า
ตรัสว่าสังขารทั้งหลายไม่เที่ยง มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา พวกเธอจงยังความไม่
ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด นี้เป็นพระวาจาสุดท้ายก่อนที่พระพุทธเจ้าจะปรินิพพานค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
พระโสดาบัน พระสกทาคามีและพระอนาคามี มีปัญญาต่างระดับกัน
พระโสดาบันและพระสกทาคามี มีอินทรีย์ (ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา)
ที่แตกต่างกัน พระโสดาบันมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระสกทาคามีครับพระโสดาบันและพระสกทาคามี เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยศีล
แต่ยังไม่บริบูรณ์ด้วยสมาธิและปัญญา
พระอนาคามี บริบูรณ์ด้วย ศีลและสมาธิแต่ยังปัญญายังไม่บริบูรณ์
ส่วนพระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยศีล สมาธิและปัญญาครับ
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 17
๒. ปฐมสังขิตตสูตร
ความเป็นพระอริยบุคคลระดับต่างๆ
[๘๗๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเป็นพระอรหันต์เพราะอินทรีย์
๕ ประการนี้เต็มบริบูรณ์ เป็นพระอนาคามี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่า
อินทรีย์ของพระอรหันต์ เป็นพระสกทาคามี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่า
อินทรีย์ของพระอนาคามี เป็นพระโสดาบัน เพราะอินทรี ๕ ยังอ่อนกว่า
อินทรีย์ของพระสกทาคามี
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 458
ลักษณะพระสกทาคามี
บทว่า ตนุตฺตา แปลว่า เพราะ (กิเลสทั้งหลาย) เบาบาง. อธิบายว่ากิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น ของพระสกทาคามีเบาบางไม่แน่นหนา เปรียบ-
เหมือนชั้นแผ่นเมฆและเปรียบเหมือนปีกแมลงวัน. อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์