สังเวช หรือ สังเวค

 
เมตตา
วันที่  2 ก.ค. 2552
หมายเลข  12814
อ่าน  7,509

คำว่า สังเวช หรือ สังเวค เป็นชื่อของปัญญาที่เห็นโทษภัยตามความเป็นจริง

ขอเรียนถามท่านอาจารย์วิทยากรว่า สังเวช หรือ สังเวค นั้น เป็นปัญญาขั้นไหนค่ะ ปัญญาขั้นปริยัติที่มีความเข้าใจว่า การเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นทุกข์นั้นเป็น

ชื่อของสังเวชหรือไม่ค่ะ ขออนุโมทนาค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 3 ก.ค. 2552
ควรจะเป็นปัญญาตั้งแต่ขั้นฟังเข้าใจ และ เริ่มรู้ตัวธัมมะ ตลอดจนถึงปัญญาขั้นสูงก็เป็นได้ เช่นข้อความในพระสูตรทั้งหลายจะมีว่า พระพุทธองค์ หรือพระอรหันต์สาวก ท่านเกิดความสังเวช ก็มีหลายสูตรเช่นกันครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
suwit02
วันที่ 3 ก.ค. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ajarnkruo
วันที่ 3 ก.ค. 2552

ได้ฟัง MP3 ชุดพื้นฐานพระอภิธรรมแผ่นที่ ๓ อ.วิชัยกล่าวว่าสังเวชหรือสังเวคเป็นที่ตั้งให้เกิดความเพียร ขอความกรุณาท่านวิทยากรช่วยแสดงธรรมเพิ่มเติมในพระธรรมส่วนนี้ ให้เข้าใจละเอียดลึกซึ้งขึ้นด้วยครับ ...ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
prachern.s
วันที่ 4 ก.ค. 2552

ผู้ที่มีปัญญาเมื่อเกิดความสลดสังเวคแล้วย่อมเพียรเจริญกุศลอันเป็นที่พึ่ง

โดยเฉพาะอริยมรรคเป็นที่พึ่งอย่างสูงสุดครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
wannee.s
วันที่ 4 ก.ค. 2552

สังเวชหรือสังเวคเป็นปัญญาเป็นความรู้ถูกเข้าใจถูก พิจารณาถึงความแก่ เห็นคนอื่น

แก่ เราก็ต้องแก่เหมือนกัน เห็นคนอื่นตาย วันหนึ่งเราก็ต้องตาย พิจารณาทุกข์ในอดีต

ทุกข์ในปัจจุบัน ทุกข์ในอนาคต ทุกข์ในอบายภูมิ ทำให้ปรารภความเพียรเกิดกุศลจิตว่า

เมื่อเรายังชีวิตอยู่ร่างกายยังแข็งแรงรีบขวนขวายในการเจริญกุศลทุกอย่างไม่ประมาทค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
paderm
วันที่ 4 ก.ค. 2552

เชิญคลิกอ่านเพิ่มเติมที่นี่ครับ

ความเข้าใจเรื่อง สังเวช สลดใจ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ใจรวยริน
วันที่ 4 ก.ค. 2552

สังเวค หรือสังเวช หมายถึงความสลด ในการระลึกถึงสรรพสิ่งทั้งหลายว่าเป็นทุกข์อย่างนี้เอง

ถ้าจะให้ดี ตามตำราว่าไว้ก็ต้องสลดในสังเวควัตถุ ทั้ง 8 สังเวควัตถุ คือ วัตถุที่พึงสังเวช มี ๘ ประการ คือ (๑) ชาติทุกข์ ความเกิด เป็นทุกข์ (๒) ชราทุกข์ ความแก่ เป็นทุกข์ (๓) พยาธิทุกข์ ความเจ็บ เป็นทุกข์ (๔) มรณทุกข์ ความตาย เป็นทุกข์ (๕) นิรยทุกข์ ตกนรก เป็นทุกข์ (๖) ดิรัจฉานทุกข์ เป็นสัตว์ดิรัจฉาน เป็นทุกข์ (๗) เปตติทุกข์ เป็นเปรต เป็นทุกข์ (๘) อสุรกายทุกข์ เป็นอสุรกาย เป็นทุกข์

การพิจารณาว่าสรรพสิ่งทั้งหลายเป็นทุกข์ก็จะต้องมีความเข้าใจว่าการเกิดแก่เจ็บตายเหล่านี้

เป็นธรรมะ ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง ไม่เป็นอื่น เป็นไปตามเหตุ และปัจจัย อย่างนี้เป็นปัญญา

ส่วนจะเป็นเป็นปัญญาขั้นไหนนั้นก็ขึ้นอยู่กับความเข้าใจที่ได้อบรมมา

หากไม่เข้าใจว่าทุกอย่างเป็นธรรมะ ก็จะมีเราเป็นตัวตนไปสลด สังเวช

ก็ไม่ใช่เป็นปัญญา แต่จะเป็นความเศร้าโศกเสียใจ กลับเป็นอกุศล

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 5 ก.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
khampan.a
วันที่ 5 ก.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
h_peijen
วันที่ 6 ก.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 7 ก.ค. 2552
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 12814 ความคิดเห็นที่ 7 โดย ใจรวยริน

สังเวค หรือสังเวช หมายถึงความสลด ในการระลึกถึงสรรพสิ่งทั้งหลายว่าเป็นทุกข์อย่างนี้เอง

ถ้าจะให้ดี ตามตำราว่าไว้ก็ต้องสลดในสังเวควัตถุ ทั้ง 8 สังเวควัตถุ คือ วัตถุที่พึงสังเวช มี ๘ ประการ คือ (๑) ชาติทุกข์ ความเกิด เป็นทุกข์ (๒) ชราทุกข์ ความแก่ เป็นทุกข์ (๓) พยาธิทุกข์ ความเจ็บ เป็นทุกข์ (๔) มรณทุกข์ ความตาย เป็นทุกข์ (๕) นิรยทุกข์ ตกนรก เป็นทุกข์ (๖) ดิรัจฉานทุกข์ เป็นสัตว์ดิรัจฉาน เป็นทุกข์ (๗) เปตติทุกข์ เป็นเปรต เป็นทุกข์ (๘) อสุรกายทุกข์ เป็นอสุรกาย เป็นทุกข์

การพิจารณาว่าสรรพสิ่งทั้งหลายเป็นทุกข์ก็จะต้องมีความเข้าใจว่าการเกิดแก่เจ็บตายเหล่านี้

เป็นธรรมะ ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง ไม่เป็นอื่น เป็นไปตามเหตุ และปัจจัย อย่างนี้เป็นปัญญา

ส่วนจะเป็นเป็นปัญญาขั้นไหนนั้นก็ขึ้นอยู่กับความเข้าใจที่ได้อบรมมา

หากไม่เข้าใจว่าทุกอย่างเป็นธรรมะ ก็จะมีเราเป็นตัวตนไปสลด สังเวช

ก็ไม่ใช่เป็นปัญญา แต่จะเป็นความเศร้าโศกเสียใจ กลับเป็นอกุศล


ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ภาค ๑ ตอน ๒ ได้จำแนกสังเวควัตถุ ๘ อีกนัยหนึ่งดังนี้ค่ะ

ชาติ ๑

ชรา ๑

พยาธิ ๑

มรณะ ๑

อบายทุกข์ ๑

วัฏฏมูลกทุกข์ (ทุกข์มีวัฏฏะเป็นมูล) ในอดีต ๑

วัฏฏมูลกทุกข์ ในอนาคต ๑

อาหารปริเยฏฐิมูลกทุกข์ (ทุกข์มีการแสวงหาอาหารเป็นมูล) ในปัจจุบัน ๑

ดังนี้แล

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
ใจรวยริน
วันที่ 8 ก.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
คุณ
วันที่ 8 ก.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
Witt
วันที่ 28 ต.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
่jurairat91
วันที่ 9 มิ.ย. 2567

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ