เชื่อกรรม?

 
kanchana.c
วันที่  7 ก.ค. 2552
หมายเลข  12839
อ่าน  1,122

ครอบครัวเราค่อนข้างจะยุ่งเหยิงวุ่นวาย เคยเล่าให้หลวงตาฟัง ท่านบอกว่า เรามีพี่น้อง ๓ ชุด คือ พี่น้องร่วมมารดาบิดา พี่น้องร่วมบิดา และพี่น้องร่วมมารดา แต่สำหรับเราแล้ว ก็เหมือนกันหมด ต่างก็เป็นพี่น้องที่เห็นหน้ากัน กินข้าวหม้อเดียวกัน ไม่เคยแบ่งแยกเลย นอกจากเขาจะแบ่งแยกกันเอง

เหตุการณ์ในอดีต ผ่านไปหมดแล้ว ไม่กลับมาอีกเลยในสังสารวัฏฏ์ ในชาตินี้จำได้เฉพาะที่ประทับใจด้วยความปีติซาบซึ้ง หรือด้วยความสะเทือนใจก็ตาม แต่เมื่อคิดเรื่องสะเทือนใจครั้งใด ก็เหมือนยิงลูกศรซ้ำไปที่แผลเก่า รู้สึกเจ็บปวดขึ้นมาอีก แต่ก็ยังพอใจที่จะยิงลูกศรไปที่เดิมซ้ำๆ สังเกตว่า มีความพอใจที่จะให้จิตเป็นโทสะ ที่เป็นความรู้สึกเศร้าสะเทือนใจ จนน้ำตาปริ่ม อยากจะร้องไห้ออกมาสักโฮใหญ่ ให้หายขุ่นข้องหมองใจ เหมือนเมื่อตอนเป็นเด็ก เคยเป็นอย่างนี้ แล้วก็เป็นอย่างนี้อีก เปลี่ยนไม่ได้ง่ายๆ เลย นี่แหละที่สิ่งที่สะสมมาเนิ่นนานในสังสารวัฏฏ์ เข้าใจหรือยังว่า ทำไมถึงเกิดมาไม่สวย เพราะจิตประกอบด้วยโทสะเป็นพื้น พอใจที่จะคิดเรื่องที่ทำให้รู้สึกเศร้าบ่อยๆ อย่างนี้เอง

คิดถึงท่านโฆสกเศรษฐี ที่ท่านถูกเศรษฐีที่เก็บท่านมาเลี้ยง พยายามฆ่าถึง ๗ครั้ง แต่ไม่สำเร็จ โดยที่ท่านไม่รู้ตัวเลย แม้เมื่อภรรยาของท่านเล่าให้ฟัง ท่านก็ไม่เชื่อเมื่อคนที่ลงมือฆ่าท่านเล่าให้ฟังจึงเชื่อ และอุทานว่า “โอ เราทำกรรมหนักแล้ว”

นับถือจิตใจของท่านมาก ขณะนั้นท่านยังเป็นปุถุชน ยังไม่เป็นพระอริยบุคคลท่านก็ยังเชื่อกรรมและผลของกรรมอย่างหนักแน่น ท่านรู้ว่า การที่ท่านถูกพยายามฆ่าถึง ๗ ครั้ง เพราะอกุศลกรรมที่ท่านได้ทำไว้แล้วในอดีตชาตินั่นเอง ท่านทำไว้เอง ไม่มีใครทำให้ท่าน ท่านจึงไม่ผูกโกรธ หรือแก้แค้นใคร แล้วก็ตั้งหน้าตั้งตาทำกุศลมากมายจนในที่สุดเมื่อได้เฝ้าพระผู้มีพระภาค ได้ฟังพระสัทธรรม ก็ได้บรรลุเป็นพระโสดาบันบุคคล ปิดอบายได้ ภพชาติของท่านก็จะสิ้นสุดภายใน ๗ ชาติ ไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายเป็นสุข เป็นทุกข์ อยู่ในสังสารวัฏฏ์อีก นึกถึงตัวเอง ที่คิดว่า ได้ศึกษาธรรม ฟังธรรมมามากพอสมควร คิดว่าตัวเองเชื่อกรรมและผลของกรรม แต่เมื่อมีเหตุการณ์เกิดกับตัวเอง กลับคิดว่าเป็นคนอื่นทำให้ทำไมเขาถึงไม่รักเรา เหมือนอย่างที่เรานับถือเขา ขนาดเขาไม่ได้ทำร้ายหรือลงมือฆ่าอย่างที่บิดาบุญธรรมทำกับท่านโฆสกเศรษฐี เพียงแต่เป็นเสียงที่ได้ยิน หรือสิ่งที่เห็นจากการกระทำของเขา ซึ่งไม่ทำให้เกิดความทุกข์เดือดร้อนแต่อย่างใด เพราะไม่ได้ประกอบด้วยความรู้สึกเป็นทุกข์ แต่เรากลับเดือดร้อนเพราะกิเลสที่มีอยู่มาก แทนที่จะคิดว่าเป็นอกุศลวิบากของตัวเอง กลับไปโทษคนอื่น เมื่อโทษคนอื่น เรื่องที่คิดก็ยิ่งยาวแล้วก็ไม่สามารถแก้ไขคนอื่นได้ ถ้าคิดแบบท่านโฆสกเศรษฐีว่า “โอ เราทำกรรมไว้หนักแล้ว” ก็จะเริ่มเจริญกุศลทุกทาง เพื่อจะได้เป็นพื้นฐานให้เชื่อกรรมและผลของกรรมยิ่งขึ้น


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
choonj
วันที่ 8 ก.ค. 2552

บางครั้งกรรมกับกิเลสก็แยกออกยากว่าอะไรเป็นกิเลสอะไรเป็นกรรม ท่านว่ากรรม

กิเลสสั่งสมวิบาก เช่นทำไมถึงถูกลูกศรยิงซ้ำๆ ทุกชีวิตเกิดมาก็เป็นไป ตามกรรมหมาย

ความว่าทุกวันนี้มีชีวิตอยู่เพราะกรรม ที่นี้ก็สั่งสมกิเลสไว้มากเมื่อกิเลสเกิดก็ไม่รู้ก็เลยถูก

ลูกศรยิงซ้ำๆ แล้วสั่งสมต่อที่จะเป็นวิบากอีก ที่ว่าบางครั้งกรรมกับกิเลสแยกกันไม่ออก

คือทั้งๆ ที่รู้ว่าเป็นกิเลสก็ยังมีความพอใจที่จะให้โทสะเกิดให้ถูกลูกศร ไม่อาจจะหลีก

เลี่ยงได้เหมือนการได้รับกรรม จึงควรรู้ว่าอะไรเป็นกรรมอะไรเป็นกิเลส เอาชนะกิเลสได้

ก็หลีกเลี่ยงได้เป็นการละ ครับ

ส่วนที่ว่าเกิดมาสวยหรือไม่สวยเป็นคนละเรื่องแล้วเป็นวิบากเป็นผลของกรรม เอา

ดอกไม้มาถวายพระธาตุที่มูลนิธิทุกอาทิตย์ และอยู่ในศีลก็จะสวยแล้ว หายากนะที่จะมี

พระธาตุใกล้ตัว เพราะพระธาตุจะอยู่ไกลถึงอินเดียหรือต่างจังหวัดต้องเดินทาง ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
patnaree
วันที่ 8 ก.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
suwit02
วันที่ 8 ก.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
คุณ
วันที่ 8 ก.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
aiatien
วันที่ 8 ก.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
khampan.a
วันที่ 9 ก.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
วันใหม่
วันที่ 11 ก.ค. 2552

อ่านดี...ทุกอย่างเป็นไปตามเหตุปัจจัย มีกิเลสก็หวั่นไหวไป เป็นธรรมดา

มั่นคงในเรื่องกรรมเป็นเรื่องของปัญญา

ขณะนี้กำลังมีกรรมและผลของกรรม

นี่แหละบทพิสูจน์ในเรื่องความมั่นคงของกรรม

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
pornpaon
วันที่ 14 ก.ค. 2552

“โอ เราทำกรรมหนักแล้ว”

^
^
^

ขออุทานคำเดียวกันกับท่านโฆสก

>_<

เพราะชีวิตจริงแต่ละวัน มีเรื่องเกิดขึ้นมากมาย มีทั้งที่เข้าใจบ้าง ไม่เข้าใจบ้าง

แต่ที่พอจะเข้าใจได้จริงๆ คือ

ต้องมีการสร้างเหตุไว้ (เมื่อไหร่ไม่รู้)

จึงต้องได้รับผล (เมื่อถึงกาลอันให้ผลได้)

รับแล้ว

จะเป็นกุศลจิต หรืออกุศลจิต เกิดขึ้นสะสมสืบต่อ

ก็ขึ้นอยู่กับว่า กิเลส หรือความเข้าใจ

ขณะนั้น...ฝ่ายใดมีกำลังมากกว่ากัน

ขออนุโมทนาในกุศลจิตและกุศลวิริยะของทุกท่านค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ