ความสันโดษ...ตอนที่ ๒
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
สนทนาธรรม เรื่อง การปฏิบัติธรรมณ ห้องประชุมใหญ่ มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ที่ ๒๑ มิถุนายน พศ. ๒๕๕๒ ถอดเทปโดย คุณย่าสงวน สุจริตกุล
ท่านอาจารย์ เมื่อ "พอใจในสิ่งที่มี" แล้วทราบ ว่า สามารถที่จะมี "ความเข้าใจที่เพิ่มขึ้น" ได้อีก เพราะฉะนั้นเมื่อท่านผู้ฟัง ยกตัวอย่าง ว่า เรื่องของ "ความเข้าใจพระธรรม" นั้น ในเมื่อ สามารถที่จะเข้าใจพระธรรม "เพิ่มขึ้น" ได้อีก แล้ว ทำไม ถึงจะไม่ ศึกษา อบรมเพื่อให้เกิด "ความเข้าใจพระธรรม" เพิ่มขึ้นอีก แต่ "หวัง" หรือเปล่าคะ ว่า จะบรรลุ อริยสัจจธรรม ถึง ความเป็น พระอรหันต์ในชาตินี้ ถ้า "หวัง" แล้วจะ เป็นทุกข์ เดือดร้อนใจ ไหม คือ เป็นทุกข์ใจ ว่า ไม่มีความสามารถที่จะอบรมเจริญ "ปัญญา" จนกระทั่ง ถึงความเป็น พระอรหันต์ ในชาตินี้ได้
ท่านผู้ฟัง ถ้ากล่าวถึง "ความหมาย" ของประโยค ที่ว่า "ความสันโดษ เป็น ทรัพย์ อย่างยิ่ง" มีความเกี่ยวข้องกัน อย่างไรครับ
ท่านอาจารย์ กล่าวถึง คำ ว่า "ทรัพย์" หรือ "เข้าใจ" ว่า "ธรรมะ" คืออะไร โดยนัยเดียวกัน ได้ไหม เช่น ขณะนี้ มี "ทรัพย์" แค่นี้ แล้วยังมี ความสามารถที่จะมี "ทรัพย์" เพิ่มขึ้นได้ มากกว่านี้ได้ ตามกำลัง เท่าที่จะมีได้ แต่ จะให้เกินกำลัง ความสามารถที่จะมี "ทรัพย์" นั้น ได้ไหม หมายความว่า เมื่อมีกำลังความสามารถ ที่จะเข้าใจพระธรรม ได้แค่ไหนก็มี "ความยินดีพอใจ" ในกำลังความสามารถเท่าที่จะมีได้ แค่นั้นก่อน และ เมื่อเทียบกับ ขณะนี้ขณะที่ มี กำลังความสามารถ ที่จะ "เข้าใจพระธรรม" เพิ่มได้อีก และ ทราบด้วย ว่า ถ้าได้มี "การศึกษาอบรม" มากขึ้นก็ สามารถที่จะ "เข้าใจมากขึ้น" อีก แล้วก็มี "ความพอใจ" ใน "ความสามารถ" เท่าที่มีขณะนั้น
แต่ ถ้า เกินกว่านั้น เช่น "หวัง" ว่าจะถึง ความเป็นพระอรหันต์ ในชาตินี้ก็เป็นไปไม่ได้ ใช่ไหม ความคิดอย่างนั้นนำมา ซึ่ง ความเป็นทุกข์ เดือดร้อนใจใช่ไหม แต่ เมื่อมี กำลังความสามารถที่จะ "เข้าใจพระธรรม" ที่ได้ฟัง และ มีการ ศึกษาอบรม ได้แค่ไหน ก็ "พอใจ" เท่านั้น โดย เต็มกำลังความสามารถ ที่จะ "เข้าใจ" ได้ ในขณะนี้ อย่างนี้ ก็เป็น "ความพอใจ" ที่ "ไม่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ใจ" โดยนัยนี้เรื่องของสมบัติ เรื่องของลาภ ยศ สรรเสริญ ฯลฯ ก็กล่าว โดยฐานะเดียวกัน
... ขออนุโมทนา ...
ขอขอบพระคุณ ท่าน ผู้เอื้อเฟื้อรูปภาพ ค่ะ