ปรายนสูตร .. ส่วนสุด ๒ อย่าง

 
บ้านธัมมะ
วันที่  13 ก.ค. 2552
หมายเลข  12878
อ่าน  4,622

Oo๐ ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย ๐oO

... สนทนาธรรมที่ ...

<> มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา <>

พระสูตร ที่นำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ

วันเสาร์ ๑๘ ก.ค. ๒๕๕๒ เวลา ๐๙:๐๐ - ๑๒:๐๐น. คือ

๗. ปรายนสูตร

ว่าด้วยส่วนสุด ๒ อย่าง

จาก ... พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต เล่มที่ ๓๖ - หน้าที่ ๗๔๙

... นำสนทนาโดย ...

ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ และคณะวิทยากร

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต เล่มที่ ๓๖ - หน้าที่ ๗๔๙


๗. ปรายนสูตร

ว่าด้วยส่วนสุด ๒ อย่าง


[๓๓๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตน-

มฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ก็สมัยนั้น เมื่อภิกษุผู้เถระหลาย

รูปกลับจากบิณฑบาตภายหลังภัต นั่งประชุมอยู่ที่โรงกลม ได้เกิด

การสนทนากันขึ้นในระหว่างว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าได้ตรัสไว้ในปัญหาของเมตเตยยมาณพ ในปรายนวรรคว่า

ผู้ใดทราบส่วนสุดทั้งสองด้วยปัญญา

แล้ว ไม่ติดอยู่ในส่วนท่ามกลาง เรา

กล่าวผู้นั้นว่าเป็นมหาบุรุษ ผู้นั้นก้าวล่วง

เครื่องร้อยรัดในโลกนี้ได้แล้ว ดังนี้.


ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ส่วนสุดที่ ๑ เป็นไฉนหนอ

ส่วนสุดที่ ๒ เป็นไฉน อะไรเป็นส่วนท่ามกลาง อะไรเป็นเครื่องร้อย

รัด.

เมื่อสนทนากันอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กล่าวกะ

ภิกษุผู้เถระทั้งหลาย ว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ผัสสะเป็นส่วนสุด

ที่ ๑ เหตุเกิดขึ้นแห่งผัสสะเป็นส่วนสุดที่ ๒ ความดับแห่งผัสสะ

เป็นส่วนท่ามกลาง ตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัดเพราะว่า ตัณหาย่อม

ร้อยรัดผัสสะและเหตุเกิดขึ้นแห่งผัสสะนั้น เพราะเป็นที่ เกิดขึ้นแห่ง

ภพนั้นๆ ด้วยเหตุเท่านี้แล ภิกษุชื่อว่าย่อมรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่งย่อม

กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่

ควรกำหนดรู้ ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบันเทียว.

เมื่อภิกษุนั่นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุอีกรูปได้กล่าวกะ

ภิกษุผู้เถระทั้งหลายว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย อดีตเป็นส่วนที่ ๑

อนาคตเป็นส่วนสุดที่ ๒ ปัจจุบันเป็นส่วนท่ามกลาง ตัณหาเป็น

เครื่องร้อยรัด เพราะว่าตัณหาย่อมร้อยรัดอดีต อนาคต และปัจจุบัน

นั้นไว้ เพราะเป็นที่เกิดขึ้นแห่งภพนั้นๆ ด้วยเหตุเท่านี้แล ภิกษุชื่อว่า

ย่อมรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง ย่อมกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อรู้ยิ่ง

ธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดแห่ง

ทุกข์ได้ในปัจจุบันเทียว.

เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้กล่าว

กะภิกษุผู้เถระทั้งหลายว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย สุขเวทนาเป็น

ส่วนสุดที่ ๑ ทุกขเวทนาเป็นส่วนสุดที่ ๒ อทุขมสุขเวทนาเป็นส่วน

ท่ามกลาง ตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด เพราะว่าตัณหาย่อมร้อยรัดสุข

เวทนา ทุกขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนานั้นไว้ เพราะเป็นที่เกิด

ขึ้นแห่งนั้นๆ ด้วยเหตุเท่านี้แล ภิกษุชื่อว่าย่อมรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง

ย่อมกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้

ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบันเทียว.

เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้กล่าว

กะภิกษุผู้เถระทั้งหลายว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย นามเป็นส่วนสุด

ที่ ๑ รูปเป็นส่วนสุดที่ ๒ วิญญาณเป็นส่วนท่ามกลาง ตัณหาเป็น

เครื่องร้อยรัด เพราะว่าตัณหาย่อมร้อยรัด นาม รูป และวิญญาณ

นั้นไว้ เพราะเป็นที่เกิดขึ้นแห่งภพนั้นๆ ด้วยเหตุเท่านี้แล ภิกษุชื่อว่า

ย่อมรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อรู้ยิ่งธรรม

ที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์

ได้ในปัจจุบันเทียว.

เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้กล่าว

กะภิกษุผู้เถระทั้งหลายว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย อายตนะภายใน ๖

เป็นส่วนสุดที่ ๑ อายตนะภายนอก ๖ เป็นส่วนสุดที่ ๒ วิญญาณ

เป็นส่วนท่ามกลาง ตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด เพราะว่าตัณหาย่อม

ร้อยรัดอายตนะภายใน ๖ อายตนะภายนอก ๖ และวิญญาณนั้น

ไว้ เพราะเป็นที่เกิดขึ้นแห่งภพนั้นๆ ด้วยเหตุเท่านี้แล ภิกษุชื่อว่าย่อม

รู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้

ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ใน

ปัจจุบันเทียว.

เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้กล่าว

กะภิกษุผู้เถระทั้งหลายว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย สักกายะเป็นส่วนสุด

ที่ ๑ เหตุเกิดสักกายะเป็นส่วนสุดที่ ๒ ความดับสักกายะเป็นส่วน

ท่ามกลาง ตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด เพราะว่าตัณหาเป็นเครื่องร้อย

รัดสักกายะ เหตุเกิดสักกายะ นั้นไว้ เพราะเป็นที่เกิดขึ้นแห่งภพนั้นๆ

ด้วยเหตุเท่านี้แล ภิกษุชื่อว่าย่อมรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรม

ที่ควรกำหนดรู้ เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนด

รู้ ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบันเทียว.

เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้กล่าว

กะภิกษุผู้เถระ ทั้งหลายว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พวกเราทั้ง

ปวงเทียวได้พยากรณ์ตามปฏิภาณของตนๆ มาเถิด เราทั้งหลายจักพา

กันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ แล้วจักกราบทูลเนื้อ

ความนั้นให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาคเจ้าจักทรงพยากรณ์แก่พวกเรา

โดยประการใด เราทั้งหลายจักทรงจำข้อที่ทรงพยากรณ์ นั้นไว้

โดยประการนั้น ภิกษุผู้เถระทั้งหลายรับคำของภิกษุนั้นแล้ว ครั้งนั้น

ภิกษุผู้เถระทั้งหลาย ได้พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประ-

ทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบ

ทูลการที่สนทนาปราศรัยทั้งหมดนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วทูล

ถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญคำของใครหนอเป็นสุภาษิต พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายคำของเธอทั้งปวงเป็นสุภาษิต

โดยปริยาย อนึ่ง เรา หมายเอาข้อความที่กล่าวไว้ในปัญหาของเมต-

เตยยมาณพ ในปรายนวรรคว่า

ผู้ใดทราบส่วนสุดทั้งสองด้วยปัญญา

แล้วไม่ติดอยู่ในส่วนท่ามกลาง เรากล่าว

ผู้นั้นว่า เป็นมหาบุรุษ ผู้นั้นก้าวล่วง

เครื่องร้อยรัดในโลกนี้ได้แล้ว ดังนี้.


เธอทั้งหลายจงฟังข้อความนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจัก

กล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาค-

เจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผัสสะเป็นส่วนสุดที่ ๑ เหตุเกิด

ผัสสะเป็นส่วนสุดที่ ๒ ความดับผัสสะเป็นส่วนท่ามกลาง ตัณหา

เป็นเครื่องร้อยรัด เพราะว่าตัณหาย่อมร้อยรัดผัสสะ เหตุเกิดผัสสะ

และความดับผัสสะนั้นไว้ เพราะเป็นที่เกิดขึ้นแห่งภพนั้นๆ ด้วยเหตุเท่า

นี้แล ภิกษุจึงชื่อว่าย่อมรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนด

รู้ เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ย่อมเป็นผู้ทำที่

สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบันเทียว.

จบปรายสูตรที่ ๗





อรรถกถาปรายนสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในอรรถกถาปรายนสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปารายเน เมตฺเตยฺยปญฺเห ได้แก่ ในปัญหาของเมต-

เตยยมาณพที่มาในปารายนวรรค. บทว่า อุภนฺเต วิทิตฺวาน ได้แก่

ทราบที่สุด ๒ อย่าง คือ ส่วน ๒ ส่วน. บทว่า มชฺเฌ มนฺตา น ลิปฺ-

ปติ ความว่า ปัญญาเรียกว่า มันตา (บุคคลใด) ทราบที่สุดทั้งสอง

ด้วยปัญญาที่เรียกว่า มันตานั้นแล้วไม่ติดอยู่ในท่ามกลาง คือ ไม่ติด

อยู่ในที่ตรงกลาง. บทว่า สิพฺพนิมจฺจคา ความว่า (บุคคลนั้น) ผ่าน

พ้นตัณหาที่เรียกว่า สิพพนี (เครื่องร้อยรัด) ได้แล้ว.

บทว่า ผสฺโส ความว่า เพราะบังเกิดด้วยอำนาจผัสสะ อัตภาพ

นี้จึงมี. บทว่า เอโก อนฺโต ความว่า ผัสสะนี้เป็นส่วนหนึ่ง.

บทว่า ผสฺสสมุทโย มีรูปวิเคราะห์ว่า ผัสสะเป็นเหตุเกิดของอัตภาพ

นั้น เหตุนั้น อัตภาพนั้นจึงชื่อว่า มีผัสสะเป็นเหตุเกิด. อัตภาพใน

อนาคตจักบังเกิดได้เพราะมีผัสสะ คือ กรรมที่ทำไว้ในอัตภาพนี้เป็น

ปัจจัย. บทว่า ทุติโย อนฺโต ได้แก่ ส่วนที่ ๒. บทว่า ผสฺสนิโรโธ

ได้แก่ นิพพาน. บทว่า มชฺเฌ ความว่า นิพพานชื่อว่า เป็นท่าม

กลาง เพราะหมายความว่าแยกธรรม (ผัสสะและเหตุเกิดของผัสสะ)

ออกเป็น ๒ ฝ่ายโดย ตัดตัณหาเครื่องร้อยรัดเสียได้. บทว่า ตณฺ-

หา หิ นํ สิพฺพติ ความว่า ตัณหาย่อมร้อยรัด คือ เชื่อมต่อผัสสะ

(กล่าวคืออัตภาพทั้งสอง) และเหตุเกิดของผัสสะนั้นเข้าด้วยกัน. ถาม

ว่า เพราะเหตุไร? ตอบว่า เพราะทำภพนั้นๆ นั่นแลให้บังเกิด อธิบาย

ว่า ถ้าหากตัณหาจะไม่พึงร้อยรัด (ผัสสะกับเหตุเกิดของผัสสะ) ไว้

ไซร้ ภพนั้นๆ แลก็จะไม่พึงบังเกิด.

ในที่นี้ นักปราชญ์ทั้งหลายได้แสดงข้อเปรียบเทียบระหว่างที่

สุดกับท่ามกลางไว้. อธิบายว่า คำว่าที่สุด (ปลาย) และท่ามกลาง

ท่านกล่าวไว้สำหรับไม้ ๒ ท่อน ที่บุคคลรวมเข้าด้วยกันแล้วเอาเชือก

มัดตรงกลางไว้. เมื่อเชือกขาด ไม้ทั้งสองท่อนก็จะหล่นจากทั้งสอง

ข้าง (ข้างปลายและตรงกลาง) . ในข้อนี้ก็เป็นอย่างนั้น คือ ที่สุด ๒

อย่างซึ่งมีประการดังกล่าวแล้ว เปรียบเหมือนไม้ ๒ ท่อน. ตัณหา

เปรียบเหมือนด้ายที่ร้อยรัด (ไม้) อยู่ เมื่อตัณหาดับ ที่สุดทั้งสองก็

เป็นอันดับด้วย เปรียบเหมือนเมื่อด้ายขาด ไม้ทั้ง ๒ อันก็หล่นจากทั้ง

สองข้าง.

บทว่า เอตฺตาวตา คือ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เพราะรู้ที่สุดทั้งสอง

แล้วไม่ถูกตัณหาฉาบติดไว้ตรงกลางนี้ ภิกษุจึงชื่อว่า รู้ยิ่งธรรม คือ

สัจจะ ๔ ที่ควรรู้ยิ่ง จึงชื่อว่า กำหนดรู้สัจจะที่เป็นโลกิยะทั้งสอง ที่

ควรกำหนดรู้ด้วยตีรณปริญญา และปหานปริญญา. บทว่า ทิฏฺเฐว

ธมฺเม ได้แก่ ในอัตภาพนี้แล. บทว่า ทุกฺขสฺสนฺตกโร โหติ ความ

ว่า ชื่อว่า เป็นผู้ทำที่สุด คือ ทำการกำหนดรอบวัฏทุกข์.

ในวาระที่ ๒ มีอธิบายดังต่อไปนี้ พึงทราบอุปมาด้วยอำนาจ

ไม้ ๓ ท่อน จริงอยู่ ไม้ ๓ ท่อน ที่บุคคลเอาเชือกมัดไว้ เมื่อเชือก

ขาด ไม้ ๓ ท่อนก็จะตกไปในที่ ๓ แห่ง. ในข้อนี้ก็เป็นอย่างนี้ คือ

ขันธ์ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เปรียบเหมือนไม้ ๓ ท่อน.

ตัณหา เปรียบเหมือนเชือก เพราะว่าตัณหานั้นร้อยรัดขันธ์ที่เป็นอดีต

เข้ากับขันธ์ที่เป็นปัจจุบัน และร้อยรัดขันธ์ที่เป็นปัจจุบันเข้ากับขันธ์ที่

เป็นอนาคต เมื่อตัณหาดับ ขันธ์ที่เป็นอดีตอนาคต และปัจจุบันก็

เป็นอันดับด้วย เปรียบเหมือนเมื่อเชือกขาดไม้ ๓ ท่อน ก็ตกไปในที่

๓ แห่ง.

ในวาระที่ ๓ มีอธิบายดังต่อไปนี้ บทว่า อทุกฺขมสุขา มชฺเฌ

ความว่า อทุกขมสุขเวทนา ชื่อว่า ท่ามกลาง เพราะภาวะที่อยู่

ในระหว่างเวทนาอีก ๒ (สุขเวทนากับทุกขเวทนา) . เพราะว่า สุข

ชื่อว่าอยู่ในภายในแห่งทุกข์ หรือว่า ทุกข์ ชื่อว่าอยู่ในภายในแห่งสุข

ไม่มี. บทว่าตณฺหาสิพฺพินี ได้แก่ ความเพลิดเพลินและความกำหนัด

ในเวทนาทั้งหลาย. บทว่า เวทนานํ อุปจฺเฉทํ นิวาเรติ ความว่า

(ตัณหา) ชื่อว่า ร้อยรัดเวทนาเหล่านั้นไว้.

ในวาระที่ ๔ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ บทว่า วิญฺญาณํ

มชฺเฌ ความว่า ทั้งปฏิสนธิวิญญาณ ทั้งวิญญาณที่เหลือ ชื่อว่า

เป็นท่ามกลางของนามรูปทั้งหลาย เพราะเกิดขึ้นโดยเป็นปัจจัยของ

นามรูป.

ในวาระที่ ๕ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ บทว่า วิญฺญาณํ

มชฺเฌ ความว่า กรรมวิญญาณ ชื่อว่าเป็นท่ามกลาง อีกอย่างหนึ่ง

วิญญาณชนิดใดชนิดหนึ่งในที่นี้ ชื่อว่าเป็นท่ามกลาง เพราะในบรรดา

อายตนะภายใน (เฉพาะ) มนายตนะ (อายตนะคือใจ) รับเอากรรม

ไว้. อีกอย่างหนึ่ง ชวนวิญญาณชื่อว่าเป็นท่ามกลาง เพราะมโน-

ทวาราวัชชนะ (การน้อมนึกในมโนทวาร) อาศัยอายตนะภายใน.

ในวาระที่ ๖ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ บทว่า สกฺกาโย

ได้แก่ วัฏฏะที่เป็นไปในภูมิ ๓. บทว่า สกฺกายสมุทโย ได้แก่ สมุทัย

สัจ. บทว่า สกฺกายนิโรโธ ได้แก่ นิโรธสัจ. บทว่า ปริยาเยน คือ

ด้วยเหตุนั้นๆ .

บทที่เหลือพึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในที่ทุกแห่งทีเดียว.


จบอรรถกถาปรายนสูตรที่ ๗


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
pornpaon
วันที่ 13 ก.ค. 2552

Oo๐ ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย ๐oO

...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ผัสสะเป็นส่วนสุดที่ ๑

เหตุเกิดผัสสะเป็นส่วนสุดที่ ๒

ความดับผัสสะเป็นส่วนท่ามกลาง

ตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด

เพราะว่าตัณหาย่อมร้อยรัดผัสสะ เหตุเกิดผัสสะ และความดับผัสสะนั้นไว้

เพราะเป็นที่เกิดขึ้นแห่งภพนั้นๆ

ด้วยเหตุเท่านี้แล

ภิกษุจึงชื่อว่าย่อมรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้

เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้

ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบันเทียว.

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 14 ก.ค. 2552

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ปรายนสูตร (ว่าด้วยส่วนสุด ๒ อย่าง)

ข้อความโดยสรุป

ภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลาย ได้สนทนากันถึงปัญหาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในปัญหาของเมตเตยยมาณพ ในปรายนวรรคว่า “ผู้ใด ทราบส่วนสุดทั้งสอง ด้วยปัญญาแล้ว ไม่ติดอยู่ในส่วนท่ามกลาง เรากล่าวผู้นั้นว่าเป็นมหาบุรุษ ผู้นั้นก้าวล่วงเครื่องร้อยรัดในโลกนี้ได้แล้ว ดังนี้”เมื่อถามกันว่าอะไรเป็นส่วนสุดที่ ๑ อะไรเป็นส่วนสุดที่ ๒ อะไรเป็นส่วนท่ามกลางและอะไรเป็นเครื่องร้อยรัด, ภิกษุ ๖ รูป ได้ตอบตามลำดับดังนี้ (รูปที่ ๑) ผัสสะ เป็นส่วนสุดที่ ๑ เหตุเกิดขึ้นแห่งผัสสะเป็นส่วนสุดที่ ๒ ความดับแห่งผัสสะ เป็นส่วนท่ามกลาง ตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด (ร้อยรัดผัสสะและเหตุเกิดขึ้นแห่งผัสสะ) เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ จึงเป็นผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ (รูปที่ ๒) อดีตเป็นส่วนสุดที่ ๑ อนาคตเป็นส่วนสุดที่ ๒ ปัจจุบันเป็นส่วนท่ามกลางตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด (ร้อยรัดอดีต อนาคต และปัจจุบัน) ... (รูปที่ ๓) สุขเวทนา เป็นส่วนสุดที่ ๑ ทุกขเวทนา เป็นส่วนสุดที่ ๒ อทุกขมสุขเวทนาเป็นส่วนท่ามกลาง ตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด (ร้อยรัดเวทนาทั้งสาม) ... (รูปที่ ๔) นาม เป็นส่วนสุดที่ ๑ รูป เป็นส่วนสุดที่ ๒ วิญญาณ เป็นส่วนท่ามกลางตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด (ร้อยรัดนาม รูป และ วิญญาณ) ... (รูปที่ ๕) อายตนะภายใน เป็นส่วนสุดที่ ๑ อายตนะภายนอก เป็นส่วนสุดที่ ๒ วิญญาณเป็นส่วนท่ามกลาง ตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด (ร้อยรัดอายตนะภายใน อายตนะภายนอก และวิญญาณ) ... (รูปที่ ๖) สักกายะ เป็นส่วนสุดที่ ๑ เหตุเกิดแห่งสักกายะเป็นส่วนสุดที่ ๒ ความดับแห่งสักกายะ เป็นส่วนท่ามกลาง ตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด (ร้อยรัดสักกายะ และ เหตุเกิดแห่งสักกายะ) ... ครั้นแล้ว จึงเข้าไปกราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่าคำของใครเป็นสุภาษิต พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า คำของทุกรูปเป็นสุภาษิตโดยปริยาย (ด้วยเหตุนั้นๆ ,โดยอ้อม) ต่อจากนั้นพระองค์จึงได้ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย อย่างนัยของภิกษุรูปที่ ๑ (ภิกษุรูปที่ ๑ ได้ฟังจากพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนั้น พระดำรัสของพระองค์ จึงเป็นคำสุภาษิตโดยตรง) . ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
Jans
วันที่ 15 ก.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
พุทธรักษา
วันที่ 15 ก.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
orawan.c
วันที่ 16 ก.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
noynoi
วันที่ 16 ก.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 17 ก.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
paderm
วันที่ 17 ก.ค. 2552

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
petcharath
วันที่ 18 ก.ค. 2552
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
h_peijen
วันที่ 18 ก.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
suwit02
วันที่ 18 ก.ค. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
คุณ
วันที่ 18 ก.ค. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
รัส
วันที่ 19 ก.ค. 2552
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 12878 ความคิดเห็นที่ 12 โดย คุณ

สาธุ


ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
chulalak
วันที่ 1 ส.ค. 2556

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
swanjariya
วันที่ 7 ส.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ