การติเตียนพระอริยะ

 
mrvit
วันที่  15 ก.ค. 2552
หมายเลข  12907
อ่าน  2,121

อยากทราบเกี่ยวกับการติเตียนพระอริยะ ซึ่งจะปิดกั้นการบรรลุธรรม การติเตียนต่อหน้าและลับหลัง มีโทษเหมือนหรือแตกต่างอย่างไรครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 16 ก.ค. 2552
การกล่าวติเตียนหรือด่าว่าพระอริยเจ้าทั้งต่อหน้าหรือลับหลังย่อมมีโทษเหมือนกันจะติเตียนเพียงเล็กน้อยหรือติเตียนมากก็ชื่อว่าติเตียนเหมือนกัน ดังนั้นจึงไม่ควรติเตียนหรือด่าว่าใครๆ เลยครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
suwit02
วันที่ 16 ก.ค. 2552

สาธุ

ไม่เคยเห็นคุณมาก่อน เข้าใจว่าคงเข้ามาใหม่

ขอต้อนรับคุณวิท ครับ

จากคุณวิท

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 16 ก.ค. 2552

พระไตรปิฏกก็มีแสดงไว้ เช่น พระโกกาลิกะมาฟ้องพระพุทธเจ้าว่าพระสารีบุตรและ

พระโมคคัลลานะเป็นผู้มีความปรารถนาลามก พระโกกาลิกะตายไปเกิดในปทุมนรก

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 16 ก.ค. 2552

ขออนุโมทนาคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
วันใหม่
วันที่ 16 ก.ค. 2552

การติเตียน มี 2 อย่าง

ติเตียนด้วยอกุศลจิต คิดเพ่งโทษ เช่น คอยหาช่องผิดเพื่อว่าบุคคลนั้น

ติเตียนด้วยกุศลจิต ด้วยจิตที่ดีงาม ด้วยการอนุเคราะห์เกื้อกูล

เพื่อให้บุคคลนั้นออกจากอกุศลแล้วตั้งอยูในกุศล เจริญในคุณธรรม

ดังตัวอย่างพระพุทธเจ้าทรงติเตียน ภิกษุผู้กระทำในสิ่งที่ไม่สมควร

พระพุทธเจ้าทรงแสดงเรื่องการกล่าววาจาต่อหน้าและลับหลังว่า หากเรื่องใดไม่จริง

ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ (ประโยชน์คือละอกุศลให้ตั้งอยูในกุศล หรือกุศลเจริญขึ้น)

ไม่ควรพูดวาจา ลับหลังและต่อหน้าในเรื่องนั้น

เรื่องใดจริง แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ก็ไม่ควรพูดคำนั้นทั้งต่อหน้าและลับหลัง

แต่เรื่องใดจริงแท้ ประกอบด้วยประโยชน์ควรดูเวลาที่จะพูด

อีกประการหนึ่งพระพุทธองค์ทรงแสดงว่า เรื่องใดที่ได้เห็น ได้ยิน ได้ทราบ เมื่อพูดแล้ว

อกุศลเจริญก็ไม่ควรพูด แต่พูดแล้วกุศลเจริญก็ควรพูด

ดังนั้นการติเตียนจึงมีทั้งฝ่ายกุศลและอกุศลตามที่กล่าวมา ผู้มีปัญญาจึงพิจารณาตามที่พระพุทธองค์ทรงแสดงในเรื่องการพูดติเตียนว่าควรพูดในสิ่งใด

เป็นประโยชน์หรือไม่เป็นประโยชน์

ดังนั้นไมได้สำคัญที่ครบองค์กรรมบถหรือไม่ครบองค์กรรมบถ

แต่เห็นโทษแม้เพียงเล็กน้อยหรือไม่แม้คำพูดที่มีในชีวิตประจำวัน ขณะนี้เอง

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
วันใหม่
วันที่ 16 ก.ค. 2552

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้าที่ 281 ผรุสวาจาเพียงดังจอบ ซึ่งเป็นเครื่องตัดทอน ตนของตนพาล ผู้กล่าว

คำชั่ว ย่อมเกิดขึ้นที่ปากของบุคคลผู้เป็นบุรุษพาล ผู้ใดสรรเสริญผู้ที่ควรติเตียนหรือติเตียนคนที่ควรสรรเสริญ ผู้นั้นชื่อว่าสะสมโทษด้วยปาก ย่อมไม่ประสบความสุข

เพราะโทษนั้น การปราชัยด้วยทรัพย์ในการเล่นการพนันด้วยตนเองจนหมดตัว เป็น

โทษมีประมาณน้อย การที่บุคคลยังใจให้ประทุษร้ายในพระอริยเจ้า ผู้ดำเนินดีแล้วนี้

เป็นโทษมากกว่า บุคคลตั้งวาจาและใจอันเป็นบาป แล้วติเตียนพระอริยะ ย่อมเข้า

ถึงนรกสิ้นหนึ่งแสนนิรัพพุทกัป ๓๖ นิรัพพุทะ และ ๕ อัพพุทะ.

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
khampan.a
วันที่ 16 ก.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
suwit02
วันที่ 16 ก.ค. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
aiatien
วันที่ 16 ก.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
noynoi
วันที่ 16 ก.ค. 2552

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
วันใหม่
วันที่ 16 ก.ค. 2552

ขอเรียนเสริมเพิ่มเติมจากความเห็นที่ 4

เรื่องปทุมนรก จากที่ได้อ่านในพระไตรปิฎกแสดงไว้ว่า ปทุมนรกเป็นส่วนหนึ่งของ

อเวจีมหานรก ไม่ได้เป็นนรกที่แยกออกมาซึ่งโรรุวนรกก็เป็นส่วนหนึ่งของอเวจีมหานรก

เช่นกัน ท่านพระโกกาลิกะ ติเตียนด่าว่าพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ เมื่อท่านตาย

ไปจึงเกิดในปทุมนรก ซึ่งมีอายุยาวนานมากซึ่งตามความเห็นที่ 4 ได้กล่าวไว้ว่ามีอายุ

เท่ากับ ๘๓๑,o๔o,ooo ล้านปีมนุษย์ แต่ความจริงแล้วปทุมนรกมีอายุยาวนานกว่านั้น

มากๆ ๆ ๆ ดังข้อความดังต่อไปนี้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 175 บทว่า กาลมกาสิ ความว่า เมื่ออุปัชฌาย์หลีกไป ภิกษุโกกาลิกได้ทำกาละ

แล้ว. บทว่า ปทุมนิรย ความว่า ชื่อว่าปทุมนรกไม่มีเฉพาะแต่อย่างเดียว. ภิกษุโกกาลิกเกิดในที่หนึ่งในอวิจีมหานรกที่จะพึงหมกไหม้โดยการคำนวณปทุมหนึ่ง

(ปุทุมนั้นเป็นสังขยาซึ่งมีจำนวนสูญ ๑๒๔ สูญ) .

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
saifon.p
วันที่ 18 ก.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ