ความสันโดษ...ตอนที่ ๖
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
สนทนาธรรม เรื่อง การปฏิบัติธรรมณ ห้องประชุมใหญ่ มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ที่ ๒๑ มิถุนายน พศ. ๒๕๕๒ ถอดเทปโดย คุณย่าสงวน สุจริตกุล
วิทยากร ในพระสูตร ท่านแสดงเรื่องของ "ความสันโดษ" ไว้ โดยละเอียดมาก นอกจาก "ความยินดี" ตามมี ตามได้ แล้วก็ยังมี "ความยินดีตามสมควร" ... "ความยินดีตามกำลัง" เป็นต้น
ท่านอาจารย์ อะไร เป็น "เครื่องวัด" ว่า "สันโดษ" หรือเปล่า เพราะว่า ถ้ายังมีกิเลสอยู่ จะไม่ยินดีพอใจ ในสิ่งที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ นั้น.เป็นไปได้ หรือ ในเมื่อยังมีกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้นการที่จะถึง "ความเป็นผู้ที่ไม่มีกิเลสเลย" นั้น เป็นไปได้ไหมคะ สำหรับผู้ที่ไม่มี "ปัญญา" และ "กิเลสที่มีอยู่"
จากการที่ "มีกิเลสมาก" ไปจนถึงการที่จะ "ไม่มีกิเลสเลย" เป็นไปได้ไหม เพราะฉะนั้นคำสอนของพระผู้มีพระภาคก็ เป็นไป ตามลำดับขั้น ถึงแม้ว่า เป็นบุคคลผู้ซึ่ง "ยังมีกิเลส" อยู่เพราะว่าเป็นบุคคลผู้ซึ่ง "ยังไม่ได้ดับกิเลส" แต่ "กิเลส" นั้นถึงกับทำให้ คนอื่นเดือดร้อน หรือ ตนเองเดือดร้อน หรือเปล่า เพราะฉะนั้น "ปัญญา" เท่านั้น ที่จะทำให้ทราบ ว่า ขณะนั้น สันโดษ หรือ ไม่สันโดษ
อะไร เป็น "เครื่องวัด" อย่างเช่น พระภิกษุ ท่านมีจีวร ๓ ผืน ใช่ไหมคะ และถ้าหากท่านมีมากกว่านั้น สันโดษไหมคะ และ ถ้าหากมีคนนำจีวร มาถวายให้ท่าน เป็นจำนวนมากท่านรับไป แล้วท่านนำจีวรที่ได้รับนั้นไป เพื่อ "ประโยชน์" (เช่น มอบให้พระภิกษุที่ยังไม่มีจีวร เป็นต้น) เพราะท่านจะเก็บไว้เป็นของท่านเอง ก็ไม่ได้ นั่น คือ "ชีวิตของบรรพชิต" แล้วสำหรับ "ชีวิตของคฤหัสถ์" ก็แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างแล้ว ใชไหมคะ การที่ คฤหัสถ์จะ "สันโดษ" อย่าง บรรพชิตเป็นไปได้ไหมคะ เช่น จะมีใครที่ "พยายาม" จะมีเสื้อเพียง ๓ ตัวเป็นไปได้ไหมคะ เพราะฉะนั้นเมื่อมีเท่าไร ก็ยินดี เท่าที่มี และ ขณะใดที่เห็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่น่าพอใจและ เป็นที่ต้องการที่จะได้มา ขณะนั้น
ถ้าไม่กระทำทุจริตกรรม ขณะนั้น ก็ชื่อว่า มีความสันโดษ คือ พอใจในสิ่งที่มี (โดยไม่เบียดเบียนตนเอง และ บุคคลอื่น เพราะการกระทำทุจริตกรรม) ขณะนั้นมีความพอใจ ในสิ่งที่ตนสามารถแสวงหามาได้ ตามกำลัง ถ้า สิ่งที่แสวงหามาได้นั้น แสวงหามาโดยไม่เป็นโทษ เพื่อที่จะทำให้ การดำรงชีวิต มีความสบายขึ้นและไม่เดือดร้อนเพราะ "ความต้องการที่มาก" เพราะถ้าหาก "ความต้องการที่มาก" นั้น มาก จนถึงกับ กระทำทุจริตกรรม คือ "กระทำทุจริตกรรม" เพื่อให้ได้มา ซึ่งสิ่งที่ตนเองยินดีพอใจ (นี่คือ ไม่สันโดษ แล้ว) เพราะฉะนั้น เป็นเรื่องของ "ปัญญา" ที่จะต้อง รู้ ถึง "สภาพธรรม" ที่ได้สะสมมา ตามลำดับขั้น ด้วย ด้วยเหตุนี้ "การไม่กระทำทุจริตกรรม" ก็เป็นระดับของ "ความสันโดษ" ขั้นหนึ่ง แต่หากใคร ที่สามารถจะมี "ความสันโดษ" ได้มากกว่านี้อีก ก็เป็นไปได้ ตามกำลังของ "ปัญญา"
ขออนุโมทนา