ความประพฤติเสมอ

 
Pongpat
วันที่  19 ก.ค. 2552
หมายเลข  12940
อ่าน  3,164

สวัสดีครับ ได้อ่านปุญญกิริยาวัตถุสูตรที่ ๑มาถึงข้อความที่ว่า

ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ ดังนี้ว่า กุลบุตรผู้ใคร่ประโยชน์ พึงศึกษาบุญนั่นแล อันให้ผลเลิศต่อไป ซึ่งมีสุขเป็นกำไร คือ พึงเจริญทาน ๑ ความประพฤติเสมอ ๑ เมตตาจิต ๑ บัณฑิตครั้นเจริญธรรม ๓ ประการ อันเป็นเหตุให้เกิดความสุขเหล่านี้แล้วย่อมเข้าถึงโลกอันไม่มีความเบียดเบียน

ขอท่านวิทยากรและท่านสมาชิก อธิบายขยายความเรื่องความประพฤติเสมอทีครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 20 ก.ค. 2552

คำว่า ความประพฤติเสมอ มาจากภาษาบาลีว่า สมจริยา โดยอรรถะ หมายถึง กุศลศีล ได้แก่ การประพฤติตามศีล ๕ ศีล ๘ เป็นต้น (ตามสิกขาบทของคฤหัสถ์)


 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
Pongpat
วันที่ 20 ก.ค. 2552
ขอบพระคุณครับ ขออนุโมทนา
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
suwit02
วันที่ 20 ก.ค. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 20 ก.ค. 2552

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงตลอด ๔๕ พรรษานั้น มีความละเอียดลึกชึ้ง เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้ที่ได้ศึกษาและมีความเข้าใจไปตามลำดับอย่างแท้จริงเพราะทุกส่วนของคำสอนเป็นเครื่องเตือนเพื่อความเป็นผู้ไม่ประมาทในชีวิต เพื่อความประพฤติที่ดีงามทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ ขณะที่มีความประพฤติที่ดีงามเรียบร้อย ไม่ล่วงอกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ มีการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม เป็นต้น, ตั้งจิตไว้ชอบในกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ มีการงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ เป็นต้นเรียกว่า สมจริยา (ความประพฤติเสมอ, ความประพฤติทีดีงาม) บางแห่งคำว่า ธรรมจริยา กับ สมจริยา ก็ใช้แทนกันได้ เพราะเป็นความประพฤติที่เป็นไปเพื่อระงับซึ่งกุศลธรรมทั้งหลาย ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
วันใหม่
วันที่ 20 ก.ค. 2552

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Pongpat
วันที่ 21 ก.ค. 2552
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
pornpaon
วันที่ 21 ก.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 22 ก.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
orawan.c
วันที่ 23 ก.ค. 2552

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
pamali
วันที่ 11 ส.ค. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ