ข้าวหนึ่งเมล็ด

 
Nareopak
วันที่  20 ก.ค. 2552
หมายเลข  12945
อ่าน  1,306

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 19 กรกฏาคม 52 ที่ผ่านมา มีผู้ฟังท่านหนึ่ง เรียนถามปัญหากับท่านอาจารย์ คำตอบของท่านอาจารย์ "ข้าวหนึ่งเมล็ด สามารถเจริญงอกงามเป็นข้าวได้อีกกี่เมล็ด" ทำให้ดิฉันเข้าใจถึงคำว่า "ภูมิปัญญา" (อันสูงส่งลึกซึ้งของท่านอาจารย์) และเกิดความอิ่มอกอิ่มใจ จนทำให้ดิฉันลืมคำถามของท่านผู้ฟังท่านนั้น

จึงขอความกรุณาจากท่านวิทยากร (ที่อยู่ในช่วงนั้น) ช่วยทบทวนให้ด้วยค่ะ

ขอกราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 21 ก.ค. 2552

เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาปัญหาที่ผู้ถาม คือเรื่องกรรม และการให้ผล ว่าทำไม เมื่อทำกรรมครั้งเดียว ผลจึงมีมากหลายชาติ ซึ่งตรงกับปัญหาที่มีกระทู้บนกระดานสนทนา

นี้ คือ ทำไมทำบาปครั้งเดียว ผลจึงมากมายนัก?

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
Nareopak
วันที่ 21 ก.ค. 2552

เข้าไปอ่านแล้วค่ะ ถ้าอย่างนั้น "กุศลกรรม" ก็ให้ผลเหมือนกันใช่ไหมค่ะ ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 21 ก.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
prachern.s
วันที่ 21 ก.ค. 2552

เรียนความเห็นที่ ๒

ถูกต้องครับ ทั้งกุศลกรรม และอกุศลกรรมย่อมมีผลมากกว่าตน

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
khampan.a
วันที่ 21 ก.ค. 2552

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระนางมัลลิกาเทวี กราบทูลแด่พระเจ้าปเสนทิโกศลว่า “ขอพระองค์จงสดับเถิดมหาราช; ก็ในอดีตกาล หม่อมฉันเป็นกุลธิดา เมื่ออยู่ในตระกูลสามี เห็นแขกผู้เป็นสหายของสามีมาแล้ว ประสงค์จะหุงข้าวเพื่อแขกนั้น จึงให้กหาปณะแก่นางทาสีด้วยสั่งว่า 'เธอจงไปซื้อเนื้อมา' เมื่อนางทาสีนั้นไม่ได้เนื้อมาแล้ว กล่าวว่า 'เนื้อไม่มี' (หม่อมฉัน) จึงตัดศีรษะแม่แพะที่นอนอยู่เบื้องหลังเรือน จัดแจงภัตรให้สำเร็จ (ทำเป็นอาหาร) ; หม่อมฉันนั้น ตัดศีรษะแม่แพะตัวเดียว ไหม้ในนรก ด้วยเศษผลแห่งกรรม จึงได้ถูกตัดศีรษะ ด้วยการนับขนแม่แพะนั้น”

(ข้อความบางตอนจาก....พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท) การฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญาในชีวิตประจำวัน ย่อมเป็นไปเพื่อขัดเกลาอกุศลของตนเองให้เบาบางลง ถึงแม้ว่าจะยังไม่สามารถดับได้อย่างเด็ดขาด ก็เป็นประโยชน์ เพราะจิตใจเป็นสภาพธรรมที่ระวังยาก รักษายาก ถ้าหากตกไปในฝักฝ่ายของอกุศล หิริ (ความละอายแก่ใจ) โอตตัปปะ (ความเกรงกลัวต่อบาป) ก็สามารถที่จะเกิดขึ้น ทำให้ถอยกลับจากอกุศลต่างๆ ได้ในทันที เป็นผู้เห็นโทษเห็นภัยของอกุศล ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่ทำให้จิตใจเศร้าหมอง ทำให้จิตใจเดือดร้อน และที่น่าพิจารณาอย่างยิ่ง นั้นก็คือ ไม่คุ้มเลย กับการกระทำกุศลกรรม เพราะเป็นเหตุนำมาซึ่งความทุกข์ทั้งในโลกนี้ และ โลกหน้า ดังนั้น ถ้าไม่ต้องการความเดือดร้อนในภายหลัง ก็ต้องไม่ทำอกุศลกรรม โดยประการทั้งปวง นอกจากนั้นแล้วยังจะต้องสะสมความดีในชีวิตประจำวัน ตามกำลัง ด้วยครับ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
paderm
วันที่ 21 ก.ค. 2552

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
pornpaon
วันที่ 21 ก.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
Nareopak
วันที่ 22 ก.ค. 2552

"เพราะจิตใจเป็นสภาพธรรมที่ระวังยาก รักษายาก" เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ ขอบพระคุณค่ะและขออนุโมทนาในกุศลจิตของอาจารย์ khampan.a ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
Pongpat
วันที่ 22 ก.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
noynoi
วันที่ 22 ก.ค. 2552

ขออนุโมทนา

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ