จิตเห็นมืด หรือ สว่าง

 
เมตตา
วันที่  22 ก.ค. 2552
หมายเลข  12957
อ่าน  9,817

จิตเห็นมืด หรือ สว่าง


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 22 ก.ค. 2552
ได้เข้าใจตามคำบรรยายของท่านอาจารย์ เรื่องความมืด และ ความสว่าง ว่า ความสว่างมีเพียงโลกทางตา ที่เป็นรูปารมณ์ สีสันต่างๆ เท่านั้น ส่วนโลกทางอื่น คือ ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจ มืดทั้งหมด ดังนั้นจิตเห็นเป็นนามธรรม รู้ได้ทางใจจึงมืดครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
เมตตา
วันที่ 22 ก.ค. 2552

ขอขอบพระคุณค่ะ

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
จำแนกไว้ดีจ๊ะ
วันที่ 22 ก.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับอ้างถึงใน ความคิดเห็นที่ 1 ท่าน prachern.s ...จิตเห็นเป็นนามธรรม รู้ได้ทางใจจึงมืดครับ...

ผมไปทัศนศึกษาที่ถ้ำเพชรถ้ำทอง อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ รองหัวหน้าอุทยาน คนนำทางให้ทุกคนปิดไฟ เพื่อดูว่าความมืดสนิทเป็นอย่างไร ไม่มีแม้แสงเดือน และดาว หรือเงาตะคุ่มใดๆ จิตเห็นมืดเช่นนี้แล้ว จะมีความน่าอภิรมย์ละหรือท่านทั้งหลาย

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 22 ก.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ใจรวยริน
วันที่ 22 ก.ค. 2552

จิตเห็นเป็นนามธรรม มีชื่อเรียกตามภาษาพระอภิธรรมว่า จักขุวิญญาณ สิ่งที่ถูกจิตเห็นได้เป็นรูปธรรมเรียกว่า วัณโณ ภาษาไทยแปลว่าแสงสี จิตเห็นเกิดได้ แสงสีต้องกระทบกับรูปธรรมที่เรียกว่าจักขุปสาทหรือประสาทตา แสงสี มีอยู่ทั่วไป แต่เมื่อกระทบประสาทตา จึงมีชื่อว่ารูปารมณ์ สิ่งที่สว่างก็คือแสงสีหรือ รูปารมณ์ แต่จิตเห็นเป็นนามธรรมไม่สว่าง จิตเห็นจึงมืด

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 22 ก.ค. 2552

อธิบายได้ละเอียดดีค่ะ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
Sam
วันที่ 22 ก.ค. 2552

ขออนุญาตร่วมสนทนาด้วยครับ

โดยปริยัติแล้ว การจะรู้ลักษณะของปรมัตถธรรมใด จะต้องรู้ในขณะที่สภาพธรรมนั้น กำลังปรากฏ ดังนั้น การรู้ลักษณะของจิตเห็น จะต้องรู้ในขณะที่จิตเห็นกำลังปรากฏกับ สภาพรู้ทางมโนทวาร ซึ่งขณะนั้น สีสันวรรณะ หรือแสงสว่างย่อมไม่ปรากฏ เพราะจิต เห็นไม่ใช่วรรณรูป

ผมเข้าใจว่า การรู้ชัดว่าจิตเห็นนั้นมืด จะต้องเป็นปัญญาที่คมกล้าระดับวิปัสนาญาณ เพราะเป็นปัญญาที่รู้ชัดทางมโนทวารว่า ขณะใดอารมณ์เป็นวรรณรูปที่เป็นรูปธรรม และขณะใดเป็นจิตเห็นซึ่งเป็นนามธรรม ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
orawan.c
วันที่ 22 ก.ค. 2552

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
เมตตา
วันที่ 22 ก.ค. 2552

จะมีความอภิรมณ์ยิ่งเมื่อได้รู้ได้เข้าใจความจริงว่า จิตเห็นเป็นนามธรรม รู้ได้ทางใจจึงมืด สิ่งที่ปรากฏทางตา เป็นเพียงรูปารมณ์ สีสัน วรรณะ ความสว่าง ชึ่งปรากฏให้เห็นได้ทางตาเท่านั้นเป็นเพียงรูปธาตุ ส่วนโลกทางอื่นเช่นทางหู ทางจมูก ทางลิ้น และทางใจนั้นมืดสนิท จิตได้ยินและเสียง จิตได้กลิ่นและกลิ่น จิตลิ้มรสและรส จิตรู้กระทบสัมผัสและเย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว และจิตที่คิดและธรรมารมณ์ จึงมืดสนิท

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
จำแนกไว้ดีจ๊ะ
วันที่ 22 ก.ค. 2552

คุณ K ขอรับ กระผมว่าจิตเห็นเป็นสภาพรู้คือจักขุวิญญาณ และวิถีจิตที่เป็นสภาพรู้ทางปัญจทวาร มีชวนวิถีเป็นต้น ก็เกิดขึ้นอีกหลายขณะ กระไรจึงข้ามไปกล่าวถึงสภาพรู้ทางมโนทวารเสียเล่า

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
วันใหม่
วันที่ 22 ก.ค. 2552

จิตมืดเพราะไม่ใช่สิ่งที่ปรากฏทางตา เสียง กลิ่น รส มืดเพราะไม่ใช่สิ่งที่ปรากฏทางตา สิ่งที่ปรากฏทางตาสว่างเพราะปรากฏให้จิตเห็นรู้ แต่ขณะนี้เห็นสิ่งต่างๆ ดูสว่าง ชัดเจนดี แต่..กำลังมืดอยู่หรือเปล่า?ตาบอดอยู่หรือเปล่า?

อะไรคือความมืดที่แท้จริง อะไรคือความสว่างที่แท้จริง แม้ขณะนี้ดูชัดเจน แต่ถ้าไม่เข้าใจความจริงว่าเป็นธรรม..มืดอีกแล้ว ขณะที่สติเกิดระลึกรู้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ค่อยๆ สว่าง สว่างด้วยปัญญา มืดเพราะอวิชชา อบรมเหตุ ด้วยการฟังให้เข้าใจว่าขณะนี้เป็นธรรม ย่อมสว่างตามความเป็นจริงได้

สาธุ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 341

อรรถกถาทุติยอัจฉริยสูตร ชื่อว่าอวิชชาคตะ เพราะไปคือประกอบด้วยอวิชชา. ชื่อว่าอันธภูตะ เพราะเป็นดุจคนตาบอด เพราะถูกกองมืดคืออวิชชาปกคลุมไว้.

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
Sam
วันที่ 22 ก.ค. 2552

เรียน คุณจำแนกไว้ดีจ๊ะ ความคิดเห็นที่ 10 ครับ

จิตเห็น (และวิถีจิตอื่นๆ) ทางจักขุทวาร มีวรรณรูปเป็นอารมณ์ ขณะนั้นย่อมสว่าง เพราะกำลังเห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา ผมเห็นว่าทางจักขุทวารนี้ ไม่มีทางที่จิตเห็นจะ เป็นอารมณ์ของสภาพรู้ใดๆ เลย จึงไม่ได้กล่าวถึงครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
จำแนกไว้ดีจ๊ะ
วันที่ 23 ก.ค. 2552

คุณ K ครับ ท่านกล่าวว่าทางจักขุทวารนี้ ไม่มีทางที่จิตเห็นจะเป็นอารมณ์ ของ สภาพรู้ใดๆ เลย...ในที่นี้หมายถึงจักขุวิญาณที่เกิด ๑ ขณะ ผมก็เคยได้ฟังมาเช่นนั้น ก็ ตั้งเป็นข้อสงสัยอยู่ทุกวันนี้ และยังสงสัยว่าสภาพรู้ทางปัญจทวาร ๑๗ ขณะจิต ไม่รู้ทั้ง หมดหรือ? และรูปทางปัญจทวารละ เราจะรู้ได้ไหมครับ?

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
Sam
วันที่ 23 ก.ค. 2552

จิตเห็นคือจักขุวิญญาณจิต ๑ ขณะ เกิดขึ้นทำกิจเห็น ส่วนวิถีจิตอื่นๆ ทางจักขุ ทวาร แม้จะรู้รูปารมณ์เดียวกับจิตเห็นนั้น แต่ทำกิจหน้าที่เฉพาะของตน ไม่ได้ทำกิจ เห็นครับ

จากการศึกษาทำให้ทราบว่า วิถีจิตทางปัญจทวาร (ตา หู จมูก ลิ้น และกาย) มีรูป เป็นอารมณ์ ไม่มีนามเป็นอารมณ์ ดังนั้น ไม่ควรกล่าวว่าวิถึจิตเหล่านี้ไม่รู้ ควรกล่าวว่า วิถีจิตทางปัญจทวาร ๑๗ ขณะจิต ไม่รู้นามธรรมครับ ซึ่งในกระทู้นี้กล่าวถึงจิตเห็นอัน เป็นนามธรรมครับ

นามธรรมนั้น เป็นอารมณ์ หรือสิ่งที่จิตรู้ได้โดยวิถีจิตทางมโนทวารเท่านั้นครับ

สำหรับ "รูปทางปัญจทวาร" นั้น มีทั้ง

๑. รูปที่เป็นวัตถุ คือที่เกิดของวิญญาณจิต (อันได้แก่จักขุปสาทรูปเป็นจักขุ- วัตถุ โสตปสาทรูปเป็นโสตวัตถุ ฆานะปสาทรูปเป็นฆานะวัตถุชิวหาปสาทรูปเป็น ชิวหาวัตถุ และกายปสาทรูปเป็นกายวัตถุ) และ

๒. รูปที่เป็นอารมณ์ (อันได้แก่สีทางตา เสียงทางหู กลิ่นทางจมูก รสทางลิ้น และโผฏฐัพะทางกาย) ควรทราบว่า รูปที่เป็นอารมณ์นั้นรู้ได้ทางปัญจทวารวิถีจิตและมโนทวารวิถีจิต ส่วน รูปที่เป็นวัตถุนั้นรู้ได้ทางมโนทวารวิถีจิตครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
เมตตา
วันที่ 23 ก.ค. 2552

ขออนุโมทนาคุณ K ค่ะ อธิบายได้ชัดเจนมากค่ะ

สีสัน วรรณะ แสง เป็นรูปธาตุ เป็นรูปารมณ์ เป็นสิ่งที่ปรากฏได้ทางตาเท่านั้น

ส่วนจิตนั้นเป็นนามธรรม ไม่ใช่รูปธรรม ไม่ใช่รูปารมณ์ จึงมืด

สิ่งสำคัญที่สุด...คือการศึกษาให้เข้าใจในสภาพธรรมที่กำลังปรากฎ ในขณะนี้ จะเกื้อกูลประโยชน์มาก สิ่งที่มีจริงขณะนี้ยังไม่รู้ไม่เข้าใจ แล้วจะไปรู้จิตเห็น...คงไม่ใช่หนทางได้รู้ค่ะ

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
สามารถ
วันที่ 24 ก.ค. 2552

ผมเห็นว่า

"จิตเห็นมืด"
นั้นท่านมุ่งหมายถึง "มืดยิ่งกว่าความมืด" ครับ

เพราะเหตุว่า ความมืด ก็คือรูปที่ปรากฏทางตา วรรณธาตุคือ ยังเป็นสี, ยังเป็นแสง, คือความสว่างน้อย หากยังมีจิตเห็นเกิดขึ้น ย่อมหมายความว่า ความมืดนั้นก็ยังสามารถปรากฏให้เห็นได้

แต่ความมืดของจิตนั้น มืดเพราะเป็นนามธรรม มืดเพราะไม่ปรากฏให้เห็นได้เลย

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
จำแนกไว้ดีจ๊ะ
วันที่ 25 ก.ค. 2552

คุณ K ความคิดเห็นที่ 14 ครับเราน่าจะกล่าวเรื่องเดียวกันนะครับ ผมหมายถึงสิ่งที่เป็น อารมย์ของจิตทางปัญจทวาร

[๖๕๕] รูปที่เห็นได้คือรูปายตนะ รูปที่ฟังได้คือสัททายตนะ รูปที่รู้ได้คือคันธายตนะรสายตนะโผฏฐัพพายตนะ รูปที่รู้แจ้งได้ด้วยใจคือรูปทั้งหมด สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ๔อย่างนี้.

จตุกกนิทเทศจบฉักกนิเทศ

[๖๕๗] รูปอันจักขุวิญญาณพึงรู้คือรูปายตนะ รูปอันโสตวิญญาณพึงรู้คือสัททายตนะ รูปอันฆานวิญญาณพึงรู้คือคันธายตนะ รูปอันชิวหาวิญญาณพึงรู้คือรสายตนะ รูปอันกายวิญญาณพึงรู้คือโผฏฐัพพายตนะ รูปอันมโนวิญญาณพึงรู้คือรูปทั้งหมด สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ ๖ อย่างนี้.

ฉักกนิเทศจบ

(พระอภิธรรมปิฎกธรรมสังคณี เล่ม ๑ภาค ๒ - หน้าที่ 320)

ส่วนรูปที่เป็นวัตถุนั้นเป็นการระลึกสภาพธรรมที่ปรากฏ ตามความเป็นจริงละหรือ คุณเมตตา ความคิดเห็นที่ 15 กล่าวว่า สิ่งสำคัญที่สุด...คือการศึกษาให้เข้าใจใน สภาพธรรมที่กำลังปรากฎในขณะนี้ จะเกื้อกูลประโยชน์มาก สิ่งที่มีจริงขณะนี้ ยังไม่รู้ไม่เข้าใจแล้วจะไปรู้จิตเห็น...คงไม่ใช่หนทางได้รู้ค่ะเราเป็นพุทธมามกะ เป็นศรัทาธิกะเดินตามพุทธองค์ ทรงแสดงมรรค แต่ในขั้นศึกษา ย่อมยังละวิจิกิจฉา ไม่ได้

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
จำแนกไว้ดีจ๊ะ
วันที่ 25 ก.ค. 2552

กระทู้นี้เป็นความสงสัยมากๆ

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
noynoi
วันที่ 25 ก.ค. 2552

กระทู้นี้เป็นความสงสัยมาก ถ้ายึดตัวหนังสือมาก กระทู้นี้เป็นประโยชน์มาก ถ้าค่อยๆ พิจารณาสิ่งที่กำลังสนทนาเกื้อกูลกัน เท่าที่พึงเป็นพึงได้ ตามระดับขั้นของปัญญา ปุถุชน ยังไงก็ยังต้องสงสัย แต่เพราะความจริงของสภาพธรรมะแต่ละประเภทไม่เปลี่ยน ยังค่อยๆ ศึกษาได้ ค่อยๆ ละความสงสัยไปทีละน้อยได้ ข้าพเจ้าศึกษามาน้อย แสดงความเห็นตามความเข้าใจที่มีน้อยมาก

ขอบคุณและขออนุโมทนาทุกท่าน

 
  ความคิดเห็นที่ 20  
 
เมตตา
วันที่ 25 ก.ค. 2552

เห็นด้วยกับคุณจำแนกไว้ดีจ๊ะ

ตราบใดที่ยังเป็นปุถุชนหนาด้วยกิเลส ย่อมต้องมีความลังเลสงสัยในสภาพธรรมค่ะ เมื่อมีความสงสัยควรศึกษา พิจารณาไตร่ถามท่านผู้รู้เพื่อคลายความสงสัย สภาพธรรมเป็นสิ่งที่ลึกซึ้ง ยากที่จะเข้าใจ โลภก็พาไปอยากรู้ชื่อ และเรื่องราวของสภาพธรรม แต่ไม่ รู้จักตัวธรรมะจริงๆ หนทางเดียวที่จะพ้นจากทุกข์ได้ คือ การอบรมเจริญ- สติปัฎฐาน ซึ่งก็ต้องเริ่มจากการฟังให้เข้าใจในสิ่งที่กำลังปรากฏที่มีอยู่จริง ในขณะนี้ค่ะ

ขออนุโมทนาค่ะ.......

 
  ความคิดเห็นที่ 21  
 
จำแนกไว้ดีจ๊ะ
วันที่ 26 ก.ค. 2552
พระธรรมอาบกายและใจเราเสียแล้ว
 
  ความคิดเห็นที่ 22  
 
เมตตา
วันที่ 26 ก.ค. 2552

พระธรรมอาบกายและใจเราเสียแล้ว >>>> อาบกายและใจเพราะคิดหรือเปล่าคะ

เป็นปรมัตถธรรมอะไรคะ?

 
  ความคิดเห็นที่ 23  
 
จำแนกไว้ดีจ๊ะ
วันที่ 27 ก.ค. 2552

พระธรรมอาบกายและใจเพราะคิคหรือเปล่าคะ เป็นปรมัตถธรรมอะไรคะ? (คุณเมตตา. ความคิดเห็นที่ 22) ไม่ได้คิดครับ แต่จิตเป็นกุศลจากการสนทนาธรรม เป็นจิตมีสัมโสมนัสเจตสิกเกิดร่วมด้วย

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับขออนุญาตเชิญทุกท่านร่วมแสดงความคิดเห็นครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 24  
 
จำแนกไว้ดีจ๊ะ
วันที่ 27 ก.ค. 2552
การสนทนาเป็นการทดสอบความเข้าใจครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 25  
 
เมตตา
วันที่ 27 ก.ค. 2552

ขณะที่ฟังพระธรรม สนทนาพระธรรม พิจารณาไตร่ตรองเข้าใจ ขณะนั้นจิตเป็นกุศลค่ะ เหตุต้องตรงกับผลค่ะ เมื่อมีความเข้าใจ จิตก็ผ่องใสเป็นกุศลโสมนัส

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 26  
 
Sam
วันที่ 27 ก.ค. 2552

เรียนคุณ จำแนกไว้ดีจ๊ะ

ความคิดเห็นที่ 17

ส่วนรูปที่เป็นวัตถุนั้นเป็นการระลึกสภาพธรรมที่ปรากฏ ตามความเป็นจริงละหรือ เป็นความเข้าใจขั้นปริยัติ ตามพระธรรมที่ทรงแสดงไว้ครับ ว่าวัตถุรูปนั้นรู้ได้ทางใจ แต่การรู้วัตถุรูปทางใจนี้จริงๆ เป็นปัญญาขั้นที่สูงกว่าปริยัติ และจะต้องเป็นปัญญาของ ท่านผู้ที่สะสมอบรมปัญญามามากจึงจะรู้ได้ เพราะวัตถุรูปไม่ใช่รูปที่ปรากฏตามปกติ ในชีวิตประจำวันครับ

ความคิดเห็นที่ 18 กระทู้นี้เป็นความสงสัยมากๆ

การศึกษา หรือการสนทนาธรรม มีจุดมุ่งหมายเพื่อความเข้าใจในสิ่งที่ยังไม่เข้าใจ และเข้าใจมากขึ้นในสิ่งที่เคยเข้าใจมาแล้ว และย่อมเป็นธรรมดาที่พระธรรมบางส่วนจะ ละเอียดลึกซึ้งและทำความเข้าใจได้ยาก ซึ่งต้องอาศัยการศึกษา และการสนทนากัน ต่อไปครับ

อย่างไรก็ดี ผู้ศึกษาควรให้ความสนใจ และให้ความสำคัญกับความเข้าใจที่เกิดขึ้น หรือเพิ่มขึ้นครับ ไม่ควรมุ่งความสนใจไปในความสงสัย อันเป็นอกุศลครับ

ความคิดเห็นที่ 21 พระธรรมอาบกายและใจเราเสียแล้ว

การศึกษาพระธรรม ทำให้จิตมีปีติและโสมนัสได้ครับ แต่ก็ไม่ควรประมาทในธรรม เพราะโสมนัสเวทนาเกิดกับอกุศลจิตก็ได้ ดังนั้น เมื่อเกิดความเข้าใจจากการศึกษา พระธรรมแล้ว ก็ควรปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม นั่นคือ การระลึกรู้ลักษณะของสภาพ ธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 27  
 
captpok
วันที่ 27 ก.ค. 2552
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 28  
 
kanchana.c
วันที่ 27 ก.ค. 2552

เรื่องอยู่ในโลกมืด หรือโลกสว่างมากกว่ากัน ท่านอาจารย์บรรยายไว้โดยละเอียดใน แนวทางเจริญวิปัสสนาครั้งที่ ๑๕๑๓ มีข้อความว่า

เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่กล่าวถึงโลกมืดว่า วันหนึ่งๆ แท้ที่จริงจะอยู่ในโลกที่สว่างมาก หรือในโลกที่มืดมาก ก็เพื่อที่จะให้คลายความติดในนิมิตอนุพยัญชนะ

เพราะเหตุว่าทางตา ใครจะบอกว่ากำลังเกิดดับ ยากแสนยากที่จะเชื่อ ใช่ไหมคะ ถ้าสติ ไม่เคยระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏทางตา แล้วก็ระลึกลักษณะของสภาพ ธรรมที่ปรากฏทางหู ซึ่งสลับกันรวดเร็ว แล้วยังมีทางใจ ที่คิดนึกเรื่องที่ได้ยิน เป็นต้น หรือสิ่งที่กำลังกระทบสัมผัส อย่างเวลาที่รับประทานอาหาร ไม่ได้มีแต่เห็น ใช่ไหมคะ คุยกันด้วย ฟังเพลงด้วย คิดนึกเรื่องต่างๆ ด้วย

บางคนอาจจะคิดนึกเรื่องธุรกิจการงาน แล้วก็มีการกระทบสัมผัสช้อนส้อม เครื่อง ใช้ในการบริโภค เพราะฉะนั้น ก็จะเห็นได้ว่า วาระที่รู้อารมณ์ทางอื่น นอกจากทาง จักขุทวาร มืด ขณะที่ได้ยินเสียง ไม่มีแสงสว่างใดๆ เลย ขณะที่กำลังกระทบสิ่งที่อ่อน หรือแข็ง เย็นหรือร้อน ก็ไม่มีแสงสว่างใดๆ เลย ขณะที่กำลังคิดนึก ก็ไม่ได้มีแสงสว่าง ใดๆ เลยทั้งสิ้น

ถ้าไม่เกี่ยวเนื่องกับทางจักขุทวารวิถี และทางมโนทวารวิถี ที่รับรู้อารมณ์ต่อ จากทางจักขุทวารวิถีแล้ว วาระอื่นทั้งหมด คือ ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย มืด พิสูจน์ได้ง่ายมากค่ะ คือเพียงหลับตาเท่านั้น ก็มืดแล้ว แต่ว่ายังมีอ่อน มีแข็ง มี เสียง มีรส มีกลิ่น กระทบปรากฏได้ทั้งหมด

เพราะฉะนั้น การที่จะพิจารณาว่า แท้ที่จริงแล้วสภาพธรรมตามความเป็นจริงต่าง กับที่เคยคิดเคยเข้าใจ ก็จะทำให้ละคลายการยึดถือการติดในนิมิตอนุพยัญชนะในสิ่งที่ ปรากฏทางตา เพราะเข้าใจแล้วว่า ชั่วแว๊บเดียว ชั่วครู่เดียวเท่านั้นเองที่เห็น ตามความ เป็นจริง และวิถีจิตวาระอื่นก็เกิดสืบต่อสลับแล้ว แล้วก็มีการเห็นอีกชั่ววาระสั้นๆ และ วิถีจิตวาระอื่นซึ่งมืดก็เกิดดับสืบต่อแล้ว

ถ้ารู้อย่างนี้จริงๆ ที่ว่า “สว่าง” นี่ชั่วครู่ชั่วขณะเท่านั้น ก็จะละคลายการยึดติดใน สิ่งที่ปรากฏทางตา ละคลายการยึดติดในนิมิตอนุพยัญชนะ แต่ว่าไม่ใช่ละความพอใจ นี่เป็นสิ่งที่เห็นได้ว่า ความยินดีพอใจในรูปที่ปรากฏทางตารวดเร็ว แม้แต่จักขุทวารวิถี- จิตยังไม่ดับหมด รูป ๑๗ ขณะยังไม่ทันจะดับ จิต ๑๗ ขณะนี่ดับเร็วมาก เพราะฉะนั้น รูปต้องดับเร็วด้วย จิต ๑๗ ขณะดับเร็วกว่าที่กำลังเห็น และกำลังได้ยินในขณะนี้ เพราะฉะนั้นในขณะที่รูปยังไม่ดับ เมื่อสัมปฏิจฉันนจิตดับ สันตีรณจิตดับ โวฏฐัพ- พนจิตดับ ชวนจิต พอใจหรือไม่พอใจในรูปที่ปรากฏ เกิดดับสืบต่อกัน ๗ ขณะ เพราะ ฉะนั้น ไม่ใช่ยับยั้งการติดหรือการชอบ แต่ละการที่เคยยึดมั่น ถือมั่นในรูปที่ปรากฏว่า เป็นสภาพที่เที่ยงและไม่ดับ เพราะเหตุว่าตามความเป็นจริง แล้วต้องเห็นชั่วขณะสั้น มาก และวิถีจิตวาระอื่นก็เกิดดับสืบต่อ

ถ้าพิจารณาลักษณะของสภาพของสิ่งที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ สืบต่อกันได้จริงๆ ลักษณะของสภาพธรรมย่อมปรากฏตามเป็นจริง คือเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปอย่างรวดเร็ว แม้แต่ทางตาที่คิดว่าไม่ดับเลย ก็ต้องรู้ว่า ความจริง ต้องดับได้ ต้องปรากฏสภาพที่ดับได้ เพราะเหตุว่ามีวิถีจิตวาระอื่นเกิดสลับที่จะรู้ได้ว่า ทางตาต้องดับ

ถ้าไม่พิจารณาอย่างนี้ หรือว่าไม่น้อมระลึกถึงสภาพที่แท้จริงในขณะที่รูปแต่ละรูป ปรากฏทางทวารแต่ละทวาร ก็จะคิดว่าเป็นโลกที่สว่างไสวอยู่ตลอดเวลา ไม่ดับเลย แต่การที่ลักษณะของนามธรรม และรูปธรรมจะปรากฏตามความเป็นจริงว่าเป็นชั่วขณะ ที่สั้น และเล็กน้อยได้ ก็ต่อเมื่อปัญญาพิจารณาลักษณะของนามธรรม และรูปธรรม ทั่วทั้ง๖ ทาง

 
  ความคิดเห็นที่ 29  
 
จำแนกไว้ดีจ๊ะ
วันที่ 27 ก.ค. 2552

คุณ K ครับ ผมเข้าใจที่คุณสนทนาธรรมแล้ว ความสงสัยเป็นอกุศล ถ้าประกอบด้วยโทสะ มานะ ทิฏฐิ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 30  
 
เมตตา
วันที่ 27 ก.ค. 2552

ขอกราบอนุโมทนาพี่ kanchana.c ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 31  
 
เมตตา
วันที่ 27 ก.ค. 2552

วิจิกิจฉา เป็นเจตสิกที่สงสัยในลักษณะของรูปธรรม และนามธรรม สงสัยในอริยสัจจธรรม สงสัยในพระรัตนตรัย เกิดร่วมกับโมหมูลจิต

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 32  
 
pornpaon
วันที่ 28 ก.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 33  
 
จำแนกไว้ดีจ๊ะ
วันที่ 28 ก.ค. 2552

kanchana.c .ครับ รูป ๑๗ ขณะยังไม่ทันจะดับ หมายถึงรูปมีอายุเท่ากับ ๑๗ ขณะจิตใช่หรือไม่

 
  ความคิดเห็นที่ 34  
 
เจียมจิต
วันที่ 24 ธ.ค. 2560

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 35  
 
chatchai.k
วันที่ 23 ก.ย. 2565

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 36  
 
chatchai.k
วันที่ 23 ก.ย. 2565

เรียน ความคิดเห็นที่ 33 ครับ

จิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ รูปรูปหนึ่งจึงดับ แม้อย่างนั้นก็สั้นแสนสั้น ไม่ว่าจะเป็น สี เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย เป็นต้น เมื่อเกิดขึ้น ก็มีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะทั้งนั้น ความจริงเป็นอย่างไรก็เป็นจริงอย่างนั้น ไม่มีใครไปเปลี่ยนแปลงได้


ที่มา ...

การเกิดดับของรูปมี 17 ขณะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ