เป็นทาสมานานแสนนาน

 
คุณย่า
วันที่  23 ก.ค. 2552
หมายเลข  12967
อ่าน  2,739

สนทนาธรรมที่มูลนิธิ ฯ
ปฏิบัติธรรม
วันอาทิตย์ที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๑

คุณชมชื่น ถ้าอย่างนั้น ถามอย่างนี้ก็แล้วกัน ใช้คำว่า "เห็น"

ท่านอาจารย์ แล้วเห็นจริงๆ มีไหม

คุณชมชื่น เห็นจริงๆ มี แต่ไม่ได้รู้ หรือมีความรู้เพิ่มขึ้น ตรงเห็น ตรงนั้น

ท่านอาจารย์ ก็ถูก ไม่ได้มีความรู้ตรงเห็น ยังไม่ได้รู้ ตรงเห็น ความจริงก็คือความจริง ยังไม่รู้ก็คือไม่รู้ จะให้ความยังไม่รู้ ไปเป็นความรู้ก็ไม่ได้ เป็นผู้ตรงจึงจะได้สาระจากพระธรรม

คุณชมชื่น ถ้าอย่างนั้น รู้แค่ไหน ก็รู้แค่นั้นหรือค่ะ

ท่านอาจารย์ ถ้าไม่ฟังธรรม คงจะไม่ถามอย่างนี้ใช่ไหมค่ะ ก็เป็นคำตอบอยู่ในตัว รู้แค่ไหน ก็รู้แค่นั้น ตรงอยู่แล้วนี่ค่ะ

อ.ธิดารัตน์ มีความหวังกันอยู่เรื่อยๆ

ท่านอาจารย์ เป็นทาสของโลภะ จะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็เป็นทาส แม้แต่การที่จะเพียงฟังธรรม พ้นมานิดเดียว จากการที่หวังอย่างอื่น ที่จะได้ ฟังธรรมแต่โลภะก็ตามมาด้วย หวังที่จะเข้าใจ พอฟังเรื่องสภาพธรรม ก็หวังที่จะรู้มากๆ

เพราะฉะนั้น จริงๆ แล้ว นิจฉาโต พระธรรมที่ทรงแสดงไว้ เพื่อให้ถึงความไม่มีโลภะเพราะฉะนั้น จะเห็นได้จริงๆ แล้วโลภะ เป็นสิ่งที่ซึ่งต้องละ เวลาที่เกิดโลภะขึ้น ให้รู้ว่าเป็นสิ่งที่ต้องละ อริยสัจจะที่ ๒ ถ้าไม่ละ แล้วจะรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงได้อย่างไร เพราะว่าที่มีโลภะ เพราะไม่รู้ ถ้ารู้ ก็จะไม่มี อย่างในขณะนี้ถ้ารู้ว่า การรู้ธรรมต้องอาศัยการฟังและปัญญาค่อยๆ เข้าใจขึ้น ละความหวังไหม หรือยังหวัง

อ.ธิดารัตน์ ละตอนนั้น เพราะเข้าใจถูก เดี๋ยวโลภะก็มาอีกแล้ว

ท่านอาจารย์ ก็ยังดีที่เห็น ถ้าไม่เห็นไม่มีทางละเลย เพราะฉะนั้น ปัญญาเท่านั้นที่จะเห็นโลภะ ความเป็นทาสซึ่งนานแสนนานแล้ว ไม่สามารถที่จะรู้ตัวเลยว่าเป็นทาส พ้นออกมาเมื่อไร เป็นอิสสระ แม้เพียงเล็กน้อย จะรู้เลยว่าสภาพที่เป็นอิสสระ พ้นจากโลภะเป็นอย่างนี้แล้ว ถ้าสามารถจะพ้นไปได้อีก ก็จะยิ่งเห็นว่า การเป็นอิสสระจากโลภะเป็นอย่างนี้ จนกระทั่งสามารถจะพ้นจากโลภะ ที่เกิดร่วมกับความเห็นผิด ขณะนั้นก็จะยิ่งรู้ถึงความหมายของคำว่า เป็นไท หรือ เป็นอิสสระ จากความเห็นผิด เพราะว่าถูกครอบงำอย่างมิดชิด ไม่เห็นอะไร จะไปรู้ได้อย่างไร ภาวะที่ไม่มีโลภะ พ้นจากโลภะ จะเป็นอย่างไร ความเป็นอิสสระเป็นอย่างไร ก็ยังไม่รู้ แต่มีประกายไฟ คือ มีฉันทะ คอยเวลาที่จะเป็นไฟกองใหญ่ ถ้ามีเชื้อไฟเพิ่มขึ้น


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
suwit02
วันที่ 23 ก.ค. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 23 ก.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง เพื่อถึงความไม่มีโลภะ เพื่อดับโลภะอย่างเด็ดขาด และขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณ suwit02 ด้วย ที่ให้แก้ไขในเรื่องพยัญชนะภาษาบาลี ซึ่งจะต้องแก้ไขให้ถูกต้องตามที่แจ้งมา ครับ

คำว่า นิจฺฉาโต แยกศัพท์เป็น นิ (ไม่มี, ปราศจาก) + ฉาต (หิว) ซ้อน จฺ สำเร็จ-รูป เป็น นิจฺฉาโต หมายถึง ผู้ปราศจากความหิว ความหิวในที่นี้ หมายถึง ตัณหา หรือ โลภะ แปลโดยความแล้วก็คือ เป็นผู้ไม่มีโลภะ นั่นเอง ตามข้อความในพระไตรปิฎกที่ว่า[เล่มที่ 20] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 26 บทว่า นิจฺฉาโต (ไม่มีความหิว) ตัณหาท่านเรียกว่า ฉาตะ. ชื่อว่า นิจฺฉาโต เพราะไม่มีความอยาก.

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
pornpaon
วันที่ 23 ก.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
พุทธรักษา
วันที่ 24 ก.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Pongpat
วันที่ 24 ก.ค. 2552
สาธุ
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
aiatien
วันที่ 24 ก.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
Jans
วันที่ 27 ส.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
อภิรดี
วันที่ 24 พ.ย. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
อภิรดี
วันที่ 19 มี.ค. 2553

กราบอนุโมทนาค่ะ

พ้นจากโลภะ จะเป็นอย่างไร ความเป็นอิสสระเป็นอย่างไร ก็ยังไม่รู้ แต่มีประกายไฟ คือ มีฉันทะ คอยเวลาที่จะเป็นไฟกองใหญ่ ถ้ามีเชื้อไฟเพิ่มขึ้น

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
nopwong
วันที่ 23 ธ.ค. 2555

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
chatchai.k
วันที่ 24 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ