เหตุใกล้ให้เกิดฉันทะ

 
Pongpat
วันที่  24 ก.ค. 2552
หมายเลข  12979
อ่าน  2,123

สวัสดีครับ

ขอทราบว่าเหตุใกล้ให้เกิดฉันทะเจตสิก คืออะไรบ้างครับ

ขอบคุณครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 24 ก.ค. 2552

ลักขณาทิจตุกกะของฉันทะมีดังนี้

มีความเป็นผู้ใคร่เพื่อทำ เป็นลักษณะ

มีอันแสวงหาอารมณ์ เป็นกิจ

มีการต้องการอารมณ์ เป็นผล

มีอารมณ์นั้นแหละ เป็นเหตุใกล้

สรุปคือฉันทะมีอารมณ์ คือรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธัมมารมณ์ เป็นเหตุให้เกิด

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
Pongpat
วันที่ 24 ก.ค. 2552
ขอบพระคุณมากครับ ขออนุโมทนา
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khondeebkk
วันที่ 24 ก.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
akrapat
วันที่ 24 ก.ค. 2552

ที่จริงแล้ว ลักษณะของสติที่เป็นสติปัฏฐาน นั้นเป็นมหากุศลจิต ที่มี โสมนัสเวทนา หรือ อุเบกขาเวทนาเกิดร่วมด้วย ซึ่งเวทนาทั้งคู่ถือว่าเป็นความสุข เพราะฉะนั้น สำหรับผู้ที่มีปกติของการเจริญสติปัฏฐานจะมีความสุขที่ประณีตมากกว่า โสมนัสเวทนาหรืออุเบกขาที่เกิดจากกามราคะ เพราะฉะนั้น เมื่อจิตมีความสุข ฉันทะในอิทธิบาท๔ ก็จะเกิดขึ้น เมื่อ มีฉันทะหรือความพอใจ วิริยะ จิตตะ วิมังสาก็เจริญขึ้นสืบเนื่องกันไป

เพราะฉะนั้นถ้าใครคิดว่ารู้สึกอึดอัด หรือเป็นภาระ เครียด แสดงว่านั่นยังไม่ใช่สติปัฎฐานแสดงว่ายังมีเราที่ยังจงใจ ไปเพ่งจ้องอารมณ์

เป็นแค่ความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ ผิดถูกขออโหสิกรรมด้วย อนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
Pongpat
วันที่ 25 ก.ค. 2552

ฉันทะที่ประกอบด้วยโลภะก็มีครับ เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก

ฉันทะและตัณหา..

เป็น ฉันทะ หรือ โลภะ ครับ..?

แยกไม่ออกระหว่างฉันทะและโลภะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
akrapat
วันที่ 26 ก.ค. 2552

เห็นด้วย ครับ ระหว่างฉันทะกับ โลภะ ถ้าสติปัฎฐานยังไม่เกิด จะแยกยากมาก เพราะ จะไม่มีข้อเปรียบเทียบ เช่น บางคนอยากจะปฏิบัติธรรม ก็ไปนั่งสมาธิ บังคับลมหายใจด้วยก็เลยเกิดมิจฉาสมาธิแทน หรือเกิดนิมิตต่างๆ เช่น เห็นพระพุทธเจ้า ก็เข้าใจว่าตัวเองบรรลุธรรมก็มี อันนี้ก็เป็นโลภะเพราะปฏิบัติด้วยความอยากที่จะบรรลุธรรม แต่เนื่องจากจิตเกิดดับทีละขณะฉะนั้น บางที่โลภะดับ แล้วขณะจิตต่อไปเป็นกุศลก็มี

แต่ฉันทะในที่นี้ เป็นองค์ธรรมฝ่ายกุศลในอิทธิบาท ๔ เกิดขึ้นหลังจากสติปัฎฐานเริ่มเกิด มีความพอใจที่จะเรียนรู้อารมณ์ที่ผ่านมากระทบทางทวารต่างๆ เพราะขณะที่อารมณ์มากระทบ ถ้าสติระลึกรู้ก็จะมีความสุข ที่เกิดจากโสมนัสเวทนาที่เกิดร่วมกับจิตขณะนั้น ปีติสัมโพฒชงค์ ในโพฌชงค์ ๗ก็เป็นความสุขที่เกิดขึ้นหล่อเลี้ยงจิต ของผู้ที่เจริญวิปัสสนากัมมฐาน ในระดับญาณต้นๆ เพราะถ้าติด ในความสุขก็จะผ่านขึ้นสู่ญาณที่สูงขึ้นไม่ได้ ซึ่งองค์ธรรมตัวสุดท้ายคือ อุเบกขาสัมโพมชงค์ หรือสังขารอุเบกญาณในโสฬสญาณ แต่ภูมิของพระอรหันต์เท่านั้นที่สามารถละกุศลจิตทุกประเภท พระอนาคามี ก็ยังมีฉันทะในการเจริญสติปํฎฐาน แต่แคบเข้ามาเรียนที่ วิถีจิตทางมโนทวาร

เพราะ ทางปัญจทวารท่านละได้เด็ดขาด คือกามราคะ และปฏิฆะ เพราะสังโยช ทั้งสองนี้เกี่ยวเนื่องกับกาย ส่วนอีกสามข้อละได้ตั้งแต่พระโสดาบัน ส่วนสังโยชน์เบื้องปลายตั้งแต่ รูปราคะ อรูปราคะ อุทธัจจะกุกุธจะ มานะ และอวิชชา เป็นกิเลส ขั้นละเอียด ที่เกิดขึ้นทาง มโนทวารวิถี เพราะไม่ได้อาศัย การกระทบทางปัญจทวารวิถีดังนั้นเมื่อจุติของพระอนาคามีดับลง ปฏิสนนธิของท่านจึงเกิดในภพของพรหมที่สามารถเจริญวิปัสสนาต่อได้คือ ชั้นสุทธาวาส

ขั้นต้น เป็นแค่ความเห็นนะครับ อ่านเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ เพราะตัวผู้เขียนยังเป็นปุถุชนที่ยังแสวงหาความหลุดพ้นเหมือนกัน ถูกผิดขออโหสิกรรมด้วยนะครับอนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ