ศรัทธามีน้อย

 
กิโล0
วันที่  29 ก.ค. 2552
หมายเลข  13021
อ่าน  1,690

รู้สึกว่าตนเองศรัทธามีน้อย ฟังธรรมไปสักพักก็หยุด หันไปทำอย่างอื่น ทำอย่างไรจึงจะเป็นผู้มีศรัทธามาก


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 29 ก.ค. 2552
ผู้ที่ได้ศึกษาพระธรรมคำสอนอย่างละเอียดทำให้เกิดศรัทธาในพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้วยิ่งขึ้น เมื่อเกิดความเข้าใจโดยละเอียดมากยิ่งขึ้นย่อมทำให้ศรัทธามั่นคงและสมบูรณ์มากขึ้นตามลำดับของปัญญาที่รู้และเข้าใจถ้าเป็นปัญญาระดับพระอริยบุคคลก็ยิ่งมีศรัทธามากและมั่นคงกว่าปุถุชนมากดังนั้น ผู้ที่ละความสงสัยในพระศาสนาได้แล้วก็คือพระโสดาบันบุคคล เพราะท่านมีปัญญาประจักษ์แจ้งแทงตลอดในอริยสัจทั้งสี่แล้ว ท่านจึงมีศรัทธาที่ไม่หวั่นไหว
 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 30 ก.ค. 2552

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้าที่ 203แม้ศรัทธาก็กล่าวว่ามีอาหาร (นำมาซึ่งผล) มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็น

อาหารของศรัทธา ควรกล่าวว่า การฟังสัทธรรม แม้การฟังสัทธรรม เราก็กล่าวว่ามี

อาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการฟังสัทธรรม ควรกล่าว

ว่า การคบหาสัปบุรุษ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้ การคบสัปบุรุษ

ที่บริบูรณ์ ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ การฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ย่อมยังศรัทธาให้บริบรูณ์

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
Sam
วันที่ 30 ก.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
สุภาพร
วันที่ 30 ก.ค. 2552
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
wannee.s
วันที่ 30 ก.ค. 2552

ศรัทธาจะค่อยๆ เจริญขึ้น มีกำลังขึ้น ต่อเมื่อมีความเข้าใจถูกในคำสอนของพระพุทธเจ้า

ศรัทธาคือความเลื่อมใสในกุศล เช่น เชื่อกรรมและผลของกรรมจึงทำกรรมดี งดเว้น

กรรมชั่ว เพราะมีศรัทธาจึงฟังธรรม อบรมเจริญสติปัฏฐานและรักษาศีลตามการสั่งสมค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Charlie
วันที่ 30 ก.ค. 2552
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
noynoi
วันที่ 30 ก.ค. 2552

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
pornpaon
วันที่ 31 ก.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
สุวิทย์02
วันที่ 31 ก.ค. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
orawan.c
วันที่ 1 ส.ค. 2552

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
saifon.p
วันที่ 1 ส.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
Pongpat
วันที่ 1 ส.ค. 2552
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
petcharath
วันที่ 1 ส.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
วันใหม่
วันที่ 2 ส.ค. 2552

สภาพธรรมทุกอย่างมีเหตุปัจจัยจึงเกิดขึ้น ศรัทธาเป็นสภาพธรรมฝ่ายดี มีเหตุ

ปัจจัยจึงเกิดขึ้น การได้คบสัตบุรุษ ย่อมเป็นเหตุปัจจัยให้ได้ฟังพระธรรมในหนทางที่ถูก

ต้อง เมื่อเข้าใจธรรมมากขึ้น กุศลประการต่างๆ ก็เจริญขึ้น ขณะที่กุศลจิตเกิดก็มีศรัทธา

เกิดร่วมด้วยเสมอ และเมื่อเข้าใจธรรมมากขึ้น ความเป็นผู้มีศรัทธาในพระรัตนตรัยก็มาก

ขึ้นไปด้วย

ศรัทธาเป็นเบื้องต้นของการบรรลุธรรม สัตว์ทั้งหลายจะข้ามโอฆะคือสังสารวัฏฏ์

ดับกิเลสได้เพระอาศัยศรัทธาเป็นเบื้องต้น เพราะผู้มีศรัทธาย่อมเข้าไปหา เข้าไปนั่ง

ใกล้ ปรารภความเพียรในหนทางที่ถูกต้อง ดังนั้น การคบสัตบุรุษและการฟังธรรมที่ถูก

ต้องย่อมเป็นปัจจัยให้มีศรัทธาเจริญขึ้นตามลำดับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
choonj
วันที่ 3 ส.ค. 2552

ผมว่าควรเข้าใจศรัทธาให้ถูกต้อง เช่นทางโลกถ้าจะกล่าวว่ามีศรัทธา ก็หมายความ

ว่ามีความเชื่อ เช่นเชื่อในบุคล เพราะพี่งได้ เพราะรู้มากกว่า เพราะจะได้ประโยชน์ ฯลฯ

เมื่อมีน้อย ก็หมายความว่า ความเชื่อมีน้อย ในบุคล ฯลฯ และยังเป็นตัวตนที่เชื่อ แต่

ศรัทธาในที่นี้หมายถึง ความผ่องใส เกิดกับกุศลจิต จึงเป็นคนละศรัทธา แล้วศรัทธาที่

ผ่องใสเป็นยังไง ทำไมเวลาเริ่มเรียนธรรมจึงต้องเริ่มด้วยศรัทธา ในอินทรีย์ห้าก็เริ่มด้วย

ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ในอาฬวกสูตรที่เรียนเมื่อวันเสาร์ บุคคลพีงหาทรัพย์

ได้ด้วยศรัทธา พึ่งข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธา โอฆะก็คือกิเลส อาศัยศรัทธาที่มีตัวตน ไม่

สามารถข้ามโอฆะได้ แต่ต้องเป็นศรัทธา คือความผ่องใสเกิดกับกุศลจิตจนมีกำลังเป็น

พละ จึงสามารถข้ามโอฆะ ตัดกิเลสได้ ศรัทธาที่ผ่องใสก็มีความเชื่ออยู่แล้ว ส่วนเหตุ

ใกล้ให้เกิดศรัทธาก็มีอยู่แล้วในกระทู้นี้ สรุปคือ ฟังธรรมให้เข้าใจ ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
โชคดี
วันที่ 11 ส.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 12 ส.ค. 2552

ศร้ทธาเกิดพร้อมกับสติ จึงระลึกเป็นไปกับธรรมฝ่ายดีเท่านั้นค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
choonj
วันที่ 14 ส.ค. 2552

อนุโมทนาคุณไตรฯ สัทธาเป็นโสภณสาธารณเจตสิกหนี่งในสิบเก้าดวง มีสติด้วยแต่ที่เข้าใจว่าสัทธาที่เป็นอกุศลนั้นควรเรียกว่า เลื่อมใส่มากกว่า เพราะเลื่อมใสเป็นอกุศลได้ สัทธาต้องเป็นกุศลเท่านั้น มาแย็บแย็บ แย็บที่ไรก็เข้าร่องเข้ารอยทุกที (-__-.) ครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 20  
 
จำแนกไว้ดีจ๊ะ
วันที่ 14 ส.ค. 2552

ศรัทธาน้อย เพราะปัญญามาก จึงสงสัยมากและดื้อรั้น วิริยะมาก ก็สมาธิน้อย

ต้องสมดุล พอดี เป็นทางสายกลาง สัมมาสติจะได้เจริญ นี่คือ พละ 5

 
  ความคิดเห็นที่ 21  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 14 ส.ค. 2552
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 13021 ความคิดเห็นที่ 19 โดย choonj
อนุโมทนาคุณไตรฯ สัทธาเป็นโสภณสาธารณเจตสิกหนี่งในสิบเก้าดวง มีสติด้วยแต่ที่เข้าใจว่าสัทธาที่เป็นอกุศลนั้นควรเรียกว่า เลื่อมใส่มากกว่า เพราะเลื่อมใสเป็นอกุศลได้ สัทธาต้องเป็นกุศลเท่านั้น มาแย็บแย็บ แย็บที่ไรก็เข้าร่องเข้ารอยทุกที (-__-.) ครับ

ที่กล่าวว่าศรัทธาใน "อกุศล" โดยสภาพธรรมแล้วน่าจะเป็น "โลภะ" มากกว่าค่ะ

เพราะเป็นความรู้สึกถูกอกถูกใจ ชอบใจ ปลาบปลื้มใจ จนเกิดการยอมรับนับถือ

ซึ่งศรัทธาจะเกิดกับอกุศลจิตไม่ได้เลย

เพราะฉะนั้น จึงต้องเป็นอกุศลเจตสิกประเภทใดประเภทหนึ่ง

โดยเฉพาะ......โลภะค่ะ

ป.ล. เอ่อ...ว่าแต่ว่า ที่แก้มซ้ายไปโดนไรมาอะค่ะ -O_O-

 
  ความคิดเห็นที่ 22  
 
happyindy
วันที่ 14 ส.ค. 2552

อ้างอิงจาก : หัวข้อ 13021 ความคิดเห็นที่ 20 โดย จำแนกไว้ดีจ๊ะ

ศรัทธาน้อย เพราะปัญญามาก จึงสงสัยมากและดื้อรั้น วิริยะมาก ก็สมาธิน้อย

ต้องสมดุล พอดี เป็นทางสายกลาง สัมมาสติจะได้เจริญ นี่คือ พละ 5


อ่าาาาา... คือว่ามัน งง อ่ะค่ะ

ถ้าปัญญามาก ก็ต้องไม่มีความสงสัยหรือดื้อรั้น ไม่ใช่เหรอคะ

แล้วก้อ... สงสัยมาก เป็นวิจิกิจฉานี่นา อินดี้จำได้

ดื้อรั้น เป็นลักษณะของ มานะ อ้ะป่าว...เป็นปัญญาตรงไหนอ่ะคะ

ถ้า...ศรัทธาน้อย เพราะปัญญามาก สัมมาสติคงไม่เจริญมั้งคะมึนนน....จัง

แล้วถ้า วิริยะมาก ก็สมาธิน้อย เนี่ยยยยย เป็นอะไรวิริยะคะ

แบบว่า มุ่งหวัง...เป็นตัวตนทำวิริยะด้วยโลภะ

อะไรทำนองนั้นรึป่าวคะคุณจำแนกไว้ดีจ๊ะ

อินดี้ก็ฟังมาน้อย เลยต้องค่อยๆ ถามอ่ะ

ขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ