การระลึกถึงพระพุทธคุณ

 
Pongpat
วันที่  1 ส.ค. 2552
หมายเลข  13043
อ่าน  8,240

สวัสดีครับ ผมอยากทราบว่า การระลึกถึงพระพุทธคุณบ่อยๆ จากในพระสูตรหนึ่ง ที่กล่าวว่าจะสามารถขจัดความหวาดกลัวหรือขนพองสยองเกล้าได้ เพราะเหตุใดถึงสามารถขจัดได้ครับ เพราะกุศลจิตที่เกิด หรือเพราะพุทธานุภาพ หรือเพราะอสูรกายหรือเปรตจะกลัวหรือเปล่า และจริงหรือเปล่าที่คนสมัยก่อนจะให้คนป่วยนึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แล้วช่วยให้โรคหายหรือทุเลาลงได้

ขอบคุณครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 2 ส.ค. 2552
ในธชัคคสูตร สังยุตตนิกาย แสดงคุณของการระลึกถึงของพระรัตนตรัย ว่าทำให้หายกลัวได้ว่า เพราะคุณของพระรัตนตรัย และอีกส่วนหนึ่งก็คือกุศลจิตของผู้ที่ระลึกถึงพระคุณพระรัตนตรัย ดังข้อความตอนหนึ่งว่า ....ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้นก็จักหายไป ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุแห่งอะไร เพราะว่า พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ปราศจากราคะปราศจากโทสะ ปราศจากโมหะ ไม่เป็นผู้กลัว ไม่หวาด ไม่สะดุ้ง ไม่หนีไป.... สำหรับผู้ป่วยเป็นโรคทางกาย ไม่มีแสดงว่าว่าเมื่อระลึกถึงพระคุณของพระรัตนตรัยแล้วจะหายโรคทางกายครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khondeebkk
วันที่ 2 ส.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 2 ส.ค. 2552

ในพระไตรปิฏกแสดงไว้ ท่านพระคิริมานนท์ ท่านป่วยหนัก พระพุทธเจ้าให้พระอานนท์

มาแสดงธรรมให้ท่านฟัง ท่านพระคิริมานนท์หายป่วยและได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
วันใหม่
วันที่ 2 ส.ค. 2552

ความกลัวเป็นสภาพธรรมที่มีจริงเป็นอกุศลที่เป็นโทสมูลจิต การะลึกถึงพระคุณของ

พระพุทธเจ้า ขณะนั้นจิตเป็นกุศล ไม่ใช่ความกลัว เป็นกุศลจิต กุศลเป็นกุศล อกุศล

เป็นอกุศล กุศลจิตเกิด ขณะนั้นไม่ใช่อกุศลจิต ระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้าเป็น

กุศล จึงไม่กลัวในขณะนั้น ซึ่งจากข้อความในอรรถกาแสดงถึงขณะที่ระลึกเป็นไปว่า

พระพุทธเจ้าเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ...ขณะที่ระลึกถึงพระคุณตามความเป็น

จริงเช่นนั้น จิตเป็นกุศล จึงไม่กลัวในขณะนั้น ซึ่งพระพุทธองค์ทรงแสดงต่อว่าแม้การ

ระลึกถึงพระธรรมและพระสงฆ์ด้วยจิตที่เป็นกุศล ขณะนั้นก็ไม่กลัวเพราะขณะที่กลัวเป็น

อกุศล แต่ตามความเป็นจริงแล้วการระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัย ต้องเป็นผู้ที่มีความ

เข้าใจพระธรรมถูกต้องตามความเป็นจริง ไม่เช่นนั้นก็ระลึกในพระคุณผิด ระลึกในพระ

ธรรมที่ผิด จิตจะเป็นกุศลจิตไม่ได้เลย

ตามความเป็นจริงแล้วจิตเกิดดับสลับกันเร็วมาก ขณะที่มีการระลึกถึงพระคุณของ

พระพุทธเจ้าดับไป ก็เกิดความกลัวต่อได้ทันที ดังเช่นท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เมื่อไป

เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าครั้งแรก เมื่ออกจากเมืองระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าก็ไม่เกิด

ความกลัว มีปีติเกิดขึ้น แต่เมื่อเหยียบซากศพก็เกิดความกลัวเกิดขึ้นต่ออีก ดังนั้นการ

พิจารณาธรรมจึงต้องพิจารณาไปทีละขณะจิต

ส่วนในเรื่องของการระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมแล้วหายโรค อย่างในเรื่องของ

พระมหากัสสปะป่วย พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมคือโพชฌงค์ให้ท่านพระมหากัสสปะ

ฟัง พระมหากัสสปะพิจารณาตามเกิดปิติ จิตฝ่ายดีเกิดขึ้น เมื่อจิตดี รูปที่เกิดขึ้นก็ดี

ตามไปด้วย โลหิตท่านก็ผ่องใส ท่านจึงหายจากโรค ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
pornpaon
วันที่ 2 ส.ค. 2552

วันใหม่ ความคิดเห็นที่ 4

ส่วนในเรื่องของการระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมแล้วหายโรค อย่างในเรื่องของ

พระมหากัสสปะป่วย พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมคือโพชฌงค์ให้ท่านพระมหากัสสปะ

ฟัง พระมหากัสสปะพิจารณาตามเกิดปิติ จิตฝ่ายดีเกิดขึ้น เมื่อจิตดี รูปที่เกิดขึ้นก็ดี

ตามไปด้วย โลหิตท่านก็ผ่องใส ท่านจึงหายจากโรค ขออนุโมทนา

^
^
^

ขออนุโมทนาค่ะ

ส่วนตัวแล้ว มีความคิดคล้ายๆ นี้ค่ะ

การระลึกถึงคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

หากปีติเกิด เป็นกุศลจิต ใจผ่องใส กายก็พลอยเบาไปด้วย จึงค่อยทุเลาไข้

(คิดในแบบภาษาชาวบ้านอาจหมายถึง มีกำลังใจดี ฟื้นไข้เร็ว)

แต่ผู้ที่ป่วยเป็นโรคที่รักษายาก หรืออาจรักษาไม่ได้

การระลึกถึงพระรัตนตรัยด้วยความเคารพนอบน้อม มีปีติเกิดขึ้นคราใด

แม้ทุกขเวทนาทางกายจะไม่ทุเลา

แต่ความเบาใจ ไม่เป็นทุกข์ใจ

ไม่มีลูกศรดอกที่ 2 มาปักซ้ำเติมลงไป ถึงจะเป็นเพียงบางขณะ

แต่นั่นก็น่าจะเป็นประโยชน์สูงสุดต่อผู้ป่วยผู้นั้น ในขณะนั้นค่ะ


 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Sam
วันที่ 2 ส.ค. 2552

การที่จะระลึกถึงสิ่งใดได้ จะต้องรู้จักสิ่งนั้นเสียก่อน ดังนั้น ผู้ที่จะระลึกถึงพุทธคุณ

อันได้แก่ พระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระมหากรุณาคุณ จะต้องเป็นผู้ที่ได้

ศึกษาและเข้าใจพระธรรมโดยละเอียด จึงจะรู้จักพระคุณเหล่านั้นอย่างถูกต้องครับ

ขณะที่ระลึกถึงพุทธคุณ หรือคุณของพระรัตนตรัย ด้วยความเข้าใจที่ถูกต้อง ขณะ

นั้นจิตสงบเป็นกุศล ซึ่งไม่มีความกลัวเจือปนอยู่เลย แต่ด้วยความรวดเร็วในการ

เกิดดับสลับกันของจิต ทำให้อาจมีขณะจิตที่กลัวเกิดดับสลับกับจิตที่ระลึกเป็นไปใน

กุศลได้ครับ

สำหรับการทีจะพ้นภัยอันตรายได้หรือไม่ ก็เป็นไปตามเหตุคือกรรมที่ได้กระทำแล้ว

ครับ หากอกุศลกรรมถึงคราวให้ผล แม้แต่พระอรหันต์ก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงอันตราย

นั้นได้ ซึ่งแม้ท่านจะประสบทุกข์กายอย่างไร จิตใจของท่านก็ไม่เศร้าหมองเลย

ส่วนปุถุชนนั้น จิตในขณะได้รับอันตรายจะเศร้าหมองหรือผ่องใส ก็ขึ้นอยู่กับการ

สะสมในชีวิตประจำวันเป็นปกติที่มีมาก่อนครับ ผู้ที่สะสมไว้ดีแล้ว ก็มีโอกาสที่กุศลจิต

จะเกิดขึ้นได้แม้ในขณะที่กำลังประสบอันตราย

กรณีการรักษาอาการเจ็บป่วย ผมเข้าใจว่าการเจ็บป่วยเป็นรูปที่เป็นพิษ ซึ่งมี

สมุฏฐานที่ทำให้เกิดขึ้น 4 ประการ ได้แก่ จิต อุตุ กรรม และอาหาร ดังนั้น ในกรณี

ที่เป็นความเจ็บป่วยอันเป็นรูปพิษที่เกิดจากจิต ก็น่าจะทุเลาได้ด้วยกุศลจิตที่เกิดขึ้น

ทำให้มีรูปที่ดีเกิดขึ้นทดแทน แต่หากเป็นความเจ็บป่วยที่เป็นรูปหลายๆ รูปจากหลายๆ

สมุฏฐาน ก็ต้องอาศัยสมุฏฐานอื่นๆ ที่เหมาะสมในการรักษาโรคนั้นด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
noynoi
วันที่ 3 ส.ค. 2552

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
fam
วันที่ 3 ส.ค. 2552

รูปที่เกิดจากกรรมมีอะไรบ้างคะ รบกวนสอบถามท่านผู้รู้ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
prachern.s
วันที่ 3 ส.ค. 2552

อ้างอิงจาก : หัวข้อ 13043 ความคิดเห็นที่ 8 โดย fam

รูปที่เกิดจากกรรมมีอะไรบ้างคะ รบกวนสอบถามท่านผู้รู้ค่ะ


ขอเชิญคลิกอ่านที่.. กัมมชรูป
 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
Pongpat
วันที่ 12 ส.ค. 2552
ขอบพระคุณมากครับ ขออนุโมทนา
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ