การเพ่งสี
"การเพ่งสีเหลืองในหมวดกสิณ จิตจะเป็นกุศลได้อย่างไร"
เรื่องสมถภาวนาและอารมณ์ ๔๐ ท่านมีแสดงไว้โดยละเอียด ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค
ผู้ที่จะอบรมเจริญอย่างถูกต้อง ควรศึกษาโดยละเอียดตั้งแต่เบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุด
ว่าคืออย่างไร เพื่ออะไร เป็นต้น และยุคสมัยที่ต่างเวลาเหลือน้อย ควรศึกษาอบรมอะไร ที่
สำคัญต้องเป็นเรื่องของผู้ที่มีปัญญาเท่านั้น ถ้ายังไม่เข้าใจอะไรเลย จะทำอะไร เพ่งอะไร
จิตก็เป็นอกุศล เริ่มต้นก็ผิดตั้งแต่แรก
แต่สำหรับผู้ที่มีปัญญาในยุคกาลสมบัติ ท่านเห็นดิน เห็นสีขาว หรือเห็นสีเหลือง
เป็นต้นจิตของท่านก็สงบได้ เพราะการสะสมมาแต่ก่อน อนึ่งพระธรรมที่ทรงแสดงไว้
ตลอด ๔๕ พรรษามีมาก ควรศึกษาส่วนที่จะเกื้อกูลแก่ปัญญาตามสมควรแก่เพศครับ
ถ้าไม่เข้าใจเรื่องการอบรมสมถภาวนา จะไปเจริญกสิณคือ เพ่งดิน หรือเพ่งสีต่างๆ จิต
ก็ไม่มีทางที่จะเป็นกุศล มีแต่โลภะที่อยากได้กุศล มีแต่ความเห็นผิด ให้เริ่มต้นด้วยการ
ศึกษาธรรมที่ถูกต้องก่อนที่จะไปปฏิบัติ เพราะความเข้าใจที่ถูกนำไปสู่หนทางที่ถูกค่ะ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 228 ๑๑ เกวัฏฏสูตร
[๓๓๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ สวนมะม่วงของปาวาริก-
เศรษฐีใกล้เมืองนาลันทา. ครั้งนั้น เกวัฏฏะบุตรคฤหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้านั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อนั่งเรียบร้อยแล้ว เกวัฏฏะบุตรคฤหบดีได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค-
เจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ เมืองนาลันทานี้ เป็นเมืองมั่งคั่ง สมบูรณ์ มีผู้คนมากคับคั่งไปด้วยมนุษย์ เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นอย่างยิ่ง ขอประทาน
โอกาสเถิดพระเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญชาให้ภิกษุรูปหนึ่งที่จัก
กระทำอิทธิปาฏิหาริย์ อันเป็นธรรมที่ยิ่งยวดของมนุษย์ได้ โดยอาการอย่างนี้ชาวเมืองนาลันทา จักเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นอย่างยิ่งสุดที่จะ
ประมาณได้. เมื่อเกวัฏฏะกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสกะเกวัฏฏะบุตรคฤหบดีว่า ดูก่อน เกวัฏฏะ เรามิได้แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้ว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาเถิด พวกเธอจงกระทำอิทธิปาฏิหาริย์อันเป็นธรรมยิ่ง
ยวดของมนุษย์ แก่คฤหัสถ์ผู้นุ่งขาวห่มขาว ดังนี้ เกวัฏฏะบุตรคฤหบดีได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นคำรบสองว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระ-
องค์มิได้เจาะจงพระผู้มีพระภาคเจ้า เพียงแต่กราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ เมืองนาลันทานี้ เป็นเมืองมั่งคั่ง สมบูรณ์ มีผู้คนมาก คับคั่งไปด้วย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 229
มนุษย์ เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นอย่างยิ่ง ขอประทานโอกาสเถิด
พระเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญชาให้ภิกษุรูปหนึ่ง ที่จักกระทำ
อิทธิปาฏิหาริย์อันเป็นธรรมยิ่งยวดของมนุษย์ โดยอาการอย่างนี้ ชาวเมือง
นาลันทาจักเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นอย่างยิ่งสุดที่จะประมาณได้.แม้ครั้งที่สาม ฯลฯ เกวัฏฏะก็ได้กราบทูลอย่างนั้น. [๓๓๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนเกวัฏฏะ ปาฏิหาริย์ ๓ อย่าง
นี้ เราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้ว จึงประกาศให้รู้ ปาฏิหาริย์ ๓
อย่างคือ อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทสนาปาฏิหาริย์ อนุสาสนีปาฏิหาริย์. ดูก่อนเกวัฏฏะ
อิทธิปาฏิหาริย์เป็นไฉน. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ
คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ทำให้
หายไปก็ได้ ทะลุฝากำแพง ภูเขาไปก็ได้ ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุด
ขึ้นดำลงในแผ่นดิน เหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แยกเหมือนเดินบน
แผ่นดินก็ได้ นั่งบัลลังก์เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์
พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลก
ก็ได้. ผู้มีศรัทธาเลื่อมใสบางคนเห็นภิกษุนั้นแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คน
เดียวทำให้เป็นหลายคนก็ได้......คนที่มีศรัทธาเลื่อมใสนั้นจะบอกแก่คนที่ไม่มี
ศรัทธาไม่เลื่อมใสคนใดคนหนึ่งว่า พ่อมหาจำเริญ น่าอัศจรรย์จริงหนอ น่าพิศวง
จริงหนอ ความที่สมณะมีฤทธิ์มาก. มีอานุภาพมาก ข้าพเจ้าได้เห็นภิกษุรูปโน้น
แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง......คนที่ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใส จะพึงกล่าวกะคนที่
มีศรัทธาเลื่อมใสอย่างนี้ว่า นี่แน่ะพ่อคุณ มีวิชาอยู่อย่างหนึ่งชื่อว่า คันธารี
ภิกษุรูปนั้นแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง........ด้วยวิชาชื่อว่า คันธารีนั้น....ดูก่อน
เกวัฏฏะ ท่านสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน คนผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีความเลื่อมใส
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 230
นั้น จะพึงกล่าวอย่างนั้น กะคนผู้มีศรัทธามีความเลื่อมใสนั้นบ้างไหม. พึง
กล่าว พระเจ้าข้า. ดูก่อน เกวัฏฏะ เราเห็นโทษในอิทธิปาฏิหาริย์อย่างนี้แหละ
จึงอึดอัด ระอา รังเกียจอิทธิปาฏิหาริย์. [๓๔๐] ดูก่อน เกวัฏฏะ ก็อาเทสนาปาฏิหาริย์เป็นไฉน ภิกษุในธรรม
วินัยนี้ย่อมทายใจ ทายความรู้สึกในใจ ทายความตรึก ทายความตรองของสัตว์
อื่นของบุคคลอื่นได้ ว่า ใจของท่านเป็นอย่างนี้บ้าง ใจของท่านเป็นไปโดย
อาการนี้บ้าง จิตของท่านเป็นดังนี้บ้าง. บุคคลบางคน มีศรัทธาเลื่อมใสเห็น
ภิกษุนั่นทายใจ ทายความรู้สึกในใจ ทายความตรึก ทายความตรองของสัตว์
อื่นบุคคลอื่นได้ว่า ใจของท่านเป็นอย่างนี้บ้าง ใจของท่านเป็นไปโดยอาการ
นี้บ้าง จิตของท่านเป็นดังนี้บ้าง. ครั้นแล้วผู้มีศรัทธาเลื่อมใสบอกแก่คนที่ไม่มี
ศรัทธา ไม่มีความเลื่อมใสคนใดคนหนึ่งว่า พ่อมหาจำเริญ น่าอัศจรรย์จริงหนอ
น่าพิศวงจริงหนอ ความที่สมณะมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ข้าพเจ้าได้เห็น
ภิกษุรูปนี้ทายใจ ทายความรู้สึกในใจ ทายความตรึก ทายความตรองของ
สัตว์อื่นของบุคคลอื่นได้ว่า ใจของท่านเป็นอย่างนี้ ใจของท่านเป็นไปโดย
อาการอย่างนี้ จิตของท่านเป็นดังนี้ ครั้นแล้วผู้ไม่มีศรัทธาไม่เลื่อมใสจะพึง
กล่าวกะผู้มีศรัทธา ผู้มีความเลื่อมใสว่า นี่แน่พ่อคุณ มีวิชาอยู่อย่างหนึ่งชื่อ
มณิกา ภิกษุรูปนั้นทายใจ ทายความรู้สึกในใจ ทายความตรึก ทายความ
ตรองของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นได้ว่า ใจของท่านเป็นอย่างนี้ ใจของท่านเป็น
ไปโดยอาการอย่างนี้ จิตของท่านเป็นดังนี้ ด้วยวิชาชื่อว่ามณิกานั้น ดูก่อน
เกวัฏฏะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน คนผู้ไม่มีศรัทธาไม่เลื่อมใสนั้น
จะพึงกล่าวกะคนผู้มีศรัทธาเลื่อมใสนั้นบ้างไหม พึงกล่าวพระเจ้าข้า ดูก่อน
เกวัฏฏะ เราเห็นโทษในอาเทสนาปาฏิหาริย์อย่างนี้แล จึงอึดอัด ระอา รังเกียจ
อาเทสนาปาฏิหาริย์.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 231
[๓๔๑]ดูก่อน เกวัฏฏะ อนุสาสนีปาฏิหาริย์เป็นไฉน ดูก่อน เกวัฏฏะ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพร่ำสอนอย่างนี้ว่า ท่านจงตรึกอย่างนี้ อย่าตรึกอย่าง
นั้น จงใส่ใจอย่างนี้ อย่าใสใจอย่างนั้น จงละสิ่งนี้ เข้าถึงสิ่งนี้อยู่. ดูก่อน
เกวัฏฏะ นี้เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์ [๓๔๒] ดูก่อน เกวัฏฏะ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก พระตถาคตอุบัติขึ้นในโลก
นี้เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ฯลฯ ดูก่อน เกวัฏฏะ แม้นี้ก็เรียกว่า
อนุสาสนีปาฏิหาริย์. ภิกษุเข้าถึงทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌานอยู่. ดูก่อน
เกวัฏฏะ ข้อนี้ท่านเรียกว่า อนุสาสนีปาฏิหาริย์ ฯลฯ ภิกษุนำเข้าไป น้อม
เข้าไปซึ่งจิตเพื่อญาณทัสสนะ. ดูก่อน เกวัฏฏะ นี้ท่านเรียกว่า อนุสาสนี-
ปาฏิหาริย์. ฯลฯ ภิกษุย่อมรู้ว่า ไม่มีจิตอื่นเพื่อเป็นอย่างนี้อีก ข้อนี้ท่าน
เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์. ดูก่อนเกวัฏฏะ ปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนี้แล เราทำ
ให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง แล้วจึงประกาศให้รู้. [๓๔๓] ดูก่อนเกวัฏฏะ เรื่องเคยมีมาแล้ว ความปริวิตกทางใจได้เกิด
ขึ้นแก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งในหมู่ภิกษุนี้เอง อย่างนี้ว่า มหาภูตรูป ๔ คือ ปฐวี-
ธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ เหล่านี้ ย่อมดับไม่มีเหลือในที่ไหนหนอ.
ลำดับนั้น ภิกษุได้เข้าสมาธิ ชนิดที่เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ทางไปสู่เทวโลกก็ปรากฏ
ได้. ครั้นแล้วภิกษุเข้าไปหาพวกเทวดาชั้นจาตุมมหาราชถึงที่อยู่ ได้ถามพวก
เทวดาเหล่านั้นว่า ท่านทั้งหลาย มหาภูตรูป ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ
เตโชธาตุ วาโยธาตุ เหล่านี้ ย่อมดับไม่มีเหลือในที่ไหน ดูก่อนเกวัฏฏะ เมื่อ
ภิกษุกล่าวอย่างนี้ พวกเทวดาชั้นจาตุมมหาราชจึงกล่าวว่า แม้พวกข้าพเจ้าก็
ไม่ทราบที่ดับไม่มีเหลือแห่งมหาภูตรูป ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 232
เตโชธาตุ วาโยธาตุนี้ เหมือนกัน แต่ยังมีมหาราชอยู่ ๔ องค์ ซึ่งรุ่งเรือง
กว่า วิเศษกว่าพวกข้าพเจ้า ท้าวเธอคงจะทราบ........ภิกษุจึงไปหามหาราช
ทั้ง ๔ แล้วถามว่า ท่านทั้งหลาย มหาภูตรูป ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ
วาโยธาตุ เหล่านี้ย่อมดับไม่มีเหลือในที่ไหน เมื่อภิกษุกล่าวอย่างนี้แล้ว
มหาราชทั้ง ๔ จึงกล่าวว่า แม้พวกข้าพเจ้าก็ไม่ทราบ........แต่ยังมีพวกเทวดา
ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งรุ่งเรืองกว่า วิเศษกว่าพวกข้าพเจ้า เทวดาเหล่านั้นคงจะ
ทราบ.......ภิกษุจึงเข้าไปหาเทวดาชั้นดาวดึงส์แล้วกล่าวว่า มหาภูตรูป คือ
ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุเหล่านี้ ย่อมดับโดยไม่มีเหลือใน
ที่ไหน เมื่อภิกษุกล่าวอย่างนี้ เทวดาชั้นดาวดึงส์จึงกล่าวว่า แม้พวกข้าพเจ้า
ก็ไม่ทราบ........แต่ยังมีท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทวดา ซึ่งรุ่งเรืองกว่า วิเศษกว่า
พวกข้าพเจ้า ท้าวเธอคงจะทราบ.......ภิกษุนั้นก็ได้ไปหาท้าวสักกะผู้เป็นจอม
เทวดากล่าวว่า มหาภูตรูป ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ
เหล่านี้ ย่อมดับโดยไม่มีเหลือในที่ไหน เมื่อภิกษุกล่าวอย่างนี้แล้ว ท้าวสักกะ
ผู้เป็นจอมเทวดากล่าวตอบว่า ข้าพเจ้าก็ไม่ทราบ..........แต่ยังมีเทวดาชั้น
ยาม.........เทพบุตรชื่อสุยาม.........เทวดาชั้นดุสิต..........เทพบุตรชื่อสัน-
ดุสิต........เทวดาชั้นนิมมานรดี.....เทพบุตรชื่อสุนิมมิตะ.......เทวดาชั้น
ปรนิมมิตวสวดี........เทพบุตรชื่อปรนิมมิตวสวดี ซึ่งรุ่งเรืองกว่า วิเศษกว่า
ข้าพเจ้า ท้าวเธอคงทราบ........ที่ดับโดยไม่เหลือแห่งมหาภูตรูป ๔ คือ
ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ เหล่านี้ได้. [๓๔๔] ดูก่อน เกวัฏฏะ ครั้งนั้นภิกษุเข้าไปหาวสวดีเทพบุตรแล้วกล่าวว่า
มหาภูตรูป ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุเหล่านี้ ย่อมดับ
ไม่มีเหลือในที่ไหน เมื่อภิกษุกล่าวอย่างนี้แล้ว วสวดีเทพบุตรกล่าวตอบว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 233
แม้ข้าพเจ้าก็ไม่ทราบ.....แต่ยังมีเทวดาพรหมกายิกา ซึ่งรุ่งเรืองกว่า วิเศษกว่า
พวกเรา เทวดาเหล่านั้นคงจะทราบ ลำดับนั้นภิกษุได้เข้าสมาธิโดยที่เมื่อจิต
ตั้งมั่นแล้วทางไปสู่พรหมโลกได้ปรากฏแล้ว. [๓๔๕] ดูก่อนเกวัฏฏะ ต่อแต่นั้น ภิกษุได้เข้าไปหาเทวดาพรหมกายิกา
แล้วกล่าวว่า ท่านทั้งหลาย มหาภูตรูป ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ
วาโยธาตุ เหล่านี้ ย่อมดับไม่มีเหลือในที่ไหน เมื่อภิกษุกล่าวอย่างนี้ เทวดา-
พรหมกายิกา จึงกล่าวตอบว่า แม้พวกข้าพเจ้าก็ไม่ทราบ....แต่ยังมีพระพรหม
ผู้เป็นมหาพรหม ผู้เป็นใหญ่ไม่มีใครยิ่งกว่า รู้เห็นเหตุการณ์โดยถ่องแท้ ผู้ใช้
อำนาจ ผู้เป็นอิสสระ เป็นผู้สร้าง เป็นผู้นิรมิต เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้บงการ
เป็นผู้ทรงอำนาจ เป็นบิดาของหมู่สัตว์ ซึ่งรุ่งเรืองกว่าและวิเศษกว่าพวกข้าพเจ้า
ท้าวมหาพรหมนั่นแลคงจะทราบ...... ก็บัดนี้ท้าวมหาพรหมนั้นอยู่ที่ไหน
แม้พวกข้าพเจ้าก็ไม่รู้ที่อยู่ของพรหม หรือทิศของที่พรหมอยู่ แต่ว่านิมิตทั้ง
หลายจักเห็นได้ แสงสว่างย่อมเกิดเอง โอภาสย่อมปรากฏเมื่อใด พรหมจัก
ปรากฎเมื่อนั้น การที่แสงสว่างเกิดเอง โอภาสปรากฏนั้นแล เป็นบุพพนิมิตเพื่อ
ความปรากฏแห่งพรหม ดูก่อนเกวัฏฏะ ต่อมาไม่นานนัก มหาพรหมนั้นก็ได้
ปรากฏ. [๓๔๖] ดูก่อนเกวัฏฏะ ลำดับนั้น ภิกษุได้เข้าไปหามหาพรหมแล้ว
กล่าวว่า มหาภูตรูป ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ เหล่านี้
ย่อมดับไม่มีเหลือในที่ไหน เมื่อภิกษุกล่าวอย่างนี้แล้ว ท้าวมหาพรหม ได้
กล่าวตอบว่า ข้าพเจ้าเป็นพรหม เป็นมหาพรหม เป็นผู้ใหญ่ยิ่ง....... เป็นบิดา
ของหมู่สัตว์ทั้งหลาย. ดูก่อนเกวัฏฏะ แม้ครั้งที่ ๒ ภิกษุนั้นก็ได้กล่าวกะท้าว-
มหาพรหมว่า ข้าพเจ้ามิได้ถามท่านอย่างนั้นว่า ท่านเป็นพรหม........ข้าพเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 234
ถามท่านว่ามหาภูตรูป ๔......ย่อมดับไม่มีเหลือในที่ไหน ต่างหาก. แม้ครั้งที่ ๒
ท้าวมหาพรหมก็ได้ตอบภิกษุอย่างนั้น แม้ครั้งที่ ๓ ภิกษุก็ได้กล่าวกะท้าว
มหาพรหมว่า ข้าพเจ้ามิได้ถามอย่างนั้น ข้าพเจ้าถามว่า มหาภูตรูป ๔
ย่อมดับไม่มีเหลือในที่ไหนต่างหาก. [๓๔๗] ดูก่อนเกวัฏฏะ ลำดับนั้นท้าวมหาพรหมจับแขนภิกษุนั้น
นำไป ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกล่าวกะภิกษุนั้นว่า ท่านภิกษุ พวกเทวดา-
พรหมกายิกาเหล่านี้ รู้จักข้าพเจ้าว่า อะไรๆ ที่พรหมไม่รู้ ไม่เห็น ไม่เข้าใจ
ไม่แจ่มแจ้ง เป็นอันไม่มี เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่ตอบต่อหน้าเทวดาเหล่า
นั้นว่า แม้ข้าพเจ้าก็ไม่ทราบที่ดับไม่มีเหลือแห่งมหาภูตรูป ๔ คือ ปฐวีธาตุ
อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ เหล่านี้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นแล การที่ท่าน
ละเลยพระผู้มีพระภาคเจ้าเสียแล้ว เที่ยวแสวงหาในภายนอก เพื่อพยากรณ์
ปัญหานี้ เป็นอันท่านทำผิดพลาดแล้ว ท่านจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทูลถามปัญหานี้เถิด พระองค์ทรงพยากรณ์แก่ท่านอย่างใด ท่านพึงทรงจำ
ข้อนั้นไว้. [๓๔๘] ดูก่อนเกวัฏฏะ ครั้งนั้น ภิกษุนั้นได้หายไปจากพรหมโลก
มาปรากฏข้างหน้าเรา เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลัง เหยียดแขนที่คู้อยู่ออกไป
หรือคู้แขนที่เหยียดไว้เข้ามา, ดูก่อนเกวัฏฏะ ภิกษุนั้นเข้ามาหาเรา ไหว้เรา
แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กล่าวว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มหาภูตรูป ๔
คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ เหล่านี้ ย่อมดับไม่มีเหลือในที่ไหน
เมื่อเธอกล่าวอย่างนี้แล้ว เราได้กล่าวว่า ดูก่อนภิกษุ เรื่องเคยมีมาแล้ว พวกพ่อ
ค้าเดินเรือมหาสมุทร จับนกตีรทัสสี (นกดูฝั่ง) ลงเรือไปด้วย เมื่อไม่เห็นฝั่ง
เขาก็ปล่อยนกตีรทัสสี มันบินไปยังทิศบูรพา ทิศทักษิณ ทิศปัจจิม ทิศอุดร
ทิศเบื้องบน ทิศน้อย หากมันเห็นริมฝั่ง มันก็บินไปทางนั้น หากมันไม่เห็น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 235
ริมฝั่ง มันจะกลับมายังเรือนั้นอีก ดูก่อนภิกษุ เธอก็เหมือนกัน เที่ยวแสวงหา
จนถึงพรหมโลก ก็ไม่ได้รับพยากรณ์ปัญหานี้ ในที่สุดก็ต้องมาหาเรา ปัญหานี้
เธอไม่ควรถามอย่างนั้น แต่ควรถามอย่างนี้........
[๓๔๙] ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้
ในที่ไหน
อุปาทายรูปที่ยาวและสั้น ละเอียดและหยาบ งามและไม่งาม ย่อม
ตั้งอยู่ไม่ได้ในที่ไหน
นามและรูปย่อมดับไปไม่มีเหลือในที่ไหน ดังนี้.
ในปัญหานั้นมีพยากรณ์ดังต่อไปนี้ [๓๕๐] ธรรมชาติที่รู้แจ้ง แสดงไม่ได้ ไม่มีที่สุด แจ่มใสโดย
ประการทั้งปวง ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ใน
ธรรมชาตินี้ อุปาทายรูปยาวและสั้น ละเอียดและหยาบ งามและไม่งาม ย่อม
ตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมชาตินี้ นามและรูปย่อมดับไปไม่มีเหลือในธรรมชาตินี้ เพราะวิญญาณดับ นามและรูปนั้นย่อมดับไม่มีเหลือในธรรมชาตินี้
ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพยากรณ์ปัญหานี้แล้ว เกวัฏฏะบุตรคฤหบดี
ชอบใจเพลิดเพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้แล. จบเกวัฏฏสูตรที่ ๑๑
เมื่ออ่านแล้วก็คงจะพิจารณาเห็นได้ว่าพระพุทธองค์ทรงให้ความสำคัญในสิ่งใดน่ะครับ
การเพ่งจ้องอะไรก็ตาม แล้วเกิดเหตุการณ์ต่างๆ เช่นเห็นนรกสวรรค์หรือไปเห็นเรื่องราว
ของคนอื่น ถึงแม้จะเป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้ว่าไปรู้เห็นมาจริงๆ แต่ก็ไม่จำเป็นต้องเป็นกุศล-
จิตนะครับ
สภาพเห็นมีจริง
แต่สิ่งที่เห็น.....มีจริงรึเปล่า?
ทั้งสิ่งที่เห็นและสภาพเห็น มีจริงทั้งคู่.ทวิปัญจวิญญาณ ไม่รับอารมณ์อื่น นอกจากวิสยรูป ๗ ครับ.
สภาพเห็นมีจริง
แต่สิ่งที่เห็น.....มีจริงรึเปล่า?
ทั้งสิ่งที่เห็นและสภาพเห็น มีจริงทั้งคู่.ทวิปัญจวิญญาณ ไม่รับอารมณ์อื่น นอกจากวิสยรูป ๗ ครับ.
I was questioning re 8 naka. As he mentioned heaven and hell.
สภาพเห็นมีจริง
แต่สิ่งที่เห็น.....มีจริงรึเปล่า?
ทั้งสิ่งที่เห็นและสภาพเห็น มีจริงทั้งคู่.ทวิปัญจวิญญาณ ไม่รับอารมณ์อื่น นอกจากวิสยรูป ๗ ครับ.
I was questioning re 8 naka. As he mentioned heaven and hell.
Sorry