ศรัทธา

 
oom
วันที่  6 ส.ค. 2552
หมายเลข  13107
อ่าน  2,210

อย่างไรจึงจะเรียกว่า ผู้มีศรัทธา


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 6 ส.ค. 2552

ขอเชิญคลิกอ่าน ผู้มีศรัทธา [ฐานสูตร]

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
oom
วันที่ 6 ส.ค. 2552

ปกติศรัทธาต้องเป็นไปในทางกุศล กรณีคนที่มีศรัทธาทำบุญ โดยมีความเชื่อว่าการทำ

บุญให้บ้านเมืองนั้นจะช่วยให้บ้านเมืองดีขึ้น หรือเมื่อต้นเดือนเกิดปรากฏการณ์

สุริยุปราคา คนส่วนหนึ่งเขาทำบุญด้วยของดำ โดยคิดว่าจะช่วยไม่ให้เกิดเหตุร้าย

ทั้งหมดนี้ถือว่าเป็นความหลงผิดใช่หรือไม่

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
วันใหม่
วันที่ 6 ส.ค. 2552

จากความเห็นที่ 2

ศรัทธาเจตสิกเป็นสภาพธรรมที่เป็นฝ่ายดี ดังนั้นจะไม่เกิดกับอกุศลจิตเลย ขณะใดที่

เป็นกุศล ขณะนั้นต้องมีศรัทธาเกิดร่วมด้วย ดังนั้นภาษาไทยยืมคำว่าศรัทธาไปใช้

หมายถึงความเชื่อ ความเลื่อมใส ซึ่งถือเอาเองว่าหากเป็นความเชื่อ ความเลื่อมใสในสิ่งใดก็ตามทั้งหมดเป็นศรัทธาซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ความเชื่อ ความเลื่อมใส ย่อม

มีในทางที่ถูกคือเป็นกุศลและเป็นความเชื่อ ความเลื่อมใสที่ผิดที่เป็นอกุศล ดังนั้นหาก

มีความเชื่อ ความเลื่อมใสในสิ่งที่ผิด ไม่มีเหตุผล จะเรียกว่าเป็นศรัทธาไม่ได้เลยเพราะ

เป็นอกุศล ซึ่งโดยทั่วไปขณะที่เชื่อ เลื่อมใสในสิ่งที่ผิดเป็นความยินดีพอใจที่มีความ

เห็นผิดเกิดร่วมด้วยนั่นเอง ไม่ใช่ศรัทธาอันเป็นสภาพธรรมฝ่ายดี ดังนั้นการกระทำใดที่

ไม่มีเหตุผล ไม่มั่นคงในเรื่องของกรรมและผลของกรรม นั่นไม่ใช่ศรัทธา ไม่ใช่กุศลแต่

เป็นความยินดีพอใจที่ประกอบด้วยความเห็นผิดซึ่งเป็นอกุศล อนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
วันใหม่
วันที่ 6 ส.ค. 2552
ผู้ที่เลื่อมใสในสิ่งที่ผิด ย่อมประสบบาปไม่ใช่บุญและไม่ใช่ศรัทธาที่เป็นธรรมฝ่ายดี พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 6 ๓.ปฐมขตสูตร ว่าด้วยธรรม ๔ ประการ ของคนพาลและบัณฑิต [๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเป็นคนพาล เป็นคนโง่เขลา เป็นอสัตบุรุษ ครองตนอันถูกขุด (รากคือความดี) เสียแล้วถูกขจัดไปครึ่งหนึ่งแล้ว เป็นคนประกอบด้วยโทษ ผู้รู้ติเตียน และได้สิ่งอันไม่เป็นบุญมากด้วย ธรรม ๔ ประการเป็นไฉนคือบุคคลไม่ใคร่ครวญไม่สอบสวนแล้ว ชมคนที่ควร ติ ๑ ติคนที่ควรชม ๑ ปลูกความเลื่อมใสในฐานะอันไม่ควรเลื่อมใส ๑ แสดงความไม่เลื่อมใสในฐานะอันควรเลื่อมใส ๑ บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เป็นคนพาล ฯลฯและได้สิ่งอันไม่เป็นบุญมากด้วย
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
pornpaon
วันที่ 7 ส.ค. 2552

จากรายการวิทยุตอนเช้าในระยะ 2-3 วันนี้

ทำให้เข้าใจชัดเจนเพิ่มขึ้นว่า... ศรัทธาและสติ ไม่เกิดกับอกุศลจิตโดยเด็ดขาด

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
aiatien
วันที่ 7 ส.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
สามารถ
วันที่ 7 ส.ค. 2552

ศรัทธา เหมือนอัศวินผู้นำเหล่าชาวบ้านที่หนีมาจากภัยร้ายข้ามห้วงน้ำใหญ่ทางที่จะไป เมื่อมีแม่ใหญ่น้ำขวางอยู่ตรงหน้า ชาวบ้านทั้งหลายต่างหวั่นกลัวด้วยไม่ทราบถึงอันตรายที่จะมีในห้วงน้ำ

ศรัทธา เปรียบเหมือนอัศวินผู้กล้า เป็นบุคคลแรกที่ก้าวลงไปในน้ำ จึงนำ

เหล่าชาวบ้านข้ามน้ำ เพื่อหนีภัยที่ตนหนีมา

ศรัทธา มีลักษณะเหมือนอัศวิน ที่นำเหล่าโสภณธรรมอื่นทั้งหลายให้เกิดขึ้น

นำไปสู่ที่สงบ จากที่ที่เป็นอันตราย คือ อกุศลธรรม

ใครเคยลุกขึ้นยืนตรงเคารพธงชาติด้วยความเห็นว่า

"เพราะเป็นการแสดงความเคารพต่อชาติไทย" ไหมลุกขึ้นยืนท่ามกลางผู้คนที่กำลังนั่งทานอาหารเช้า (08.00 น.) โดยไม่สนใจว่าใครจะคิดอย่างไรไหม ไม่มีอาการอายแต่มั่นคงด้วยความดี ความซื่อสัตย์ต่อชาติบ้านเมืองยืนจนเพลงจบแล้วนั่งลง นี้เป็น ศรัทธา

ใครเคยให้ใครยืมร่มของท่านไหม โดยมีความเห็นว่า"ให้เขาเอาไปใช้ก่อนเถอะ ตอนนี้เขาจำเป็น และเรายังไม่ได้ใช้"โดยไม่กลัวเลยว่า เขาจะเอาร่มเรามาคืนหรือไม่ก็ไม่รู้

หรือถ้าเราจำเป็นต้องใช้แล้วเราจะไม่มี เราควรเก็บไว้ดีกว่าไม่สนใจในความคิดตระหนี่เหล่านี้เลย นี้เป็น ศรัทธา

ใครเคยใส่บาตรโดยถอดรองเท้าบ้างไหม โดยเห็นว่า"แม้พระสงฆ์ท่านยังไม่ได้ใส่รองเท้าเลย วันนี้เราใส่บาตรต่อผู้ที่มีศีลกว่าเราไม่ควรที่เราจะอยู่ในตำแหน่งที่เหมือนจะสูงกว่าด้วยการสวมรองเท้า"แล้วจึงถอดรองเท้าใส่บาตร ทำเช่นนี้ โดยไม่กลัวเลยว่าพื้นถนนก็สกปรก

เท้าเราหรือถุงเท้าของเราก็อาจจะเปื้อนได้

หรือเสียเวลาเปล่าเพราะการใส่บาตรใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที

เสียเวลาถอดเข้า-ออก พระท่านคงเข้าใจอยู่แล้ว

และความเห็นอื่นๆ อีกมากมายที่จะทำให้เราไม่ต้องถอดรองเท้า

จิตใจที่คิดจะถอดรองเท้านั้นประกอบด้วย ศรัทธา

ศรัทธา เปรียบเหมือนอัศวินผู้กล้า เป็นบุคคลแรกที่ก้าวลงไปในน้ำ

นำเหล่าชาวบ้านข้ามน้ำ เพื่อหนีภัยที่ตนหนีมา ศรัทธา มีลักษณะเหมือนอัศวิน ที่นำเหล่าโสภณธรรมอื่นทั้งหลายให้เกิดขึ้น

นำไปสู่ที่สงบ จากที่ที่เป็นอันตราย คือ อกุศลธรรม

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
wannee.s
วันที่ 9 ส.ค. 2552

ศรัทธาต้องเป็นกุศลเท่านั้น แต่ความเลื่อมใสเป็นได้ทั้งกุศลและอกุศล เช่น ผู้ที่เป็น

นักบวชนอกศาสนา เลื่อมใสในอาจารย์ผู้เป็นเจ้าลัทธิของตน เลื่อมใสแบบนี้เป็นอกุศล

แต่ถ้าเลื่อมใสในวัตถุที่เลิศคือเลื่อมใสในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นกุศลและที่

สำคัญศรัทธาเป็นธรรมฝ่ายดีเกิดร่วมกับจิตฝ่ายดีเท่านั้น (โสภณสาธารณเจตสิก) ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
สามารถ
วันที่ 11 ส.ค. 2552

เรียนคุณ wannee.s ครับ

"ผู้ที่เป็นนักบวชนอกศาสนา เลื่อมใสในอาจารย์ผู้เป็นเจ้าลัทธิของตน เลื่อมใสแบบนี้

เป็นอกุศล" แต่ หากเขาเคารพต่ออาจารย์ของเขา

หรือ มีจิตคิดที่จะปฏิบัติตามคำสอนของอาจารย์ด้วยกตัญญูหรือ มีความคิดที่จะอุปถัมภ์ ดูแล ด้วยเห็นความแก่ชราหรือ มีการตั้งใจศึกษาในคำสอนของอาจารย์ด้วยความจริงใจ (ด้วยเหตุที่ยังไม่ได้พบกับพระพุทธศาสนาก็ดี)

อย่างนี้จะเรียกว่าเป็นศรัทธาหรือไม่ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
พุทธรักษา
วันที่ 11 ส.ค. 2552

เรียน คุณ สามารถ ค่ะ.ก่อนอื่น คงต้องทำความเข้าใจให้ตรงกันก่อนนะคะ ว่าปัญหาเรื่องของภาษา คือ
คำว่า "ศรัทธา" กับ "เลื่อมใส" นั้น ต่างกัน.
ซึ่งคงต้องอาศัยท่านผู้เข้าใจ ภาษาบาลี ช่วยแปลคำว่า "ศรัทธา" ด้วยค่ะ.!
การเคารพ.เป็น สภาพจิตที่ดี มีคุณ ไม่มีโทษ.ความกตัญญู.ก็เป็นสภาพจิตที่ดี มีคุณ ไม่มีโทษ.การคิดช่วยเหลือดูแล. เป็นสภาพธรรมที่เรียกว่า "เมตตา" ซึ่ง เป็นธรรมที่มีคุณ ไม่มีโทษ.ฯลฯแต่สำหรับ "ความตั้งใจในการศึกษา" นั้นต้องพิจารณาก่อนค่ะ ว่า การศึกษานั้นเป็นไปเพื่อคุณ หรือ โทษ.!
ซึ่งเป็นเรื่องที่บังคับบัญชาไม่ได้ ว่า ทุกคนที่สะสมความคิดต่างๆ กันมาจะต้องคิดเหมือนกัน มีความเชื่อเหมือนกัน และ ศึกษาเหมือนกันทุกคนไป

นี้ ก็เป็น สัจจธรรม.!
.
ขออนุญาตยกตัวอย่างนะคะ.!
เช่น ผู้ที่ศึกษาทางโลก เช่น วิชาแพทย์ เป็นต้น

แม้การศึกษานั้น เป็นไปเพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์.บุคคลนั้น จะเป็นแพทย์ที่มีคุณธรรมได้จริงๆ หรือไม่ และ ตลอดไปหรือเปล่า.?
หรือว่า ถ้าได้มีโอกาสศึกษาพระธรรมและ
ถ้าหากเข้าใจพระธรรม ด้วยความเห็นถูก.


อันเป็นเหตุที่จะนำมาซึ่งผลคือ การประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมสมควรแก่ธรรม.
จะเป็นประโยชน์ทั้งโลกนี้ และ โลกหน้าหรือเปล่า....?

แต่...ถ้าไม่มีความเห็นถูก (ปัญญา) แพทย์ท่านนั้น...ถึงแม้จะเป็นผู้เลื่อมใสอาจารย์อย่างสุดประมาณหรือ เป็นคนดีที่กตัญญูอย่างจริงใจ หรือ เมตตาช่วยเหลือผู้อื่น จนไม่เห็นแก่ความสุขส่วนตัวเลย....ฯลฯ
แต่ ไม่ได้เข้าใจ "สัจจธรรม "ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้.!ก็เป็นเพียงแพทย์ที่ดี แต่ ไม่สามารถพ้นทุกข์ได้....???


 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
วันใหม่
วันที่ 11 ส.ค. 2552

จากความเห็นที่ 9 คงต้องแยกขณะจิตเพราะจิตเกิดดับสลับกันเร็วมาก ลางขณะเป็นกุศล บางขณะเป็นอกุศล กุศลย่อมเป็นกุศล อกุศลย่อมเป็นอกุศล ดังนั้นการพิจารณาเรื่องอะไรคงต้องพิจารณาเป็นขณะจิตไป แต่ไม่ใช่เป็นเรื่องราว ก่อนอื่นจะต้องให้เข้าใจจตรงกันก่อนว่า ศรัทธาเป็นสภาพธรรมฝ่ายดีไม่เกิดกับอกุศลเลย ดังนั้นเมื่อใดที่เป็นอกุศล จะไม่มีศรัทธาเจตสิกเกิดร่วมด้วย ตรงนี้คงต้องยอมรับกันก่อน

ในประเด็นในเรื่องการเคารพอาจารย์เป็นกุศล เป็นความอ่อนน้อม ขณะใดที่เป็นกุศล ขณะนั้นมีศรัทธาเจตสิกเกิดร่วมด้วย ขณะที่ช่วยเหลือ อุปถัมภ์เพราะเห็นแก่ความชรา จิตขณะนั้นเป็นกุศล มีศรัทธาเกิดร่วมด้วยแต่ขณะใดปฏิบัติตามคำสอนที่เป็นความเห็นผิด ผู้ที่ปฏิบัติตามจะเป็นความเห็นถูกไม่ได้เลย ย่อมเป็นความเห็นผิด เมื่อเป็นความเห็นผิด จิตเป็นกุศลหรืออกุศล ต้องเป็นอกุศลเมื่อเป็นอกุศล เป็นศรัทธาได้ไหม ไม่ได้แน่อนเพราะเป็นอกุศล ความกตัญญูนั่นเราใช้กับรู้คุณในความดี แต่ถ้าเป็นความเห็นผิดแล้วศึกษาตาม ความเห็นผิดไม่ใช่ความดี จึงไม่ใช่กตัญญู แต่เป็นอกุศลจึงไม่ใช่ศรัทธา สาธุ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ