วันดี
มีน้องที่ทำงาน มาถามว่า ปีนี้วันไหนเป็นวันดี ดิฉันจึงตอบว่า วันดีก็คือ วันที่เราสะดวก
ที่สุด น้องเขาเลยเลิกคุยกับดิฉันเลย ดิฉันจึงอยากทราบว่าทุกท่าน มีความคิดเห็น
อย่างไรบ้างเกี่ยวกับเรื่องของ วันดี ช่วยแสดงความคิดเห็นด้วยค่ะ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 592
๑๐. สุปุพพัณหสูตร ว่าด้วยเวลาที่เป็นฤกษ์ดี
[๕๙๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลายสัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริต ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ
ในเวลาเช้า เวลาเช้านั้น ก็เป็นเวลาดีของสัตว์เหล่านั้น
สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริต ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ
ในเวลากลางวัน เวลากลางวันนั้น ก็เป็นเวลาดีของสัตว์เหล่านั้น
สัตว์เหล่าใดพระพฤติสุจริต ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ
ในเวลาเย็น เวลาเย็นนั้น ก็เป็นเวลาดีของสัตว์เหล่านั้น.
...........................................
ขออนุโมทนาครับ
ก่อนอื่น เราน่าจะถามตัวเอง และ ถามผู้ต้องการหา "วันดี" เสียก่อนว่า หาวันดี ไปเพื่อจุดประสงค์อะไร และด้วยเหตุผลอะไรทีจะบอกได้ว่า วันนั้นดี วันนี้ไม่ดี
เรื่องของวันดี วันไม่ดี น่าจะเป็นเรื่องของความเชื่อ และเรื่องของกำลังใจลมๆ แล้งๆ ทีพูดเช่นนี้เพราะตัวเองก็เคยเป็น ต่อมาเมื่อเริ่มศึกษาพระธรรม จึงทำใจยอมรับได้ว่า วันใดจะเป็นวันดี หรือวันไม่ดี เรากำหนดไม่ได้หรอก กรรมเท่านั้นที่กำหนด
ต้องศึกษาพระธรรมให้มากๆ จนลึกซึ้งกินใจค่ะ จึงจะเลิกเชื่อเรื่อง "วันดี"
ขออนุโมทนาค่ะ
วันไหนๆ ก็ดีถ้าเข้าใจประโยชน์ของการมีชีวิตอยู่
ขออนุโมทนา
วันดีคือวันที่สติปัฏฐานเกิด วันที่ได้ทำความดี วันที่ได้ฟังธรรม วันที่ได้สะสมปัญญา
และวันที่ดีที่สุดคือวันที่สิ้นอาสวะกิเลสบรรลุเป็นพระอรหันต์ค่ะ
ตอบคุณวันชัย สำหรับวันที่ไม่ดีสำหรับตัวเอง คือวันที่จิตเกิดอกุศล ส่วนวันดีที่สุดเห็น
ด้วยกับคุณวรรณีค่ะ คือวันที่หมดจดจากกิเกส บรรลุเป็นพระอรหันต์ ขออนุโมทนาค่ะ
วันดี คือ วันที่ โลภะ โทสะ โมหะ เกิดน้อยที่สุด
วันใดที่ประสงค์ความเจริญรุ่งเรืองในทางโลก
เป็นเรื่องของ โลภะ
เป็นวันดีทางโลก แต่เป็นวันเลวทางธรรม
คงเป็นเรื่องยากสำหรับคนทั่วไป ที่จะไม่ถือฤกษ์งาม ยามดี ถ้าไม่ได้ศึกษาธรรมะ เพราะ
คนส่วนใหญ่ไม่ว่าจะทำอะไร จะต้องคิดถึงวันดี ไปเที่ยวหาหมอดูบ้าง หาพระบ้าง เพื่อ
หาวันที่ดีที่สุด ในการทำสิ่งต่างๆ โดยมุ่งหวังว่าถ้าได้วันดีแล้ว ชีวิตก็จะดีไปด้วยแต่
เปล่าเลย หาได้เป็นเช่นนั้นไหม...............
จากประสบการณ์ตัวเอง ตอนที่ยังไม่ได้ศึกษาธรรมะ ก็เป็นเหมือนกัน ที่ต้องดูฤกษ์
ดูยามเพื่อหวังที่จะได้สิ่งดีๆ แต่พอได้มาศึกษาธรรมะอย่างจริงจัง จึงเริ่มเข้าใจ และมี
ความมั่นคงในคำสอนของพระพุทธเจ้ามากขึ้น ค่อยๆ ละคลายความยึดถือลงได้บ้าง
เห็นคนอื่นยังติดข้องเรื่องฤกษ์ยาม ก็อยากให้เขามีความเข้าใจบ้าง ชวนไปฟังธรรม แต่
ก็ชวนยากเหลือเกิน เพราะแต่ละคนสะสมมาไม่เหมือนกัน คงยังไม่ถึงเวลา