ความรู้สึกว่า สภาพธรรมทั้งหลาย มีแต่พรัดพรากจากไป
การเจริญสติปัฏฐานในเบื้องต้นจะค่อยๆ รู้นามและรูปที่กำลังปรากฏ คือ ปัญญาจะค่อยๆ เจริญขึ้น แต่ยังไม่ถึงการเบื่อหน่ายจนใคร่ที่จะสลัดออก ส่วนความรู้สึกนึกคิดไปในเรื่องต่างๆ ย่อมมีเป็นธรรมดา เป็นเพียงสภาพธรรมอย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่ผลของการอบรมเจริญสติปัฏฐานควรศึกษาและอบรมความเข้าใจในพระธรรมให้มากขึ้น อุปสรรคและเครื่องเนิ่นช้า คือ กิเลส (ตัณหา มานะ ทิฏฐิ) ที่จะพาให้หลงไปกับความต้องการผลต่างๆ ปัญญาขั้นต้นจะต้องเป็นการรู้ชัดลักษณะของนามธรรมและรูปธรรม จากนั้นจึงรู้ปัจจัยของนามรูป และประจักษ์ความเกิดดับและจึงเห็นภัยและเบื่อหน่าย ใคร่ที่จะพ้น วางเฉย ตามลำดับ
๑. สัมปชัญญะ เป็นปัญญาเจตสิก๒. มนสิการ กับ โยนิโสมนสิการ คือมนสิการเจตสิก แต่โยนิโสมนสิการเป็น มนสิการที่เกิดร่วมกับกุศลจิต ๓.- ๔. โยนิโสมนสิการ คือกุศลธรรม รวมโสภณธรรมที่เกิดร่วมกันทั้งหมดพระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 157
โยนิโสมนสิการกับอโยนิโสมนสิการทั้ง ๒ อย่างนั้น ที่ชื่อว่า โยนิโสมนสิการ ได้แก่การทำไว้ในใจโดยถูกอุบาย=การทำไว้ในใจโดยถูกทาง=การนึก=การน้อมนึก=การผูกใจ=การใฝ่ใจ=การทำไว้ในใจ ซึ่งจิตในอนิจจลักษณะเป็นต้น โดยนัยเป็นต้นว่า ไม่เที่ยง หรือโดยสัจจานุโลมิก-ญาณ นี้เรียกว่า โยนิโสมนสิการ