โลภะ และ อุทธัจจะ
โลภะ คือ ความอยากได้ในอารมณ์ และ อุทธัจจะ คือ ฟุ้ง ด้วยความหมายของคำทั้งสองนั้นต่างกัน แต่ลักษณะ คล้ายๆ กัน แยกไม่ออกอย่างชัดเจน ขอความกรุณายกตัวอย่างเพื่อให้เห็นความแตกต่างด้วยค่ะ
ขอบพระคุณค่ะ
เรียนถามว่า สติที่ระลึกลักษณะ โลภะ ที่มี เวทนา ก็เป็นไปในลักษณะที่กล่าวใช่ไหมคะ
ที่ว่า ผู้เริ่มอบรมเจริญปัญญาขั้นต้น ยังไม่สามารถแยกแยะธรรมได้ขอบพระคุณค่ะ
จากความเห็นที่ 3 เมื่อจิตเกิดขึ้นก็ต้องมีเจตสิกอื่นๆ เกิดร่วมด้วยหลายเจตสิก เมื่อโลภมูลจิตเกิดขึ้นก็ต้องมีเจตสิกอื่นๆ เกิดร่วมด้วย รวมทั้งเวทนาเจตสิกก็เกิดร่วมด้วยเช่นกัน การอบรมปัญญาที่เป็นการอบรมเจริญสติปัฏฐาน ต้องมั่นคงก่อนว่าธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตาสติปัฏฐานก็เป็นอนัตตา สติจึงจะเกิดหรือไม่เกิดก็ได้ สติจะเกิดระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมใดก็ได้ เลือกไม่ได้ เมื่อโลภะเกิดขึ้น มีเจตสิกอื่นๆ เกิดร่วมด้วย สติอาจจะไม่เกิดระลึกรู้ก็ได้ในโลภะ แต่อาจเกิดระลึกรู้เวทนา ความรู้สึกที่เกิดร่วมด้วยกับจิตที่เป็นโลภะก็ได้ หรืออาจไม่เกิดระลึกรู้ลักษณะของโลภะหรือเวทนาแต่ก็อาจรู้ลักษณะของสภาพธรรมอื่นๆ ก็ได้หรือไม่เกิดสติระลึกรู้เลย แสดงถึงความเป็นอนัตตานั่นเองผู้ที่อบรมปัญญาขั้นต้น ควรเข้าใจว่าสติระลึกอะไรก็แล้วแต่สภาพธรรมนั้นปรากฏให้รู้แม้ว่าสภาพธรรมนั้น จะเกิดร่วมกันก็ตามแต่ก็แล้วแต่ว่าสติจะเกิดระลึกรู้อะไร เป็นอนัตตาและเข้าใจขณะนั้นว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา สาธุ
ขณะนี้ศึกษาเพียงชื่อเข้าใจได้ในขั้นการฟัง โลภะเป็นความติดข้อง แต่อุทธัจจะเป็น
ความไม่สงบเป็นอกุศล เช่น ขณะที่เราโกรธ ขณะนั้นมีสภาพธรรมที่ไม่สงบเกิด
ร่วมด้วย ต่างกับขณะที่เป็นกุศล เช่นขณะที่ให้ทาน ขณะนั้นจิตสงบ ไม่ติดข้อง มี
เจตนาสละวัตถุให้เป็นประโยชน์กับคนอื่น ก็ต้องไม่ประมาทอบรมสติและปัญญาต่อไป