ผู้ที่ศึกษาธรรมต้องมีความอดทน

 
ธรรมทัศนะ
วันที่  10 มิ.ย. 2549
หมายเลข  1316
อ่าน  1,314

ไม่มีบุคคลผู้ใดที่จะสามารถรู้แจ้งสภาพธรรมตามความเป็นจริงได้โดยไม่มีการฟังพระธรรม การศึกษาพระธรรม การฟังพระธรรมจะทำให้เรามีความเข้าใจในสภาพธรรมตามความเป็นจริงมากขึ้น จากการเป็นผู้ที่ไม่เคยรู้ ก็จะค่อยๆ รู้ขึ้น ฉะนั้น ผู้ที่ศึกษาธรรมต้องมีความอดทนในการที่จะศึกษา ในการที่จะฟัง พิจารณาไตร่ตรองความลึกซึ้งของพระธรรม


  ความคิดเห็นที่ 2  
 
Buppha
วันที่ 11 มิ.ย. 2549

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
pcha
วันที่ 11 มิ.ย. 2549

ผมนึกถึง ขันติเป็นตบะ เครื่องเผากิเลส ในส่วนต้นของโอวาทปาฏิโมกข์ และปัญญาแห่งพุทธ ที่ประกอบด้วยสุตมยปัญญา จินตมยปัญญา และภาวนามยปัญญา จึงชัดเจนในมรรคองค์หนึ่งที่เรียกสัมมาวายามะ จำเป็นต้องใช้ขันติประกอบจึงเกิดความเพียร

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
study
วันที่ 12 มิ.ย. 2549

พระผู้มีพระภาคเจ้าและพระอริยสาวกทั้งหลายในชาติก่อน ท่านต้องอบรมบารมี ๑๐ ประการ ซึ่งไม่ใช่มีเพียงปัญญาเพียงอย่างเดียว คือต้องประกอบด้วย ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา ฉะนั้น ในชีวิตประจำวันของผู้ที่อบรมเจริญปัญญา ควรเป็นผู้มีการสะสมความดีอย่างอื่นด้วยเช่นกัน

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
pcha
วันที่ 12 มิ.ย. 2549

ดังนั้น การบำเพ็ญบารมีเริ่มด้วยการสร้างปัญญาอันยิ่งจนลดความเห็นแก่ตัวถึงเอื้อเฟื้อแก่ผู้สมควรด้วยทานไม่เบียดเบียนผู้อื่นจนถึงเมตตากรุณาผู้อื่นด้วยศีล ไม่เบียดเบียนตนเอง หากฝึกฝนตนด้วยเนกขัมมะ ซึ่งต้องชัดเจนในปัญญา ที่ประกอบวิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตาและอุเบกขา เป็นที่สุด หากไม่สร้างปัญญาจนเป็นอธิปัญญาก็จะไม่เกิดการสร้างสมบารมี เนื่องจากปัจจัยไม่เพียงพอ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
prakaimuk.k
วันที่ 13 มิ.ย. 2549

มีความเห็นว่าความอดทน เป็นส่วนสำคัญมากในการเจริญบารมี ๑๐ ยกตัวอย่างเช่น การทำทาน เราควรอดทนที่ทำทานอย่างสม่ำเสมอตามโอกาส แต่ถ้าไม่อยู่ในฐานะที่ทำทานได้ ก็ต้องอดทนยอบรับความจริง ทำเท่าที่มี ไม่กระสับกระส่ายเดือดร้อนใจว่าเราทำมากเท่าคนอื่นไม่ได้ ถือว่าเป็นความอดทนอย่างหนึ่งนะคะ

ส่วนบารมีอื่นๆ ก็เช่นเดียวกัน ต้องอาศัยความอดทนเป็นหลักอยู่เสมอค่ะ ลองสังเกตดูในชีวิตประจำวัน ถ้าเราอดทนต่ออะไรๆ ได้ เช่น ความชอบ ความโกรธ ความรำคาญ หรือแม้กระทั่งการอดทนทำงานหนักเอาเบาสู้ จะได้ผลดีมากกว่าผลเสียเสมอ ดังนั้น การอดทนเพียรเผากิเลสจะให้ผลเป็นกุศลอย่างสูงสุดสักเพียงใด และจะเป็นปัจจัยให้ปัญญาเกิดขึ้นดับกิเลสได้หมดสิ้นเป็นสมุจเฉทตามลำดับขั้นค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 มิ.ย. 2549

[เล่มที่ 52] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 49

เถรคาถา เอกนิบาต วรรคที่ ๒

๑. มหาจุนทเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระมหาจุนเถระ

[๒๖๘] ได้ยินว่า พระมหาจุนทเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า การฟังดี เป็นเหตุให้การฟังเจริญ การฟังเป็นเหตุให้เจริญปัญญา บุคคลจะรู้ประโยชนก็เพราะปัญญา ประโยชน์ที่บุคคลรู้แล้ว ย่อมนำสุขมาให้ ฯลฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
pcha
วันที่ 15 มิ.ย. 2549

คนที่จะถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ (ความรู้และความประพฤติ) จนเข้าสู่ภาวะโสดา สกทาคามี อนาคามีและอรหันต์ ที่เป็นเป้าหมายนั้น จะมีกระบวนการจัดการตนเองอย่างไรบ้างหนอ ที่จะจัดการกับผัสสะที่เข้ามาทั้ง ๖ ทาง และที่จะก่อให้เกิดกรรม ๓ ที่เป็นการลดอกุศล เพิ่มกุศล และมีจิตที่แจ่มใส และต้องอดทนต่อสิ่งที่น่าหลงใหล สวยงาม หอมหวาน ฯลฯ อย่างไรหนอ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
audience
วันที่ 15 มิ.ย. 2549

คนที่จะถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ต้องถึงพร้อมด้วยปัญญา เมื่อถึงพร้อมด้วยปัญญาย่อมละกิเลสได้ตามลำดับขั้น เมื่อถึงความเป็นพระอรหันต์จึงจะดับกิเลสได้เป็นสมุจเฉท คือ กิเลสไม่เกิดอีกเลย เพราะฉะนั้นเป็นเรื่องของปัญญา

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
hadezz
วันที่ 7 ก.ย. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
chatchai.k
วันที่ 22 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ