โทษของความเห็นผิด

 
ups
วันที่  13 ส.ค. 2552
หมายเลข  13164
อ่าน  3,464

โทษของความเห็นผิดมีโทษอย่างไร


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 14 ส.ค. 2552

ความเห็นผิดหรือมิจฉาทิฏฐิมีโทษมาก เพราะผู้ที่มีความเห็นผิดแล้วย่อมทำให้การกระทำทางกาย การกระทำทางวาจา และทางใจก็ผิดทั้งหมด โดยเฉพาะถ้าความเห็นผิดมีกำลังเป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิ ไม่สามารถจะแก้ไขได้ มีอบายเป็นที่ไปเบื้องหน้าแน่นอน มีโทษมากกว่าอนันตริยกรรม

ขอเชิญคลิกอ่านเพิ่มเติมที่ มิจฉาทิฏฐิมีโทษมาก

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ups
วันที่ 14 ส.ค. 2552

เรียนท่านอาจารย์ประเชิญ

ยังเชื่อว่าบุญมีบาปมีอยู่ครับ แต่มีความเห็นผิดว่า ตายแล้วไม่เกิด ขอความกรุณาอาจารย์ช่วยแสดงโทษตรงนี้ด้วยครับ

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
prachern.s
วันที่ 14 ส.ค. 2552

ถ้ามีความเห็นผิดว่า ตายแล้วไม่เกิดอีก หรือตายแล้วสูญ เขาจะไม่สะสมกรรมดี ทำแต่กรรมชั่ว ไม่สะสมอบรมเจริญปัญญา ก็จะมีแต่ความไม่รู้เท่านั้น มีอบายเป็นที่ไปเบื้องหน้าครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ups
วันที่ 14 ส.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
วิริยะ
วันที่ 14 ส.ค. 2552

ผู้ที่เห็นผิดที่ว่า ตายแล้วไม่เกิด หรือ ตายแล้วสูญ อยากทราบว่า อะไรเป็นเหตุที่ทำให้เขาเห็นผิดได้ถึงขนาดนั้น

ขอบพระคุณค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
wannee.s
วันที่ 14 ส.ค. 2552

ขึ้นอยู่กับการคบคน การสั่งสม ในมงคลสูตร พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า การไม่คบคนพาล เป็นมงคลข้อหนึ่ง เพราะการคบคนพาล ทำให้มีความเห็นผิด ทำให้เสื่อม ทำให้ไปอบาย และพระพุทธเจ้าตรัสว่า การคบกัลยาณมิตรเป็นทั้งหมดของพรหมจรรย์ ทำให้มีความเห็นถูก ทำให้เจริญ ทำให้ไปสุคติภูมิ สูงสุดคือการบรรลุมรรค ผล นิพพานค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
วันใหม่
วันที่ 14 ส.ค. 2552

จากหัวข้อกระทู้เรื่อง ความเห็นผิดมีโทษมาก ความเห็นผิดมีโทษมาก สามารถทำบาปได้ทุกอย่างเพราะมีความเห็นผิดเป็นปัจจัย ความเห็นผิดที่ดิ่ง มี 3 อย่างคือ

นิยตมิจฉาทฎฐิ ๓ ได้แก่

อเหตุกทิฎฐิ เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นเองเป็นเอง ไม่อาศัยเหตุปัจจัยให้เกิดให้มีขึ้น ไม่เชื่อในเหตุ

นัตถิกทิฎฐิ เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้น ไม่ใช่ผลอันเนื่องมาแต่เหตุผลของการทำดีทำชั่ว ไม่มีโลกนี้โลกหน้า สัตว์บุคลไม่มี เป็นแต่ธาตุประชุมกันตายแล้วสูญไม่เกิดอีก เชื่อว่าไม่มีอะไรทั้งนั้น

อกิริยทิฎฐิ เห็นว่าการกระทำใดๆ ไม่ชื่อว่าเป็นอันกระทำ ผลบาปบุญไม่มีแก่ผู้ทำกระทำแล้วก็เป็นอันแล้วกันไป ปฏิเสธการกระทำโดยประการทั้งปวง

มิจฉาทิฏฐิที่ดิ่งเป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิ มีโทษมากกว่าอนันตริยกรรม (ฆ่า บิดา มารดา เป็นต้น) เพราะอนันตริยกรรมยังพอกำหนดอายุที่จะไปอบายได้ เช่น ไปนรก 1 กัป ดังเช่น พระเทวทัตทำสังฆเภท (ทำสงฆ์ให้แตก) ซึ่งเมื่อครบกำหนดอายุกรรมแล้วก็สามารถไปเกิดในสุคติภูมิและบรรลุธรรมภายหลังได้ ดังเช่น พระเทวทัต ภายหลังท่านก็ได้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าในอนาคตกาล แต่ว่ามิจฉาทิฏฐิไม่สามารถออกจากวัฏฏะได้เลย (ตอวัฏฏะ) และยังเป็นเหตุให้ที่ทำบาปกรรมต่างๆ มากมายด้วย มีการทำอนันตริยกรรม เป็นต้น จึงไม่สามารถไปสุคติภูมิได้และไม่มีทางบรรลุมรรคผล จึงมีโทษมากดังนี้

ด้วยเหตุนั้นนั่นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรามองไม่เห็นธรรมอย่างหนึ่ง อันอื่นที่มีโทษมาก เหมือนอย่างมิจฉาทิฏฐิเลย กระบวนโทษทั้งหลาย มิจฉาทิฏฐิมีโทษอย่างยิ่ง.

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
วันใหม่
วันที่ 14 ส.ค. 2552

จากความเห็นที่ 5

ที่ถามว่า ผู้ที่เห็นผิดที่ว่า ตายแล้วไม่เกิด หรือ ตายแล้วสูญ อยากทราบว่า อะไรเป็นเหตุที่ทำให้เขาเห็นผิดได้ถึงขนาดนั้น

เหตุที่ทำให้มีความเห็นผิดจนดิ่งมากขนาดนั้น ก็ต้องเริ่มจากทีละน้อย ค่อยๆ สะสมโดยไม่รู้ตัวจนมีกำลังมาก ซึ่งเกิดจากเหตุ 2 ประการคือ การฟังธรรมที่ผิดจากอสัตบุรุษและอีกข้อก็เกิดจากเหตุภายในก็คือ อโยนิโสมนสิการ การพิจารณาโดยไม่แยบคาย เป็นอกุศลนั่นเอง เมื่อได้ฟังธรรมที่ผิด ก็กลับมาคิดใคร่ครวญด้วยความไม่แยบคายก็หลงเชื่อตามทีละน้อยโดยไม่รู้ตัว จนสุดท้ายก็เป็นความเห็นผิดที่ไม่สามารถแก้ไขได้อีกเลย ดังนั้น การคบคนเป็นสิ่งสำคัญ เป็นมงคล แต่หากคบคนที่มีความเห็นผิด ก็จะทำให้เสื่อมจากประโยชน์และค่อยๆ มีความเห็นผิดทีละน้อยโดยไม่รู้ตัว สุดท้ายก็ไม่มีทางกลับมาสู่ความเห็นถูกได้อีกเลย

เชิญอ่านข้อความในพระไตรปิฎกดังนี้

[เล่มที่ 33] พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 461

สูตรที่ ๘

[๓๗๐] ๑๒๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งมิจฉาทิฏฐิ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ การโฆษณาแต่บุคคลอื่น ๑ อโยนิโสมนสิการ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งมิจฉาทิฏฐิ ๒ อย่างนี้แล.

การโฆษณาของผู้อื่น อรรถกถาแก้ไว้คือ
บทว่า ปรโต จ โฆโส ได้แก่ การฟังอสัทธรรมจากสำนักของผู้อื่น.

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
วันใหม่
วันที่ 14 ส.ค. 2552

[เล่มที่ 11] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 389

ก็บุคคลเหล่าใดถือลัทธิของเจ้าลัทธิเหล่านั้น นั่งสาธยายพิจารณาในที่พักกลางคืน ในที่พักกลางวัน บุคคลเหล่านั้นย่อมมีมิจฉาสติจดจ่ออยู่ในอารมณ์นั้นว่า ทำบาปไม่เป็นอันทำ เหตุไม่มี ปัจจัยไม่มี สัตว์ตายแล้วขาดสูญ ดังนี้ ย่อมมีจิตแน่วแน่ ชวนะทั้งหลายย่อมแล่นไป ในปฐมชวนะ ยังพอเยียวยาได้. ในชวนะที่ ๒ เป็นต้นก็เช่นกัน. ครั้นแน่วแน่ในชวนะที่ ๗ แม้พระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ทรงเยียวยาไม่ได้ มีอันไม่กลับเป็นธรรมดา เช่น สามเณรอริฏฐะ และภิกษุกัณฏกะ
ในนิยตมิจฉาทิฏฐิทั้ง ๓ นั้น บางคนดิ่งลงสู่ทัศนะเดียว บางคน ๒ ทัศนะ บางคน ๓ ทัศนะก็มี เมื่อดิ่งลงไปในทัศนะเดียวก็ดี ใน ๒ ๓ ทัศนะก็ดี ย่อมเป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิ ห้ามทางสวรรค์และห้ามทางนิพพาน ไม่ควรไปสวรรค์แม้ในภพที่ติดต่อกันนั้น จะกล่าวไปไยถึงนิพพานเล่า สัตว์นี้ชื่อว่าเป็นตอวัฏฏะ เป็นผู้เฝ้าแผ่นดิน โดยมากคนมีทิฏฐิเห็นปานนี้ ออกจากภพไม่ได้.

เพราะฉะนั้น บัณฑิตผู้เห็นประจักษ์หวังความเจริญ พึงเว้นอกัลยาณปุถุชน (ปุถุชนผู้ไม่ดี ไม่งาม มีความเห็นผิด) ให้ห่างไกล เหมือนคนเว้นห่างงูมีพิษร้ายฉะนั้น.

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
Pongpat
วันที่ 15 ส.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
pornpaon
วันที่ 15 ส.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
วิริยะ
วันที่ 15 ส.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
petcharath
วันที่ 15 ส.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
ups
วันที่ 15 ส.ค. 2552

ขออนุโมทนาทุกท่านครับ

อันที่จริงก็คุณพ่อผมเอง แกก็ไปถามเปรียญ 6 บ้าง นักธรรมเอกบ้าง แต่พวกเขาเหล่านั้นครับ ลาสิกขาเป็นชาวบ้านหมดแล้ว ผมก็อดทนไม่ได้ ปากเสียถามแกว่า อย่างนั้นคุณพ่อทำความดีทำไม แกก็นิ่งไป ทำไปทำมา คุยเรื่องอื่น เล่นเอาผมบาปไปแยะเลย

ล่าสุดก็นำซีดี ท่านอาจารย์สุจินต์ ไปให้ฟัง ไม่ทราบจะฟังรึเปล่า หากท่านใดมีความกรุณากระผมพอจะช่วยสงเคราะห์หรือแนะนำอะไรได้บ้าง ก็เชิญสนทนาต่อได้นะครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
พุทธรักษา
วันที่ 15 ส.ค. 2552

เราจะทราบได้อย่างไรคะ ว่า ใคร เป็น อกัลยาณปุถุชน

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
วันใหม่
วันที่ 15 ส.ค. 2552

จากความเห็นที่ 14

ประเด็นคงหมายถึง คุณพ่อเชื่อเรื่องบุญบาปแต่คิดว่าตายแล้วไม่เกิด อันสืบเนื่อง มาจากความเห็นที่ 2 ไม่รู้ว่าเข้าใจคุณถูกหรือเปล่า แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม สัตว์โลกเป็นไปตามการสะสม สะสมมาที่จะเห็นถูก สะสมมาที่จะเห็นผิด การคบสัตบุรุษ การฟังธรรมที่ถูกต้องย่อมเป็นปัจจัยให้เห็นถูกตามความเป็นจริง เชื่อในเรื่องของกรรมและผลของกรรม เราทำหน้าที่คือให้ธรรมท่านไปฟัง ส่วนท่านจะฟังหรือไม่นั้นคงเป็นไปตามเหตุปัจจัย ทำหน้าที่ดีที่สุดแล้วก็จบ ที่สำคัญ เราเองควรเป็นผู้มีความเข้าใจที่มั่นคง เมื่อมีความเข้าใจที่ถูกต้องมั่นคงเราก็สามารถเกื้อกูลคนอื่นได้เพราะเรามั่นคงในหนทางที่ถูกต้องแล้วนั่นเอง สาธุ

[เล่มที่ 33] พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 461

[๓๗๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิ (ความเห็นถูก) ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ การโฆษณาแต่บุคคลอื่น ๑ โยนิโสมนสิการ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิ ๒ อย่างนี้แล.

การโฆษณาแต่บุคคลอื่น คือ การฟังพระสัทธรรมจากสำนักของผู้อื่น.

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
วันใหม่
วันที่ 15 ส.ค. 2552

จากความคิดเห็นที่ 15 ที่ถามว่า

เราจะทราบได้อย่างไรคะ ว่า ใคร เป็น อกัลยาณปุถุชน.?

อกัลยาณปุถุชนหรือคนพาลนั้น ทราบได้ด้วยปัญญา ผู้ที่มีปัญญาจึงทราบ ผู้ไม่มีปัญญาก็ไม่ทราบ กาย วาจาและใจเป็นอย่างไร เป็นไปในทางอกุศลที่ล่วงกรรมบถหรือไม่ล่วงกรรมบถมาก มีความเห็นถูกหรือเห็นผิด ถ้ามีความเห็นผิดก็เป็นคนพาล ซึ่งการจะรู้ว่าใครเป็นพาล เป็นผู้มีความเห็นผิด คนนั้นก็ต้องเป็นผู้มีความเห็ฯถูก ย่อมแยกแยะออกว่าทางใดถูก ทางใดผิด เมื่อรู้ว่าใครเป็นพาล ผู้มีความเห็นผิด กระทำการล่วงศีล เป็นต้น ก็หลีกเลี่ยง ส่วนบัณฑิตผู้มีความเห็นถูก ควรเสพคุ้น ทั้งหมดเป็นเรื่องของปัญญาในการู้ว่าว่าใครเป็นอย่างไร ดังข้อความในพระไตรปิฎก พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 460

อสัตบุรุษเป็นเหมือนคนบอด สัตบุรุษเป็นเหมือนคนมีจักษุ. คนบอดย่อมมองไม่เห็นทั้งคนไม่บอด ทั้งคนบอดด้วยกัน ฉันใดอสัตบุรุษย่อมไม่รู้จักทั้งสัตบุรุษ ทั้งอสัตบุรุษฉันนั้น. คนมีจักษุ (ปัญญา) ย่อมเห็นทั้งคนบอด ทั้งคนไม่บอดฉันใด สัตบุรุษ ย่อมรู้จักทั้งสัตบุรุษ ทั้งอสัตบุรุษฉันนั้น.

คลิกอ่านเพิ่มเติมที่นี่.........การรู้ว่าใครเป็นคนดีและไม่ดี [จูฬปุณณสูตร]

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
wanchai2504
วันที่ 15 ส.ค. 2552
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
พุทธรักษา
วันที่ 15 ส.ค. 2552

จิตใจ เป็นที่สะสมทั้ง กุศลธรรมและอกุศลธรรม ซึ่งเป็นเหตุ ให้บางครั้งก็เป็นคนดี บางครั้งก็เป็นคนไม่ดี.?
กัลยาณปุถุชน ว่า โดยขณะจิต คือ ขณะจิต ที่เป็นไปด้วยกุศลธรรม......?

อกัลยาณปุถุชน ว่าโดยขณะจิต คือ ขณะจิต ที่เป็นไปด้วยอกุศลธรรม...?
บุคคล ผู้มีปัญญาระดับหนึ่งย่อมเป็นไปได้ ทั้ง ขณะ ที่เป็นกัลยาณปุถุชน และ ขณะ ที่เป็นอกัลยาณปุถุชน...?
กรุณาแนะนำด้วยค่ะ.

 
  ความคิดเห็นที่ 20  
 
khampan.a
วันที่ 15 ส.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 21  
 
กิเลสเน่าหนา
วันที่ 16 ส.ค. 2552

โทษที่หนักมากก็คือไม่พ้นจากความเกิดครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 22  
 
กิเลสเน่าหนา
วันที่ 16 ส.ค. 2552
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 13164 ความคิดเห็นที่ 19 โดย พุทธรักษา

จิตใจ เป็นที่สะสมทั้ง กุศลธรรมและอกุศลธรรม ซึ่งเป็นเหตุ ให้บางครั้งก็เป็นคนดี บางครั้งก็เป็นคนไม่ดี.?
กัลยาณปุถุชน ว่า โดยขณะจิต คือ ขณะจิต ที่เป็นไปด้วยกุศลธรรม......? อกัลยาณปุถุชน ว่าโดยขณะจิต คือ ขณะจิต ที่เป็นไปด้วยอกุศลธรรม...?
บุคคล ผู้มีปัญญาระดับหนึ่งย่อมเป็นไปได้ ทั้ง ขณะ ที่เป็นกัลยาณปุถุชน และ ขณะ ที่เป็นอกัลยาณปุถุชน...?
กรุณาแนะนำด้วยค่ะ.

ตราบใดที่ยังเป็นปุถุชน ก็ยังทำทุจริตกรรมได้ถ้ามีเหตุปัจจัยให้เกิดอกุศลจิตที่มีกำลังจนล่วงออกมาทางกายหรือวาจา ก็ถูกต้องนะครับที่บอกว่า กัลยาณปุถุชน ว่า โดยขณะจิต คือ ขณะจิต ที่เป็นไปด้วยกุศลธรรม คือกุศลธรรมทุกอย่างไม่ว่างเว้นเลย เพียงแต่ในชีวิตประจำวันก็ไม่ใช่ว่ากุศลจะเกิดตลอดเวลา และจริงๆ แล้ว กุศลต่างหากที่เกิดแทรกอกุศล และขณะที่กิเลสเกิดก็บอกไม่ได้หรอกครับว่ามีปัญญา เพียงแต่ปัญญาอาจเกิดระลึกถึงสภาพธรรมของกิเลสชนิดนั้นได้ถ้ามีปัจจัยให้เกิด

 
  ความคิดเห็นที่ 23  
 
ups
วันที่ 16 ส.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 24  
 
วันใหม่
วันที่ 16 ส.ค. 2552

เรียนเสริมความเห็นที่ 19 ก่อนอื่น เราคงต้องมาเข้าใจคำว่า กัลยาณปุถุชน และ อกัลยาณปุถุชน กันก่อน

พระพุทธเจ้า พระองค์ทรงแบ่งปุถุชนเป็น 2 ประเภท คือ กัลยาณปุถุชนและอันธปุถุชน (อกัลยาณปุถุชน) พระพุทธองค์ทรงแสดงว่า ผู้ที่เป็นกัลยาณปุถุชนคือผู้ที่ศึกษาเข้าใจธรรม มีความเห็นถูกเป็นกัลยาณปุถุชน ส่วนผู้ที่ไม่ศึกษา ไม่ฟังพระธรรม ย่อมเป็นผู้มืดบอดหรือมีความเห็นผิดเพราะประกอบด้วยสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ชื่อว่าอันธปุถุชน (อกัลยาณปุถุชน) ดังข้อความในพระไตรปิฎกดังนี้ [เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 723

พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ ตรัสถึง ปุถุชนไว้ ๒ จำพวก พวกหนึ่งเป็นอันธปุถุชน พวกหนึ่งเป็นกัลยาณปุถุชน. ในปุถุชน ๒ จำพวกนั้น ปุถุชนที่ไม่มีการเรียน การสอบถาม การฟัง การจำและการพิจารณาเป็นต้น ในขันธ์ ธาตุ อายตนะ เป็นต้นเป็น อันธปุถุชน ปุถุชนที่มีการเรียนเป็นต้นเหล่านั้น เป็นกัลยาณปุถุชน.

ดังนั้น หากเปรียบเทียบเพียงขณะจิตว่าขณะใดที่เป็นอกุศลจิตเกิดขึ้น ขณะนั้นเป็นอกัลยาณปุถุชน (อันธปุถุชน) แล้ว พระอนาคามีผู้ยังมีกิเลส ขณะที่อกุศลจิตของท่านเกิดขึ้น ท่านก็จะต้องเป็นอกัลยาณปุถุชน (อันธปุถุชน) ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลย ท่านเป็นพระอริยบุคคลแล้ว ท่านไม่ใช่ปุถุชนผู้มืดบอดที่ไม่ได้ศึกษาธรรมหรือมีความเห็นผิดอีกส่วนผู้ที่มีความเห็นถูก เข้าใจหนทาง แม้จะยังมีกิเลส แต่ก็เป็นกัลยาณปุถุชนเพราะสามารถไปสู่ความเป็นพระอริยบุคคลได้ ส่วนที่ไม่ได้ศึกษาธรรมเลย มากไปด้วยการทำบาปที่ถึงกับล่วงอกุศลกรรมบถ ไม่ใช่อกุศลจิตในใจ และมีความเห็นผิดที่ดิ่งชื่อว่าอันธปุถุชน (อกัลยาณปุถุชน) ซึ่งจะเห็นได้จากพระสูตรของความเห็นที่ 9 ที่ยกมา ในเรื่อง พึงเว้นอกัลยาณปุถุชนเสียให้ห่างไกล ถ้าอ่านข้อความตอนต้นทั้งหมดในสูตรนั้น พระพุทธเจ้าทรงแสดงถึงบุคคลที่มีความเห็นผิดที่ดิ่ง ไม่สามารถแก้ไขไม่ได้นั่นเองว่าเป็นอกัลยาณปุถุชน ซึ่งพระพุทธเจ้าก็ได้แสดงแล้วว่า ปุถุชนมี 2 อย่าง ตามพระสูตรที่ได้ยกมาข้างต้น สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 25  
 
วิริยะ
วันที่ 17 ส.ค. 2552

อยากทราบว่า ผู้ที่เผยแพร่พระสัทธรรมผิดเพี้ยน แต่ไม่ถึงระดับนิยตมิจฉาทิฏฐิ เรียกได้ว่าเป็นความเห็นผิดหรือไม่

ขอบพระคุณค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 26  
 
prachern.s
วันที่ 17 ส.ค. 2552

อ้างอิงจาก : หัวข้อ 13164 ความคิดเห็นที่ 25 โดย วิริยะ

อยากทราบว่า ผู้ที่เผยแพร่พระสัทธรรมผิดเพี้ยน แต่ไม่ถึงระดับนิยตมิจฉาทิฏฐิ เรียกได้ว่าเป็นความเห็นผิดหรือไม่

ขอบพระคุณค่ะ


ถ้าผิดจากหลักพระธรรม ชื่อว่าเป็นความเห็นผิดทั้งหมดครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 27  
 
วิริยะ
วันที่ 17 ส.ค. 2552


ปัจจุบัน มีสำนัก ลัทธิ ใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย และเผยแพร่พระสัทธรรมผิดเพี้ยน เมื่อเป็นเช่นนั้น ผู้ที่มีศรัทธาในสำนัก ลัทธินั้นๆ ก็ต้องพลอยเห็นผิดไปด้วย ถ้าพูดในแง่ของผู้มีศรัทธา เราพอจะบอกได้ไหมว่า เหตุเกิดจากอะไร และ เราควรทำเช่นไร หรือ ปล่อยไปเช่นนั้น ไม่ต้องไปยุ่งเกี่ยว

ผู้ศรัทธา ในสำนัก ลัทธิ ใหม่ๆ ที่ว่านั้น บ้างก็เป็นเพื่อน และผู้รู้จัก พวกเขาก็ไม่ได้ทำผิดคิดชั่วอะไร ในขณะเดียวกัน พวกเขาก็ยังมีจิตที่เป็นไปในทานและศีล นี่คือสิ่งที่พบเห็นอยู่ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 28  
 
วันใหม่
วันที่ 18 ส.ค. 2552

จากควาเห็ฯที่ 27 ที่ว่า

ถ้าพูดในแง่ของผู้มีศรัทธา เราพอจะบอกได้ไหมว่า เหตุเกิดจากอะไร

พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 461

สูตรที่ ๘

[๓๗๐] ๑๒๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งมิจฉาทิฏฐิ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ การโฆษณาแต่บุคคลอื่น ๑ อโยนิโสมนสิการ ๑ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งมิจฉาทิฏฐิ ๒ อย่างนี้แล.

การโฆษณาของผู้อื่น อรรถกถาแก้ไว้คือ บทว่า ปรโต จ โฆโส ได้แก่ การฟังอสัทธรรมจากสำนักของผู้อื่น.

และจากคำกล่าวที่ว่า

ผู้ศรัทธา ในสำนัก ลัทธิ ใหม่ๆ ที่ว่านั้น บ้างก็เป็นเพื่อน และผู้รู้จัก พวกเขาก็ไม่ได้ทำผิดคิดชั่วอะไร ในขณะเดียวกัน พวกเขาก็ยังมีจิตที่เป็นไปในทานและศีล นี่คือสิ่งที่พบเห็นอยู่ค่ะ

ขณะที่เห็นผิด เข้าใจผิด ขณะนั้นจิตก็ผิด เป็นจิตที่ไม่ดีแล้ว เมื่อมีความเห็นผิด คิดก็ผิด และก็มีวาจาผิด เช่น พูดในทางที่ผิด ไม่ตรงกับพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง

มีโทษมาก เมื่อชักชวนผู้อื่นก็ยิ่งมีโทษมากขึ้นไปอีก เพราะเป็นเหตุให้ศาสนาเสื่อมเร็วขึ้น แม้กุศลจะมีขั้น ทาน ศีล แต่ก็ไม่มีทางออกจากวัฏฏะเพราะมีความเห็นผิดเป็นปัจจัย ดังนั้นความเห็นผิดจึงมีโทษมาก ดังนี้

 
  ความคิดเห็นที่ 29  
 
ups
วันที่ 18 ส.ค. 2552

กล่าวได้ลึกซึ้งมากครับ ทำให้ไม่มองข้ามสิ่งที่คิดว่าเล็กน้อย คือการกล่าววาจาที่ผิดไป

ขออนุโมทนากับ คุณวันใหม่ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 30  
 
Sam
วันที่ 18 ส.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 31  
 
วิริยะ
วันที่ 18 ส.ค. 2552

เรียนความเห็นที่ 27

ดิฉันพอจะเข้าใจแล้วล่ะค่ะ ดิฉันมัวแต่ไปมุ่งอยู่ที่ผู้ศรัทธาในสำนัก ลัทธินั้นๆ ว่า ถึงเขาจะเห็นผิดแต่เขาไม่ได้ทำผิด แต่แท้ที่จริงแล้วลืมคิดไปว่า ถ้ามีผู้เห็นผิดมากขึ้นเท่าใด ศาสนาก็จะยิ่งเสื่อมเร็วขึ้นเท่านั้น และเมื่อความเห็นที่ 27 กล่าวถึงการออกจากวัฏฏะของผู้เห็นผิดว่า ไม่มีทางจะเป็นไปได้ ทำให้ดิฉันต้องมานั่งคิดอีกทีว่า ผู้เห็นผิดในสำนัก ลัทธิใหม่ๆ นั้น แท้จริงแล้ว อาจจะไม่ได้ต้องการออกจากวัฏฏะก็ได้ ซึ่งขัดกับพระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มุ่งไปในการละ จนหมดสิ้นกิเลสและไม่ต้องเกิดอีก

ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 32  
 
วิริยะ
วันที่ 18 ส.ค. 2552

ต้องขอประทานโทษด้วยค่ะ ข้อความที่ 31 ของดิฉัน ดิฉันต้องการขอบคุณและ

อนุโมทนา ต่อความเห็นที่ 28 ค่ะ ดิฉันขาดสติ พิมพ์ผิด

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ