มุสาวาท [มังคลัตถทีปนี]

 
orawan.c
วันที่  13 ส.ค. 2552
หมายเลข  13168
อ่าน  2,058

มังคลัตถทีปนีแปล เล่ม ๒ - หน้าที่ 105

วจีกรรม [มุสาวาท]

[๒๐๙] วจีประโยคหรือกายประโยค อันหักรานประโยชน์ของผู้มุ่งกล่าวให้คลาดเคลื่อนเป็นเบื้องหน้า ชื่อว่า มุสา. ในคำเหล่านั้น คำว่า อันหักรานประโยชน์ ท่านกล่าวเพื่อแสดงมุสาวาทที่ถึงความเป็นกรรมบถ. ท่านแสดงความที่สุสาศัพท์เป็นประธานแห่งกิริยา ด้วยศัพท์มีวจีประโยคศัพท์เป็นต้น. เจตนาของเขา อันยังกายประโยคและวจีประโยค ซึ่งเป็นเครื่องกล่าวให้คลาดเคลื่อนต่อผู้อื่นให้ตั้งขึ้น ด้วยประสงค์จะกล่าวให้คลาดเคลื่อน ชื่อว่ามุสาวาท เพราะวิเคราะห์ว่า "บุคคลย่อมกล่าวมุสา อันเป็นประโยคตามที่กล่าวแล้ว คือให้ผู้อื่นรู้แจ้งมุสา (นั้น) หรือยังมุสา (นั้น) ให้ตั้งขึ้นด้วยเจตนานั่น" ก็แลความประสงค์ในอันกล่าวให้คลาดเคลื่อนย่อมได้ ทั้งในขณะเบื้องต้น (คือก่อนแต่จะพูด) ทั้งในขณะนั้น (คือกำลังพูด) . จริงอยู่ พระอุบาลีเถระกล่าวคำนี้ไว้ว่า "ก่อน (แต่จะพูด) ภิกษุย่อมมีความรู้ตัวว่า 'เราจะพูดมุสา' เมื่อกำลังพูด ย่อมมีความรู้ตัวว่า 'เราพูดมุสาอยู่ ดังนี้ ความรู้ตัวทั้ง ๒ นั่นแล เป็นองค์ ส่วนนอกนี้จะมีก็ตาม ไม่มีก็ตาม' ข้อนั้นไม่เป็นเหตุ

[๒๑๐] อีกนัยหนึ่ง เรื่องอันไม่จริงไม่แท้ ชื่อว่า มุสา. การยังผู้อื่นให้ทราบเรื่องนั้น โดยความเป็นเรื่องจริงเรื่องแท้ ชื่อว่า วาทะ. ก็เจตนาที่ยังวิญญัติ (การเปล่งถ้อยคำ) อย่างนั้นให้ตั้งขึ้น ของบุคคลผู้ประสงค์จะยังผู้อื่นให้ทราบเรื่องอันไม่จริง โดยความเป็น เรื่องจริง ชื่อว่า มุสาวาท เพราะวิเคราะห์ว่า "คำเท็จ อันบุคคลย่อมกล่าว คือ ย่อมพูด ด้วยเจตนานั่น" ก็ในอธิการแห่งมุสาวาทนั้นพึงเห็นสันนิษฐานว่า "ท่านกล่าวนัยที่ ๒ ไว้ เพื่อแสดงลักษณะนั้นให้บริบูรณ์ เพราะลักษณะมุสาวาทในนัยก่อนยังไม่แจ่มแจ้งพอ และเพราะมีความที่มุสาศัพท์เป็นศัพท์บอกความที่จะพึงกล่าวให้คลาดเคลื่อน"

โทษของมุสาวาท

มุสาวาทนั้น ชื่อว่ามีโทษน้อย เพราะประโยชน์ที่มุสาวาทีบุคคลสหักรานน้อย ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะประโยชน์ที่มุสาวาทีบุคคลหักรานมาก อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า มีโทษน้อย เพราะผู้ที่มุสาวาทีบุคคลหักรานประโยชน์นั้น มีคุณน้อย ชื่อว่า มีโทษมาก เพราะผู้นั้นมีคุณมาก ชื่อว่ามีโทษน้อย เพราะกิเลสอ่อน ชื่อว่ามี โทษมาก เพราะกิเลสแรงกล้า


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
chatchai.k
วันที่ 10 ธ.ค. 2563

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ